ผ้าเมืองอุบล
จังหวัดอุบลราชธานี
แม้ว่าพื้นที่บางส่วนจะถูกแยกไปตั้งเป็นจังหวัดยโสธรแล้ว แต่ยังมีพื้นที่กว้างขวาง จากเหนือจรดใต้
ยาวประมาณ 300 กม. ตะวันออกจรดตะวันตกประมาณ 200
ปีแล้ว
ก็ยังมีชนกลุ่มน้อยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเขตอำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม
เชื้อสายข่ามีกระจัดจายอยู่ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดเขตอำเภอชานุมาน อำเภอโขงเจียม
และอำเภอบุณฑริกเชื้อสายส่วยและเขมร
อยู่ตอนใต้ของจังหวัด
แถบอำเภอเดชอุดม
อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน
และอำเภอบุณฑริก และเชื้อสายไทยใหญ่ ( กุลา ) อยู่ในแถบอำเภอเขื่องใน
ความหลากหลายของเผ่าพันธ์ที่กระจัดกระจายอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีนี้ ทำให้มีการปฏิบัติทางด้านประเพณีต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออกไปอยู่บ้างแต่วัฒนธรรม
การแต่งกายส่วนใหญ่ก็จะเป็นไปตามที่ชาวอุบลฯ
เชื้อสายลาวนิยมแต่งการแต่งกายและเสื้อผ้าของชาวอุบลในอดีตจะเห็นได้จากภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอุบลฯ
ในพระอุโบสถ วัดทุ่งศรีเมือง ซึ้งในช่วงเวลาที่วาดภาพจะอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่
4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นช่วงที่การติดต่อระหว่างเมืองอุบลกับภาคกลาง ( กรุงเทพฯ
) มากขึ้น ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เมืองอุบลฯเป็นที่ตั้งของมณฑลลาวกาว
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอีสานและมณฑลอุบลราชธานีตามลำดับ ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
ให้ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ปกครองมณฑลเหล่านี้ วัฒนธรรมการแต่งของชาววังจากกรุงเทพฯจึงได้เริ่มแพร่หลายมายังเมืองอุลฯ ตั้งแต่สมัยนั้น
แม้วัฒนธรรมการแต่งกายบางอย่างของชาวอุบลฯในสมัยนั้น อาทิหม่อมเจียงคำ ซึ้งเป็นอุบลฯ ชายาในพระบรมวงค์เธอ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวอุบลฯไว้
หลักฐานจากภาพถ่ายและผ้าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าสุภาสตรีชาวอุบลสมัยนั้นนิยมนุ่งผ้าซิ่นลายล่อง ทอด้วยไหมเงินหรือไหมคำ(ทอง)
แล้วสวมเสื้อลูกไม้แบบชาวยุโรป
ซึ่งเป็นการแสดงถึงฐานะของสตรีชั้นสูงของเมืองอุบล ฯ
แทนที่จะนุ่งผ้าโจงกระเบนและสวมเสื้อลูกไม้เช่น สตรีชาววังในกรุงเทพ ฯ
ผ้าซิ่นไหมเงินหรือไหมคำลายล่องจึงน่าจะเป็นเอกลักษณ์ของสตรีชั้นสูงชาวอุบลในสมัยนั้น
ในสมัยนั้นสตรีชาวอุบลยังได้ประกวดการทอผ้าไม่ว่าจะเป็นผ้าเยียระบับ(ผ้าไหมพื้น)และผ้าอื่น ๆ ผ้าเหล่านี้ มิอาจจะหาซื้อได้จากตลาดทั่ว ๆ ไป
ผ้าเมืองอุบลจึงมีชื่อเสียงในด้านความสวยความงามและความประณีตในการทอมาตั้งแต่อดีต
หลักฐานปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึงพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์(ตำแหน่งขณะนั้น) ต่อการที่พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ได้ส่งผ้าไหมจากเมืองอุบลไปทูลเกล้าถวาย
สำเนาพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้อัญเชิญมาแสดงไว้นี้
ย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดถึงความประณีต
สวยงาม และความสามารถในเชิงทอผ้าของชาวอุบลราชธานีเป็นอย่างดี
นอกจากนั้นในสมัยพระพรหมเทวานุเคราะห์ครองเมืองอุบลได้ส่งผ้าพื้นเมืองทูลเกล้า ฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและขุนนางผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก เช่น
ทูลเกล้าถวายผ้าไหมลาวต่างสี ปีละ 100 ผืน ผ้าขาวยาว
100 พับ
เป็นต้น
การทอผ้าเป็นงานฝีมือที่กุลสตรีชาวอีสานในสมัยก่อนจะต้องเรียนรู้ โดยสืบทอดจากบรรพบุรุษ เมื่อประกอบกับความสามารถพิเศษส่วนบุคคล อิทธิพลสิ่งแวดล้อมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จึงได้ดัดแปลงปรับปรุงให้เกิดลวดลายใหม่ที่สวยงาม
กล่าวกันว่าการทอผ้าแต่ละผืนแม้ว่าจะใช้ช่างทอคนเดียวกันและใช้ลวดลายเดิมแต่ก็ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิมทุกประการได้ เพราะการทอผ้าเป็นศิลปะที่ไม่อาจสร้างให้ซ้ำแบบได้
นี่เองคือมนต์ขลังแห่งลวดลายบนผืนผ้าทอมือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น