ภาษิตโบราณอีสาน
ภาษิต คือ คำพูดที่ถือว่าเป็นสาระ พูดแล้วนำความสนุกสนานเบิกบานสำราญใจมาให้ และนำความสุขเจริญมาให้เมื่อประพฤติปฏิบัติตามคำพูดนั้น คำพูดนั้นเป็นทั้งร้อยแก้ว คือ คำพูดล้วน ๆ และ ประเภทร้อยกรองคือ คำพูดที่เป็นกลอน คำพูดสองประเภทดังกล่าว เมื่อจะย่อลงคงได้แก่
1.
ภาษิต คือ คำพูดล้วน ๆ เช่น กินข้าวโตอย่าโสความเพิ่น
2.
คำกลอนภาษิต คือ คำพูดที่เป็นกลอน ฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ เช่น กุญชรช้างพลายสารเกิดอยู่ป่ายังได้มาอยู่บ้านเมืองกว้างกล่อมขุน
3.
ผญาภาษิต คือ คำพูดที่เป็นกลอนมีข้อความลับลมคมใน ฟังแล้วเกิดความคิดเป็นสองแง่สองง่าม คือ กินหนังแห้งคาคอแค้นคั่ง ใผสะเดาะออกได้ชิเอาช้างใส่คาย
4.
ปัญหาภาษิต คือ คำพูดที่เป็นปัญหา ฟังแล้วไม่เข้าใจต้องนำไปขบคิดเสียก่อน เช่น อัศจรรย์ใจแข้หางยาวสังบ่ได้ฮองนั่ง บาดกระต่ายหางก้อมก้อม สังมาได้นั่งฮอง
5.
สอย คือ คำพูดตลกโปกฮา เป็นการเสียดสีสังคม เช่น เก็บใบตองมาฮองเข้าปลูก พ่อสี้ลูกบ้านข้อยกะมี
6.
หนังสือเจือง เป็นหนังสือประเภทคำหยาบคาย หรือ เพอะ ใช้อ่านในเวลาแห่บั้งไฟ เช่น ฝันคืนนี้ฝันดีประหลาดต่าง ฝันว่าไฟลามไหม้หมอยหีนางเกลี้ยงอ่อยห่อย ยังแต่กะล้อนฮ้อนแฮ้นพอหุ้มแต่กะโมม เด้าเอย
7.
กาพย์กลอนโคลงฉันท์ เป็นคำพูดประเภทกลอน แต่มีชื่อเรียกต่างกัน เช่นเรียกเป็นกาพย์บ้าง เป็นกลอนตรง ๆ บ้าง เป็นโสกบ้าง เป็นโคลงบ้าง เป็นฉันท์บ้าง เช่น นกเขาตู้พรากคู่กะยังขัน กาวเวาวอนพรากฮังกะยังฮ้อง น้องพรากอ้ายความเดียวบ่ได้สั่ง คันบ่เอิ้นสั่งใกล้ขอให้เอิ้นสั่งไกล (ปรีชา พิณทอง.2528,1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น