วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

การฝึกเป่าลายแคนพื้นบ้านอีสาน

บทที่4

การฝึกเป่าลายแคนพื้นบ้านอีสาน

         ลายแคนพื้นบ้านอีสาน เป็นลายแคนที่มีทำนองยังคงเป็นแบบดั้งเดิมที่หมอแคนในอดีตได้จดจำและเป่าสืบทอดกันมา ได้แก่ลายแคนทางสั้นและลายแคนทางยาว ซึ่งแต่ละลายก็จะแบ่งออกเป็นลายย่อยๆ อีกมากมาย  สำหรับการฝึกเป่าลายแคนในบทนี้ผู้ฝึกเป่าควรผ่านการฝึกในขั้นพื้นฐานมาก่อน เช่น เป่าไล่ระดับเสียง  ฝึกการใช้ลมในการเป่าแคน และเป่าขึ้นส้อยแคน เมื่อม่พื้นฐานดีแล้วจึงเริ่มฝึกเป่าลายแคนที่ยากขึ้น โดยเฉพาะการเป่าลายแคนพื้นบ้านอีสานท่านผู้รู้ ผู้เป็นบูรพาจารย์ด้านการเป่าแคนทั้งหลายได้ให้ข้อคิดไว้ว่า การฝึกเป่าแคนถ้าจะฝึกเป่าให้ได้ดี มีเสียงและทำนองแคนที่ไพเราะนั้นจะต้องฝึกลายที่เป็นแม่บทก่อน เมื่อได้ลายแคนที่เป็นแม่บทแล้วจะไปฝึกลายอื่นๆก็จะง่าย  ผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้อคิดนี้แล้วเห็นว่าเป็นการนำไปสู่การฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง  สังเกตจากการฝึกเป่าแคนของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ที่ได้รับการส่งเสริมในสถาบันการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาส่วนมากไม่คำนึงถึงลายหลักหรือลายแม่บท ส่วนใหญ่จะฝึกเป่าลายที่บรรยายภาพพจน์โดยใช้ทำนองแคนลายใหญ่หรือบางทีก็ใช้ทำนองแคนลายน้อยอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงเป็นการฝึกใช้นิ้วมือที่ไม่ครบทุกเสียง ทำให้เกิดปัญหาคือถ้าผู้เป่าเคยชินกับการเป่าลายน้อยก็จะไม่ถนัดในการเป่าลายใหญ่หรือคนที่เคยชินกับการเป่าลายใหญ่  ก็จะไม่ถนัดในการเป่าลายน้อย ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้นเพื่อให้ผู้ฝึกเป่ามีทักษะที่ดีในการเป่าแคน ผู้เขียนจึงนำเสนอการฝึกเป่าแคนที่ถือว่าเป็นลายแม่บทก่อนเป็นอันดับแรก ตามแนวทางที่บรมครูทั้งหลายได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา นั่นคือ ลายสุดสะแนน  ซึ่งเป็นการเป่าแคนที่มีความหลากหลายที่ในเรื่องจังหวะ ทำนอง การใช้ลม และการใช้นิ้วมือที่ครบทุกระดับเสียง (ทุกคู่เสียง)

การฝึกเป่าลายสุดสะแนน
     ลายสุดสะแนน คำว่า สะแนน  คงเพี้ยนมาจากคำว่า สายแนน  เป็นภาษาพูดพื้นเมืองของคนอีสาน ซึ่งหมายถึง การมีเยื่อใยหรือความผูกพันที่มีต่อกันมาแล้วในอดีตชาติ เป็นลายทางสั้น และถือว่าเป็นลายแม่บทหรือลายครู เป็นลายแคนที่มีความไพเราะเป็นพิเศษ มีจังหวะกระชับ ลีลาและท่วงทำนองตื่นต้นเร้าใจตลอดเวลา หมอแคนที่มีฝีมือดีเยิ่ยมทั้งหลายในอดีตจะต้องฝึกเป่าลายสุดสะแนนให้ได้ก่อน ก่อนที่จะก้าวไปสู่การเป่าลายอื่นๆ  ดังนั้นคำว่า สุดสะแนน   ในเรื่องของลายแคนนี้น่าจะหมายถึงความไพเราะที่คนในอดีตได้ฟังแล้วมักจะคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน คิดถึงบิดามารดา  ญาติพี่น้องและ เพื่อนฝูง ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน จนเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า ออนซอน”  ขึ้นมาอย่างที่สุด  นั่นก็คือทำให้เขาหวนคิดกลับไปนึกถึงคำว่า สายแนน  นั่นเอง  ดังลายแคนที่ชื่อลายสุดสะแนน ที่จะนำเสนอสู่การฝึกดังต่อไปนี้
                   การติดสูดลายสุดสะแนน  การติดสูด หมายถึงการทำให้เสียงเสิร์ฟประสานหลักของแต่ละลายดังอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดหายในช่วงขณะที่เป่ทำให้ เสียงแคนไพเราะกลมกลืนกันสำหรับลายสุดสะแนนจะติดสูดที่ลูกที่ 6  และลูกที่ 8 แพซ้าย โดยมีหลักเกณฑ์ว่าเสียงซอล(ลูกที่ 6 แพซ้าย)ซึ่งเป็นเสียงทุ้มต่ำสุดของทำนองและเป็นเสียงหลัก  ส่วนลูกที่ 8 แพซ้ายซึ่งเป็นเสียงซอลสูงจะใช้เป็นเสียงติดสูดร่วมเพื่อให้เสียงประสานยืนมีความกลมกลืนกัน ดังแผนภูมิ
แผนภูมิการติดสูดลายสุดสะแนน


ตัวอย่างโน้ตแคน ลายสุดสะแนน



                 สำหรับการเขียนโน้ตแคนในบทนี้อาจไม่สมบูรณ์ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนโน้ตไทย เนื่องจากในการเป่าจริงบางห้องเพลงจะมีการเอื้อนเสียงทำให้เกิดเสียงหนักเสียงเบา คล้ายๆกับคำควบกล้ำในภาษาไทย บางเสียงต้องสะบัดนิ้วให้เร็ว ดังนี้เป็นต้น จึงทำให้ต้องเขียนวงกลมไว้เพื่อเป็นข้อสังเกต ฝู้ฝึกเป่าต้องสังเกตฟังเสียงให้ดี ลายสุดสะแนนทำนองนี้ผู้เขียนได้บันทึกโน้ต(แบบไม่เป็นทางการ) ตามทำนองที่ได้เรียนมาจากครูแคนที่ชื่อ ครูทองคำ ไทยกล้า เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ซึ่งหมอแคนแต่ละคนจะมีการแตกลายให้มีทำนองแตกต่างกันไปบ้างเพื่อความเป็นเอกลักษ์ของตนเอง ลายสุดสะแนน ที่นำมาเสนอครั้งนี้จึงเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น

การเป่าขึ้นส้อยแคน

บทที่ 3

การเป่าขึ้นส้อยแคน

                การเป่าขึ้นส้อยแคน  หมายถึงการเป่าเกริ่นนำก่อนที่จะเป่าจริง เป็นการเป่าเพื่อเกริ่นนำก่อนเข้าสู่ลายแคน  ถ้าเปรียบเทียบกับดนตรีบรรเลงในปัจจุบันก็คือ Introduction นั่นเอง จะแตกต่างกันที่การเป่าขึ้นส้อยแคนจะต้องเป่าให้จบในเวลาอันรวดเร็ว เป็นการนำเอาเนื้อหาของลายแคนมาแนะนำบางส่วน ซึ่งผู้เป่าอาจจะมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป่าเพื่อทดสอบความพร้อมของตนเองและตรวจสอบสภาพของแคนว่าอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะใช้งานได้หรือไม่ ถ้ามีผู้ฟังหรือคู่แข่งก็จะเป็นการอวดความสามารถให้ผู้อื่นรู้ก่อนที่จะเป่าจริง  นอกจากนี้การเป่าขึ้นส้อยแคนยังทำให้ผู้ฟังสามารถประเมินได้ว่าผู้เป่าแคนมีความสามารถอยู่ในระดับใด  การเป่าขึ้นส้อยแคนมีความสำคัญมาก มีคำกล่าวว่าหากการเป่าในขั้นตอนนี้ผ่านไปได้ด้วยดีก็เท่ากับประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง  ฉะนั้นในการเป่าขึ้นส้อยหมอแคนจึงต้องระมัดระวังและบรรจงเป็นพิเศษเพื่อให้เสียงแคนเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังหรือเป็นการข่มขู่คู่แข่งขันอีกทางหนึ่งด้วย ในการเป่าขึ้นส้อยแคนมีขั้นตอนหนึ่งซึ่งสำคัญมากที่ผู้เป่าแคนจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจคือการจาดแคน

              การจาดแคน

                คำว่า จาด เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึงการทำให้ตกใจ การจาดแคน คือการเป่าที่ไม่มีการไล่เสียงหรือเล่นทำนอง เป็นเพียงการเป่าเพื่อตรวจสอบกลุ่มเสียงของแต่ละลายที่จะเป่า  เป็นการเป่าให้เกิดเสียงขึ้นครั้งแรกพร้อมกันเป็นกลุ่มเสียง  เสียงที่ดังขึ้นจากการจาดแคน จะทำให้ผู้ฟังหันมาสนใจและรับรู้ว่าการเป่าแคนจะเริ่มขึ้น  นอกจากนี้การจาดแคนยังทำให้ผู้ฟังสามารถรู้ได้ว่าผู้เป่าจะเป่าแคนในลายทางสั้นหรือลายทางยาว  การจาดแคนบางทีก็จะเรียกว่า การจ้าดแคน หรือ จ้านแคน  อีกด้วย  ในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดการจาดแคนลายทางยาว ซึ่งได้แก่การจาดลายใหญ่และการจาดลายน้อย  โดยปฏิบัติดังนี้

              ฝึกการจาดแคน หรือ จ้านแคน

                   การจาดแคน หรือ การจ้าดแคน หรือ จ้าน ผู้เป่าอาจมีจุดมุ่งหมายหลายประการ เช่น ในสมัยก่อนเวลามีการแข่งขัน(สมัยนั้นเรียกว่า การประชัน)จะเป็นการเป่าเพื่อเรียกความสนในจากผู้ชม หรือเป็นการข่มขู่คู่แข่งขันบนเวที เพราะเสียงจ้าด หรือ จ้าน จะดังกังวาน ชวนให้คนทั้งหลายหันมาฟังเสียงแคนที่กำลังเป่า  ปัจจุบันถ้าเทียบกับเพลงทั่วไปก็คือ Introduction เป็นการเกริ่นนำก่อนเข้าสู่ลายแคน โดยเริ่มจากการจ้านสำหรับการเป่าแคนลายทางยาวซึ่งได้แก่การจ้านลายใหญ่และการจ้านลายน้อย ดังนี้

             การจาดลายใหญ่
                 ปกติการป่าแคนลายใหญ่จะติดสูดเสียง ลาสูง และ เสียง มีกลาง คือ ติดที่รูนับของแคนลูกที่ 7 และลุกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยืน(เสียงDrone) และฝึกเป่าตาม ลำดับดังนี้ 

            คำว่า  จาด หรือ จ้าด  เป็นการเกริ่นทำนองแบบหนึ่งที่ใช้บรรเลงก่อนนำเข้าสู่ลายแคน ซึ่งมีทำนองคล้ายกับสำเนียงภาษาพูดว่า จ้าน ……….จ้านจ้าน………… ซึ่งจะทำให้ลายแคนมีความไพเราะอ่อนหวาน โดยติดสูดที่ระดับเสียง  มํ ลํ (แพขวาและปฏิบัติดังนี้ 

ลำดับขั้นในการจาดแคนลายใหญ่
        
              วิธีปฏิบัติ

   ขั้นที่ 1

          1.ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง  ม ร ดํ (แพซ้ายและเสียง  ด ล รํ (แพขวาทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียง     คำว่าจ้าน แล้วเป่าลมเข้าประมาณ วินาที (ดูแผนภูมิที่1) 





     ขั้นที่ 2

 2.(ต่อจากขั้นที่1) ให้ปล่อยนิ้วเพื่อเปิดรูนับเสียง ร ดํ ที่แพซ้ายและเสียง  ด รํ  ที่แพขวาออก ให้เหลือไว้เฉพาะเสียง  แพซ้าย และเสียง ฺ  แพขวา และปล่อยให้ลมเป่ายืดออกไป 2-3 วินาที              (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)


     ถ้าต้องการคำว่า “ จ้าน …….....  เพียงครั้งเดียวหรือช่วงลมเดียว  ก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ หรือถ้าต้องการคำว่า จ้าน ต่อกันหลายครั้งให้ปฏิบัติใน ขั้นที่ 3-4 ต่อไป

     ขั้นที่ 3-4

            3.(ต่อจากขั้นที่2)ปิดรูนับเสียง ม ร ดํ (แพซ้ายและเสียง  ด ล รํ (แพขวาพร้อมกันอีกครั้ง เช่นเดียวกับขั้นที่ 1(ดูแผนภูมิขั้นที่3แล้วรีบปล่อยนิ้วให้เหลือเฉพาะเสียง  และ ฺ  เช่นเดียวกับขั้นที่ 2 (แผนภูมิที่ 2และเป่าลมเข้าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกตามต้องการในขั้นนี้จะมีทำนองคล้ายกับคำว่า จ้านจ้าน……………….





            ข้อควรสังเกต 

1. การเป่าคำว่า “ จ้าน ให้ใช้ลมช่วงเดียวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ  จะใช้ลมเป่าเข้าหรือดูดออกก็ได้ตามความถนัด โดยแบ่งลมออกเป็น ช่วง  จะได้เสียงแคนที่มีเสียงดังคล้ายกับคำว่า “ จ้าน……….. จ้านจ้าน………………

2. ระดับเสียงที่ต้องปิดรูนับตลอดการบรรเลงคือระดับเสียง ฺ ม มํลํ เป็นการ จาด ทำนองลายใหญ่  
3.การปฏิบัติในขั้นที่ 3 จะเหมือนกับขั้นที่ 1

       ฝึกเป่าขึ้นส้อยแคนทำนองลายใหญ่

             หลังจากฝึกจาดแคนลายใหญ่ได้แล้วให้ฝึกเป่าขึ้นส้อยเป็นทำนองสั้นๆ ก่อนนำเข้าสู่ลายแคน ซึ่งหมอแคนแต่ละคนอาจมีรูปแบบของทำนองที่แตกต่างกัน ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้เป่าว่าจะให้มีทำนองแบบใด ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างการเป่าขึ้นส้อยแคน(ลายใหญ่)ไว้พอสังเขป ดังเช่น

   เป่าขึ้นส้อยแบบที่ 1 

          ทำนองการจาดมีดังนี้  จ้าน ..........ล ม ร ด/ล ร ล ด/- ร ม ร/ /ด......../จ้าน...................  
   
         คำอธิบาย อันดับแรก เป่าจาดเป็นเสียงคำว่าจ้าน ต่อเนื่องกันแล้วตามด้วยเสียงโน้ต ล ม ร ด ล ร ล ด ร ม ร ด แล้วต่อท้ายด้วย คำว่า จ้าน เป็นเสียงยาวด้วยการเป่าผ่อน(เป็นการเป่าแบบจังหวะอิสระ)  

    เป่าขึ้นส้อยแบบที่ 2

           ทำนองการจาดมีดังนี้  จ้าน ........../ล ม ร ด/ล ร ล ด /ด ร ด ร /ม ร ด ล/-ด ร ด/จ้าน...................

           คำอธิบาย ปฏิบัติเช่นเดียวกับแบบที่ 1 แต่จำนวนพยางค์เสียงมีมากกว่าแบบที่ 1

    เป่าขึ้นส้อยแบบที่ 3 

           เริ่มจาก เป่าโน้ต ม ร/ ด ล/ ด ซ/ ด ล/ ซ ม/ ล ม/ ซ ร/ ซ ร /ม ด/ร ซ/ร ม/ล ม/ซ ร/ซ ร/ม ล/ด ร/ด ม/ร ด/ล ร/ล ด/ม ร/ด ล/...../ซ ล/ด ร/ด........../จ้าน...........................

           คำอธิบาย ให้เป่าไล่เสียงอย่างเร็ว แล้วลงจบด้วยการจ้าน

การจาดลายน้อย
     การป่าแคนลายน้อยจะติดสูดเสียงเรสูง(รํ) และเสียงลาสูง(ลํ) คือ ติดที่รูนับของแคนลูกที่ 6 และลุกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยืน(Drone) แล้วฝึกเป่าตามลำดับดังนี้
ขั้นที่ 1

1.ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้ายและเสียง ซ ล  (แพขวา)ทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียงว่า  จ้าน…......... แล้วเป่าลมเข้าประมาณ วินาที  (ดูแผนภูมิที่ 1) 





ขั้นที่ 2

2.(ต่อจากขั้นที่1)ที่แพซ้ายให้ปล่อยนิ้วเพื่อเปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ออกเหลือไว้เฉพาะเสียง  ส่่วนแพขวาให้เหลือเสียง ล มํ (รวมทั้ง รํ  ลํ ที่ติดสูด) แล้วปล่อยให้ลมเป่ายืดออกไป 2-3 วินาที (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)





ถ้าต้องการคำว่า “ จ้าน ……..…เพียงครั้งเดียว หรือ  ช่วงลมเดียวก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ  หรือถ้าต้องการคำว่า จ้านต่อกันหลายครั้งก็ให้ปฏิบัติตาม ขั้นที่ 3-4 ต่อไป

ขั้นที่ 3-4
            3.(ต่อจากขั้นที่2)ปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้ายและเสียง รํ(แพขวาพร้อมกันอีกครั้ง (เช่นเดียวกับขั้นที่ 1) แล้วรีบปล่อยนิ้วให้เหลือเฉพาะเสียง  และ รํ เช่นเดียวกับ ขั้นที่ 2(แผนภูมิที่ 2) แล้วเป่าลมเข้าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกตามต้องการ ในขั้นนี้จะมีทำนองคล้ายกับคำว่าจ้าน จ้าน…..............

การฝึกเป่าลายแคน

บทที่ 2


การฝึกเป่าลายแคน

         ลายแคน คำว่า  ลายแคน มีผู้รู้ได้กล่าวถึงความหมายของลายแคนไว้หลายอย่าง  ผู้เขียนขอสรุปความหมายของลายแคนไว้ดังนี้ คือ ลายแคน หมายถึงทำนองเฉพาะดั้งเดิมของแคนที่มีการบรรเลงเป็นภาษาเสียงหรือสำเนียงพื้นบ้านของคนอีสาน” แบ่งเป็น   2 กลุ่ม คือ

         1. ลายแคนทางสั้น  มีจังหวะการบรรเลงที่เร็ว กระชับ เป็นลายแคนที่เป่าเพื่อแสดงถึงอารมณ์สนุกสนานรื่นเริง ได้แก่ ลายสุดสะแนน  ลายโป้ซ้าย  และลายส้อย(สร้อย)

         2.  ลายแคนทางยาวเป็นลายแคนที่เป่าแสดงอารมณ์โศกเศร้า คร่ำครวญเสียใจ เหงา หรือเปล่าเปลี่ยว เป็นการเป่าบรรยายเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว เป็นการเป่าทางยาวที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกว่าเหมือนจะไม่จบง่าย หรือมีลักษณะเหมือนการไหลเอื่อยๆ ของน้ำในแม่น้ำ จึงมี ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง ลายล่อง”  ซึ่งประกอบด้วย ลายใหญ่ ลายน้อย และลายเซ ดังจะกล่าวในรายละเอียดในการฝึกลำดับต่อไป

        การฝึกเป่าลายแคนอีสาน ก่อนอื่นผู้ฝึกเป่าต้องมีทักษะพื้นฐาน การใช้ลมเป่าแบบต่างๆ ทั้งลมสั้นและลมยาว มีความมุ่งมั่น  มีความคิดสร้างสรรค์ ขยันและอดทน เป็นคนที่ช่างสังเกตและจดจำได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากการฝึกเป่าลายแคนจะมีความแตกต่างและสลับซับช้อนกว่าการเป่าในระดับพื้นฐาน ที่เน้นการเป่าตามโน้ตและเป่าเป็นเพลงเป็นส่วนใหญ่  แต่สำหรับการเป่าลายแคนอีสานนี้จะเน้นการจำทำนองลายแคนดั้งเดิมที่บรมครูแคนทั้งหลายในอดีตจดจำสืบต่อกันมา ซึ่งเป็นลายแคนแบบดั้งเดิมที่สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม ชีวิต ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมอันดีงามของคนอีสานเป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ที่จะเป่าลายแคนอีสานได้ดีจะต้องอาศัยไหวพริบปฏิภาณในการสังเกต และความสามารถในการจดจำลีลาทำนองลายแคนให้ได้ และจะต้องเป่าให้ได้เสียงแคนที่เป็นสำเนียงของคนอีสานจริงๆ จึง จะทำ ให้เสียงแคนหรือลายแคนนั้นๆ มีความไพเราะจับใจ  ฉะนั้น การฝึกเป่าลายแคนในลำดับต่อไปนี้จะไม่เน้นความสำคัญของตัวโน้ต  ตัวโน้ตเป็นเพียงแนวทางให้รู้จังหวะและทำนองของลายแคนเท่านั้น ความสำคัญของการเป่าลายแคนจึงอยู่ที่กลเม็ดเด็ดพรายและลีลาการเป่าที่จะทำให้เกิดอารมณ์ความซาบซึ้งในเสียงแคนที่เป็นสำเนียงของคนอีสานอย่างแท้จริง

         การเป่าลายแคนพื้นบ้านอีสาน
                 การฝึกเป่าลายแคน ในอดีตกาลที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีหมอแคนที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นบรมครูแห่งเสียงแคนที่มีความสามารถ ในการเป่าแคนได้อย่างไพเราะ ยังมีอยู่จำนวนมากกระจายอยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย  รวมทั้งที่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งบูรพาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็ได้กลับบ้านเก่ากันไปแล้ว คงทิ้งไว้แต่ลายแคนอันแสนไพเราะเพราะพริ้งไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าแห่งวัฒนธรรมดนตรีของคนอีสาน เหลือไว้เพื่อให้บูรพาจารย์ผู้เป็นหมอแคนที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้จดจำและสืบทอดเป็นสำเนียงเสียงสวรรค์ที่ชื่อว่า ลายแคน  เพื่อให้ลูกหลานผู้มีใจรักในดนตรีแคนได้ฝึกฝนเรียนรู้สืบไป ผู้เขียนในฐานะที่เป็นคนอีสานจึงขอเชิดชูบูชาบูรพาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยความเคารพยิ่ง และขอนำเอามรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้มาเผยแพร่แก่เยาวชนและผู้สนใจได้ฝึกหัดเรียนรู้  ถึงแม้นผู้เขียนจะมีทักษะเพียงน้อยนิดเหมือนหิ่งห้อยบินตอมเสียงแคน แต่ก็มีความปรารถนาที่จะเผยแพร่สิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและชาวโลกสืบไป

          การเริ่มต้นฝึกเป่าลายแคน การสาธิตและเผยแพร่ลายแคนครั้งนี้ผู้เขียนได้ใช้แนวทำนองลายแคนที่เรียนจากครูแคนชื่อดังของเมืองไทยท่านหนึ่ง ชื่อ ครูทองคำ  ไทยกล้า ซึ่งอดีตท่านเป็นครูภูมิปัญญาไทย และเป็นวิทยากรพิเศษอยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ท่านเล่าให้ฟังว่าได้ฝึกเป่าแคนตั้งแต่อายุ 18 ปี โดยไปฝึกกับครูแคนที่ประเทศลาว ประมาณปี พ.ศ. 2500 ด้วยการช่วยงานทำนาทำไร่เป็นค่าตอบแทน(ค่าเล่าเรียน)สำหรับครูแคน เมื่อเรียนจบแล้วก็ได้เที่ยวแสดงในงานต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งประเทศลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้กลับมาเมืองไทย และสุดท้ายได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด  ผู้เขียนได้เรียนการเป่าแคนจาก ครูทองคำ  ไทยกล้าตั้งแต่อายุยังหนุ่ม ท่านได้สอนเป่าแคน ลายแคน และแนวทางในการถ่ายทอดความรู้ไว้อย่างหลากหลาย  ดังนั้นเพื่อเป็นการบูชาพระคุณของบูรพาจารย์ทั้งหลาย ผู้เขียนจึงขอนำเอาลายแคนที่ได้รับการฝึกฝนมาถ่ายทอดเป็นวิทยาทานแก่เยาวชนและผู้สนใจทั่วไปเรียนรู้ตามลำดับขั้น ดังการฝึกในบทที่ 3 ต่อไป

การเป่าลายแคนอีสาน(ลายแคนขั้นสูง)


บทที่ 1
ความสำคัญของการใช้ลมในการเป่าแคน
      การฝึกใช้ลมในการเป่าแคน  เป็นการบังคับทิศทางและน้ำหนักของลม ที่เป่าเข้าหรือดูดออกจากรูเป่าของเต้าแคน โดยใช้อวัยวะต่างๆ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น และฟัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้เสียงแคนที่มีจังหวะหนักหรือเบาตลอดจนมีเสียงสั้นหรือเสียงยาวได้ตามต้องการจึงกล่าวได้ว่าเสียงแคนจะไพเราะหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของลมที่เป่าเข้าหรือดูดออก ดังนั้นการใช้ลมเป่าแคนที่ถูกวิธีจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุดอันดับแรกที่ผู้เป่าแคนทุกคนจะต้องฝึกให้ได้ จึงจะนำไปสู่การสร้างสรรค์เสียงแคนให้มีความไพเราะน่าฟังในการฝึกขั้นต่อไปได้ 
       ปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์ ส่งเสริม และอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสานในสถานศึกษา(ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตลอดทั้งผู้สนใจทั่วไปอย่างกว้างขวางก็ตาม จากการสังเกตการฝึกเป่าแคนของเด็กเยาวชนและผู้สนใจดังกล่าวที่สามารถเป่าแคนให้ได้เสียงแคนที่มีความไพเราะจริงๆ นั้นยังมีน้อย  ส่วนใหญ่เป่าตามโน้ตทำนองได้ แต่เสียงแคนมีจังหวะเบาไม่หนักแน่น  เสียงแคนไม่กระชับ  เสียงแคนไม่ไพเราะเท่าที่ควร  ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดพลาดของการฝึกในระยะเริ่มแรก คือ การฝึกใช้ลมเป่า  ที่ไม่ถูกวิธี มีการแบ่งจังหวะลมเป่าไม่ถูกต้องจนติดเป็นนิสัยที่แก้ไขได้ยาก จึงกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเป่าแคนไม่ไพเราะ
                ดังนั้นเพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติที่ถูกวิธีจนติดเป็นนิสัย  อันดับแรกโดยเฉพาะผู้เริ่มต้นฝึกเป่าแคนจะต้องฝึกการเป่าลมเข้าและดูดลมออกให้ถูกวิธีก่อน เมื่อสามารถควบคุมทิศทางและจังหวะในการเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกได้ดีแล้ว จึงจะนำไปสู่การเป่าแคนที่ไพเราะได้  ซึ่งการใช้ลมเป่านั้นมีหลายลักษณะหรือหลายรูปแบบที่ผู้ฝึกเป่าจะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ  เช่น การฝึกเป่าแบบใช้ลมยาวๆ  การใช้ลมสั้นๆโดยการแบ่งจังหวะลมเป็นชาวงสั้นๆ  ฝึกเป่าให้มีเสียงหนักเสียงเบา  นอกจากนี้ยังมีวิธีการฝึกเป่าให้เสียงแคนมีลักษณะแตกต่างกันหลายๆ แบบ  เช่น  การเป่าผ่อน  เป่าตัดลม  เป่าสะบัด และเป่าอ้อน เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการปฏิบัติเราจึงควรทบทวนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ลมเป่าตามลำดับ ดังนี้
                 การเป่าแคน คำว่า  การเป่าแคน เป็นกิริยาการกระทำสองลักษณะ  ที่ทำให้เกิดเป็นเสียงแคน คือการเป่าเป็นการเป่าลมผ่านทางรูเป่าเข้าไปในเต้าแคน เมื่อลมผ่านลิ้นแคนเข้าไปในกู่แคนก็จะเกิดการสั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงดัง  ส่วน การดูด เป็นการดูดลมให้กลับออกมาจากเต้าแคน(ดูดกลับคืน) ขณะที่ลมผ่านลิ้นแคนกลับออกมาก็จะเกิดการสั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงดังเช่นเดียวกับการเป่า  ดังนั้นทั้งการเป่าลมเข้าและดูดลมออกที่ทำให้เกิดเสียงแคนจึงเรียกรวมกันว่าการเป่าแคน ซึ่งโดยปกติทั้งการเป่าและการดูดจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับการหายใจของผู้เป่า คือ ขณะ ที่หายใจออกจะเป็นการเป่าลมเข้าไปในเต้าแคน และขณะที่หายใจเข้าจะเป็นการดูดลมออกจากเต้าแคน ทำสลับกันไปเช่นนี้โดยอัตโนมัติตามช่วงการหายใจเข้าและหายใจออก จะเริ่มต้นด้วยการเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เป่าเป็นสำคัญ

การฝึกใช้ลมในการเป่าแคนให้มีความไพเราะ
     การฝึกใช้ลมในการเป่าแคนให้ได้เสียงแคนมีความไพเราะ มี
แนวทางในการปฏิบัติที่สำคัญที่ผู้ฝึกเป่าแคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจ ดังนี้         
            1. การฝึกใช้ริมฝีปาก ลิ้นและฟัน ในการเป่าแคน การทำให้เสียงแคนมีจังหวะหนักหรือเบามีหลายวิธี วิธีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันของหมอแคนที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ ในขณะ ที่เป่าแคนให้ทำริมฝีปากห่อเข้าและบีบเข้าหากันให้เหลือเป็นรูเล็กๆเพื่อ ให้ลมที่เป่าผ่านออกมาหรือดูดเข้าไปในปากมีกำลังแรง ซึ่งจะทำให้เสียงแคนมีความกระชับ หนักแน่น กังวานและชัดเจนสม่ำเสมอ ดังภาพตัวอย่างรูปแบบการออมริมฝีปาก ภาพที่1-2


              ภาพที่1 รูปปากด้านข้าง     ภาพที่ 2 รูปปากด้านหน้า

            2. การ ฝึกใช้ลมเป่าที่ถูกวิธี  การเป่าจะเลือกฝึกเป่าคู่เสียงใดก่อนก็ได้ เช่น ถ้าจะฝึกเป่า ลา วิธีปฏิบัติ คือ ขณะที่ปิดรูนับเสียง ลา (ล ลฺ)ให้ออมริมฝีปากบีบเข้าหากันทำเป็นรูเล็กๆ และเผยอริมฝีปากให้บานออกเล็กน้อย จรดริมฝีปากแนบชิดกับรูเป่าแล้วเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกคล้ายๆ กับจะเปล่งเสียงของตัวพยัญชนะ “ ด หรือ ดร  หรือ  หรือ    หรือ   ”  โดยเปล่งออกมาเป็นสำเนียงของคำว่า ดู หรือ แด  หรือ ตู  หรือ  แต หรือ แดน  หรือ  แลน  “แจนหรือ แลน แจน ดังนี้เป็นต้น แต่ด้วยโครงสร้างทางสรีรของปากและฟันแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้คุณภาพในการออกเสียงหรือการดูดลมเข้าการเปล่งลมออกแตกต่างกัน และอาจทำให้เสียงดังของแคนมีความไพเราะชัดเจนต่างกันด้วย ดังนั้นผู้เป่าแคนจะต้องสังเกตเสียงแคนที่ตนเองเป่าว่าวิธีเปล่งลมเป่าแบบใดที่ทำให้เสียงแคนมีความไพเราะ กังวาน กระชับ ชัดเจน และหนักแน่นมากที่สุดก็ให้เลือกฝึกวิธีเป่าที่ตนถนัดนั้นให้คล่อง เพื่อนำไปใช้ในการเป่าลายแคนให้ไพเราะการฝึกขั้นต่อไป
           3. จังหวะความเร็วในการใช้ลมเป่าแคน มี 2 แบบ   ดังนี้
              3.1ลมชั้นเดียว หรือบางทีเรียกว่า“ลมเดียวหรือลมยาว” เป็นการเป่าหรือดูดลมออกช่วงจังหวะเดียวเสียงเดียวหรือหลายเสียงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำนองและจุดประสงค์ของผู้เป่า การใช้ลมแบบนี้ส่วนมากจะใช้ในการเป่าผ่อนลม การเป่าสะบัด และเป่าอ้อน ซึ่งเป็นการเป่าลมยาวโดยในที่ขณะเปล่งลมออกให้ออมริมฝีปากคล้ายกับจะเปล่งเสียงของคำว่า ดู หรือ แด  หรือ ตู หรือ แตหรือ แดน  พร้อมกับกระดกปลายลิ้นปิดทางลมแล้วรีบเปิดออกโดยทำสลับกันไปเรื่อยๆ ช้าๆ  ตามลักษณะลมเป่าที่เหมาะสมกับตนเองดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเริ่มแรกจึงควรฝึกเป่าเป็นช่วงลมยาวๆ ตามลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดความเคยชิน และควรฝึกเป่าสลับเสียงเปลี่ยนกันไปให้ครบทุกคู่เสียงจนเกิดความชำนาญ
             3.2 ลมสองชั้น บางทีเรียกว่า“ลมสั้น หรือ ลมเร็ว”เป็นการ ผันลิ้นในขณะที่เปล่งลมเป่าหรือดูดลมเข้าโดยการกระดกปลายลิ้นขึ้นปิดกั้นลมที่เปล่งออกมาให้หยุดแล้วรีบเปิดออกสลับกันเป็นช่วงสั้นๆ อย่างเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ลมที่เปล่งออกมาหรือลมที่  ดูดเข้าไปถูกแบ่งออกเป็นช่วงสั้นๆ ช่วงละ1 จังหวะย่อยในแต่ละห้องเพลง (หรือ 1 ห้องเพลงจะเปล่งลมออกหรือดูดลมเข้าเป็นช่วงสั้นๆ    4 ครั้ง)  ดังนั้นการผันลิ้นเพื่อแบ่งลมเป่าเป็นช่วงสั้นๆ สลับกันอย่าง ต่อเนื่องและเร็วเช่นนี้จึงเรียกว่า “ลมสองชั้น”  ซึ่งจังหวะการใช้ลมแบบนี้ส่วนใหญ่จะนำไป ใช้ในการเป่าตัดลม (จะกล่าวรายละเอียด  ในลำดับต่อไป)
           4. วิธีใช้ลมในการเป่าแคน  เมือฝึกการใช้ริมฝีปาก ลิ้น และฟัน พร้อมการผันลิ้นในการบังคับลมเป่าหรือการแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ จนครบทุกคู่เสียงและเกิดความชำนาญแล้วควรฝึกการใช้ลมเป่าแบบต่างๆ ดังนี้
               4.1 เป่าผ่อน  เป็นการเป่าลมเดียวเป็นเสียงยาวติดต่อกัน โดยการเน้นเสียงให้ดังแล้วค่อยผ่อนลมให้เสียงเบาลง บางทีเรียกว่า การเป่าลมยาวหรือลมชั้นเดียว วิธีเป่าผู้เป่าต้องออมริมฝีปากห่อเข้า หากันแล้วเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกมาให้ยาว แล้วค่อย ๆ ระบายลมเข้าหรือออกอย่างสม่ำเสมอ  การเป่าแบบนี้ใช้ในการเลียนเสียงทำนอง บทออนซอน (ทำนองที่ใช้เสียงยาวและจังหวะอิสระ ใช้ในทำนองทางสั้นที่เป็นเสียงยาว  เป็นการเป่าลมเข้าและดูดลมออก ช้าๆ  มีทั้งการเป่าควบคุมจังหวะและไม่เป็นจังหวะหรือจังหวะอิสระ คือไม่กำหนดความยาวหรือความถี่ของจังหวะ ผู้ฝึกสามารถเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกได้นานตามที่ตนเองกำหนด  ควรฝึกควบคุมลมเป่าให้สม่ำเสมอทุกระดับเสียง ให้เสียงเดียวกันที่ดังออกมาระหว่างการเป่าลมเข้าและดูดลมออกมีสำเนียงเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันให้มากที่สุด 
                 4.2 เป่าสะบัด  เป็นการเป่าที่โยงเสียงสั้นๆ ประมาณ สองสามเสียงเพื่อเข้าสู่เสียงจังหวะหนักที่ตองการเน้นเสียง  หรือเป็นการเป่าให้เสียงแคนดังออกมาสองสามเสียงก่อนถึงเสียงหลัก    ที่ต้องการเน้น วิธีการเป่าตัดผู้เป่าต้องใช้การเป่าลมเดียวให้ได้เสียงสองเสียงหรือสามเสียงและเป่าตัดปิดท้ายที่เสียงหลักที่ต้องการเน้น  ข้อสำคัญของการเป่าสะบัดคือ นี้ที่ปิดรูนับต้องเคลื่นอที่อย่างรวดเร็วเสียงสะบัดจึงจะไพเราะ
                  4.3 เป่าอ้อน หรือฮ่อน เป็นการเป่าเสียงยาวให้เสียงสั่นสะเทือนเป็นคลื่น โดยการเป่าเสียงหลักสลับกับเสียงข้างเคียงอย่างรวดเร็ว  เวลาเป่าต้องเขย่าลมผสมกับการพรมนิ้วบนรูนับ เช่น ถ้าเป่าอ้อนที่เสียง โด ก็ใช้เสียง เร สลับอย่างรวดเร็วโดยการพรมนิ้วที่เสียง เร เป็นต้น
                  4.4 เป่าตัด  เป็นการเป่าแคนที่ได้เสียงสั้นหรือเป่าครั้งละเสียง วิธีเป่าให้ออมริมฝีปากห่อเข้าหากันแล้วเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกมาอย่างแรงพร้อมกับกระดกปลายลิ้นขึ้นปิดกั้นลมที่เปล่งออกมาให้หยุดหรือแบ่งเป็นช่วงๆอย่างรวดเร็วเพื่อแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ ตามอัตราจังหวะของเสียงหรือทำนองของลายแคน บางที่จึงเรียกว่า “ลมสั้น” หรือ “ลมสองชั้น”  ควรฝึกผันลิ้นในการเป่าลมเข้าและดูดลมออกสลับกันให้ครบทุกคู่เสียงจนเกิดความชำนาญ ดังตัวอย่าง

       ตัวอย่างการฝึกเป่าตัดลม แบบที่1 เป่าตัดลม 1 ครั้ง ใน 1 จังหวะ
            ฝึกเปล่งลมเป่า จังหวะใน 1 ห้องเพลง เช่นขณะปิดคู่เสียงและเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกพร้อมกระดกปลายลิ้นเพื่อแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ โดยเปล่งลมเป่าคล้ายกับจะพูดคำว่า “ดู” ติดต่อกันเป็นจังหวะเท่ากับเสียงของ  ตัวโน้ตในแต่ละห้องเพลง  เช่น การเป่าสียง ลา



       วิธีปฏิบัติ 
      ขณะปิดรูนับเสียง ลา แล้วเปล่งลมเป่าคำว่า “ดู” ระดับเสียงที่ผู้ฟังได้ยิน คือเสียง “ลา” ซึ่งมีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน และจังหวะตกตรงกับโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องเพลง ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนสลับเป็นคู่เสียงอื่นๆ ให้ครบทุกเสียง (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที) พร้อมทั้งเปลี่ยนการเปล่งลมเป่าเป็นเสียงแบบอื่นๆ เช่น  แด หรือ  แดน หรือ  แลน หรือ แจน ดังนี้เป็นต้น ควรฝึกใช้ลมเป่าให้เกิดความเคยชิน เพื่อใช้ในการฝึกเป่าลายแคนในขั้นตอนต่อไป
  ตัวอย่างการเป่าตัดลม แบบที่ 2  ฝึกเป่าตัดลม 2 ครั้ง ใน1จังหวะ
          ขณะปิดคู่เสียงและเป่าลมเข้าหรือดูดลมออกพร้อมกับกระดกปลายลิ้นเพื่อแบ่งลมเป่าออกเป็น จังหวะย่อยใน 1ห้องเพลง โดยเปล่งลมเป่าคล้ายกับจะพูดคำว่า “แลน แจน” ติดต่อกัน เช่น การเป่าเสียง ลา



 วิธีปฏิบัติ  
      ขณะปิดรูนับเสียง ลา แล้วเปล่งลมเป่าคำว่า “แลน แจน”  ระดับเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียง “ลา ลา” ซึ่งมีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน และมีจังหวะตกตรงกับโน้ตตัวสุดท้ายของแต่ละห้องเพลง (ตรงกับลมเป่าคำว่า “ แจน” ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยเปลี่ยนสลับเป็น  คู่เสียงอื่นๆ ให้ครบทุกเสียง(โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)พร้อมทั้งเปลี่ยนการเปล่งลมเป่าเป็นแบบอื่นๆ เช่น  “แดน  แดน” หรือ “แลน แดน” หรือ “ แลน  แจน” หรือ “แลน  แตน ”  ดังนี้เป็นต้น  แล้วเลือกเสียงที่ชัดเจนและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด  ควรฝึกใช้ลมเป่าที่ถนัดให้เกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยเพื่อนำไปใช้ในการฝึกเป่าลายแคนในขั้นตอนต่อไป

  ตัวอย่างการเป่าตัดลม แบบที่ 3  ฝึกเปล่งลมเป่ามากกว่า  จังหวะย่อยใน 1 ห้องเพลง
       ขณะปิดคู่เสียง เป่าลมเข้าหรือดูดลมออกโดยแบ่งลมเป่าออกเป็นช่วงๆ พร้อมเปล่งลมเป่าติดต่อกันเป็น 1-4 จังหวะย่อย ใน ห้องเพลง  เช่น 

ตัวอย่างการเป่าเพลงเต้ยโขง 

         โดยฝึกใช้ลมเป่าทั้งลมยาวและลมสั้น


   วิธีปฏิบัติ  ขณะปิดรูนับคู่เสียงตามโน้ตพร้อมเปล่งลมเป่าคล้ายกับเสียงของคำว่า“แด หรือ แดน” ระดับเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียงที่มีจังหวะหนักแน่น ชัดเจน ให้ฝึกเป่าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ หรือเปลี่ยนวิธีการเปล่งลมเป่าให้เป็นเสียงแบบอื่นๆ เช่น “ ดู ”   หรือ “ แดน ” หรือ      “ แลน  แดน” หรือ “แลน  แตน ” ดังนี้เป็นต้น ควรฝึกใช้ลมเป่าให้เกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยเพื่อนำไปใช้ในการฝึกเป่าลายแคนในขั้นตอนต่อไป
     ข้อสังเกต  จากตัวอย่างการเป่าเพลงเต้ยโขง จะสังเกตเห็นว่าระดับเสียงที่มีอัตราจังหวะเท่ากับ 2 จังหวะย่อย ส่วนใหญ่จะเปล่งลมออกคล้ายกับเสียงของคำว่า แดน  ส่วนคำว่า แด  จะตรงกับระดับเสียงที่มีอัตราจัหวะเท่ากับ 1 จังหวะย่อย