วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

การเป่าขึ้นส้อยแคน

บทที่ 3

การเป่าขึ้นส้อยแคน

                การเป่าขึ้นส้อยแคน  หมายถึงการเป่าเกริ่นนำก่อนที่จะเป่าจริง เป็นการเป่าเพื่อเกริ่นนำก่อนเข้าสู่ลายแคน  ถ้าเปรียบเทียบกับดนตรีบรรเลงในปัจจุบันก็คือ Introduction นั่นเอง จะแตกต่างกันที่การเป่าขึ้นส้อยแคนจะต้องเป่าให้จบในเวลาอันรวดเร็ว เป็นการนำเอาเนื้อหาของลายแคนมาแนะนำบางส่วน ซึ่งผู้เป่าอาจจะมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป่าเพื่อทดสอบความพร้อมของตนเองและตรวจสอบสภาพของแคนว่าอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะใช้งานได้หรือไม่ ถ้ามีผู้ฟังหรือคู่แข่งก็จะเป็นการอวดความสามารถให้ผู้อื่นรู้ก่อนที่จะเป่าจริง  นอกจากนี้การเป่าขึ้นส้อยแคนยังทำให้ผู้ฟังสามารถประเมินได้ว่าผู้เป่าแคนมีความสามารถอยู่ในระดับใด  การเป่าขึ้นส้อยแคนมีความสำคัญมาก มีคำกล่าวว่าหากการเป่าในขั้นตอนนี้ผ่านไปได้ด้วยดีก็เท่ากับประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง  ฉะนั้นในการเป่าขึ้นส้อยหมอแคนจึงต้องระมัดระวังและบรรจงเป็นพิเศษเพื่อให้เสียงแคนเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังหรือเป็นการข่มขู่คู่แข่งขันอีกทางหนึ่งด้วย ในการเป่าขึ้นส้อยแคนมีขั้นตอนหนึ่งซึ่งสำคัญมากที่ผู้เป่าแคนจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจคือการจาดแคน

              การจาดแคน

                คำว่า จาด เป็นภาษาพื้นเมืองอีสาน หมายถึงการทำให้ตกใจ การจาดแคน คือการเป่าที่ไม่มีการไล่เสียงหรือเล่นทำนอง เป็นเพียงการเป่าเพื่อตรวจสอบกลุ่มเสียงของแต่ละลายที่จะเป่า  เป็นการเป่าให้เกิดเสียงขึ้นครั้งแรกพร้อมกันเป็นกลุ่มเสียง  เสียงที่ดังขึ้นจากการจาดแคน จะทำให้ผู้ฟังหันมาสนใจและรับรู้ว่าการเป่าแคนจะเริ่มขึ้น  นอกจากนี้การจาดแคนยังทำให้ผู้ฟังสามารถรู้ได้ว่าผู้เป่าจะเป่าแคนในลายทางสั้นหรือลายทางยาว  การจาดแคนบางทีก็จะเรียกว่า การจ้าดแคน หรือ จ้านแคน  อีกด้วย  ในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดการจาดแคนลายทางยาว ซึ่งได้แก่การจาดลายใหญ่และการจาดลายน้อย  โดยปฏิบัติดังนี้

              ฝึกการจาดแคน หรือ จ้านแคน

                   การจาดแคน หรือ การจ้าดแคน หรือ จ้าน ผู้เป่าอาจมีจุดมุ่งหมายหลายประการ เช่น ในสมัยก่อนเวลามีการแข่งขัน(สมัยนั้นเรียกว่า การประชัน)จะเป็นการเป่าเพื่อเรียกความสนในจากผู้ชม หรือเป็นการข่มขู่คู่แข่งขันบนเวที เพราะเสียงจ้าด หรือ จ้าน จะดังกังวาน ชวนให้คนทั้งหลายหันมาฟังเสียงแคนที่กำลังเป่า  ปัจจุบันถ้าเทียบกับเพลงทั่วไปก็คือ Introduction เป็นการเกริ่นนำก่อนเข้าสู่ลายแคน โดยเริ่มจากการจ้านสำหรับการเป่าแคนลายทางยาวซึ่งได้แก่การจ้านลายใหญ่และการจ้านลายน้อย ดังนี้

             การจาดลายใหญ่
                 ปกติการป่าแคนลายใหญ่จะติดสูดเสียง ลาสูง และ เสียง มีกลาง คือ ติดที่รูนับของแคนลูกที่ 7 และลุกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยืน(เสียงDrone) และฝึกเป่าตาม ลำดับดังนี้ 

            คำว่า  จาด หรือ จ้าด  เป็นการเกริ่นทำนองแบบหนึ่งที่ใช้บรรเลงก่อนนำเข้าสู่ลายแคน ซึ่งมีทำนองคล้ายกับสำเนียงภาษาพูดว่า จ้าน ……….จ้านจ้าน………… ซึ่งจะทำให้ลายแคนมีความไพเราะอ่อนหวาน โดยติดสูดที่ระดับเสียง  มํ ลํ (แพขวาและปฏิบัติดังนี้ 

ลำดับขั้นในการจาดแคนลายใหญ่
        
              วิธีปฏิบัติ

   ขั้นที่ 1

          1.ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง  ม ร ดํ (แพซ้ายและเสียง  ด ล รํ (แพขวาทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียง     คำว่าจ้าน แล้วเป่าลมเข้าประมาณ วินาที (ดูแผนภูมิที่1) 





     ขั้นที่ 2

 2.(ต่อจากขั้นที่1) ให้ปล่อยนิ้วเพื่อเปิดรูนับเสียง ร ดํ ที่แพซ้ายและเสียง  ด รํ  ที่แพขวาออก ให้เหลือไว้เฉพาะเสียง  แพซ้าย และเสียง ฺ  แพขวา และปล่อยให้ลมเป่ายืดออกไป 2-3 วินาที              (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)


     ถ้าต้องการคำว่า “ จ้าน …….....  เพียงครั้งเดียวหรือช่วงลมเดียว  ก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ หรือถ้าต้องการคำว่า จ้าน ต่อกันหลายครั้งให้ปฏิบัติใน ขั้นที่ 3-4 ต่อไป

     ขั้นที่ 3-4

            3.(ต่อจากขั้นที่2)ปิดรูนับเสียง ม ร ดํ (แพซ้ายและเสียง  ด ล รํ (แพขวาพร้อมกันอีกครั้ง เช่นเดียวกับขั้นที่ 1(ดูแผนภูมิขั้นที่3แล้วรีบปล่อยนิ้วให้เหลือเฉพาะเสียง  และ ฺ  เช่นเดียวกับขั้นที่ 2 (แผนภูมิที่ 2และเป่าลมเข้าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกตามต้องการในขั้นนี้จะมีทำนองคล้ายกับคำว่า จ้านจ้าน……………….





            ข้อควรสังเกต 

1. การเป่าคำว่า “ จ้าน ให้ใช้ลมช่วงเดียวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ  จะใช้ลมเป่าเข้าหรือดูดออกก็ได้ตามความถนัด โดยแบ่งลมออกเป็น ช่วง  จะได้เสียงแคนที่มีเสียงดังคล้ายกับคำว่า “ จ้าน……….. จ้านจ้าน………………

2. ระดับเสียงที่ต้องปิดรูนับตลอดการบรรเลงคือระดับเสียง ฺ ม มํลํ เป็นการ จาด ทำนองลายใหญ่  
3.การปฏิบัติในขั้นที่ 3 จะเหมือนกับขั้นที่ 1

       ฝึกเป่าขึ้นส้อยแคนทำนองลายใหญ่

             หลังจากฝึกจาดแคนลายใหญ่ได้แล้วให้ฝึกเป่าขึ้นส้อยเป็นทำนองสั้นๆ ก่อนนำเข้าสู่ลายแคน ซึ่งหมอแคนแต่ละคนอาจมีรูปแบบของทำนองที่แตกต่างกัน ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้เป่าว่าจะให้มีทำนองแบบใด ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างการเป่าขึ้นส้อยแคน(ลายใหญ่)ไว้พอสังเขป ดังเช่น

   เป่าขึ้นส้อยแบบที่ 1 

          ทำนองการจาดมีดังนี้  จ้าน ..........ล ม ร ด/ล ร ล ด/- ร ม ร/ /ด......../จ้าน...................  
   
         คำอธิบาย อันดับแรก เป่าจาดเป็นเสียงคำว่าจ้าน ต่อเนื่องกันแล้วตามด้วยเสียงโน้ต ล ม ร ด ล ร ล ด ร ม ร ด แล้วต่อท้ายด้วย คำว่า จ้าน เป็นเสียงยาวด้วยการเป่าผ่อน(เป็นการเป่าแบบจังหวะอิสระ)  

    เป่าขึ้นส้อยแบบที่ 2

           ทำนองการจาดมีดังนี้  จ้าน ........../ล ม ร ด/ล ร ล ด /ด ร ด ร /ม ร ด ล/-ด ร ด/จ้าน...................

           คำอธิบาย ปฏิบัติเช่นเดียวกับแบบที่ 1 แต่จำนวนพยางค์เสียงมีมากกว่าแบบที่ 1

    เป่าขึ้นส้อยแบบที่ 3 

           เริ่มจาก เป่าโน้ต ม ร/ ด ล/ ด ซ/ ด ล/ ซ ม/ ล ม/ ซ ร/ ซ ร /ม ด/ร ซ/ร ม/ล ม/ซ ร/ซ ร/ม ล/ด ร/ด ม/ร ด/ล ร/ล ด/ม ร/ด ล/...../ซ ล/ด ร/ด........../จ้าน...........................

           คำอธิบาย ให้เป่าไล่เสียงอย่างเร็ว แล้วลงจบด้วยการจ้าน

การจาดลายน้อย
     การป่าแคนลายน้อยจะติดสูดเสียงเรสูง(รํ) และเสียงลาสูง(ลํ) คือ ติดที่รูนับของแคนลูกที่ 6 และลุกที่ 8 แพขวา เพื่อทำเป็นเสียงประสานยืน(Drone) แล้วฝึกเป่าตามลำดับดังนี้
ขั้นที่ 1

1.ใช้นิ้วปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้ายและเสียง ซ ล  (แพขวา)ทำริมฝีปากห่อเข้าและผันลิ้นคล้ายกับจะเปล่งสำเนียงว่า  จ้าน…......... แล้วเป่าลมเข้าประมาณ วินาที  (ดูแผนภูมิที่ 1) 





ขั้นที่ 2

2.(ต่อจากขั้นที่1)ที่แพซ้ายให้ปล่อยนิ้วเพื่อเปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ออกเหลือไว้เฉพาะเสียง  ส่่วนแพขวาให้เหลือเสียง ล มํ (รวมทั้ง รํ  ลํ ที่ติดสูด) แล้วปล่อยให้ลมเป่ายืดออกไป 2-3 วินาที (ดูแผนภูมิขั้นที่ 2)





ถ้าต้องการคำว่า “ จ้าน ……..…เพียงครั้งเดียว หรือ  ช่วงลมเดียวก็เป่าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกได้ตามต้องการ  หรือถ้าต้องการคำว่า จ้านต่อกันหลายครั้งก็ให้ปฏิบัติตาม ขั้นที่ 3-4 ต่อไป

ขั้นที่ 3-4
            3.(ต่อจากขั้นที่2)ปิดรูนับเสียง ฟํ ฟ ร ดํ (แพซ้ายและเสียง รํ(แพขวาพร้อมกันอีกครั้ง (เช่นเดียวกับขั้นที่ 1) แล้วรีบปล่อยนิ้วให้เหลือเฉพาะเสียง  และ รํ เช่นเดียวกับ ขั้นที่ 2(แผนภูมิที่ 2) แล้วเป่าลมเข้าให้เสียงแคนยืดออกไปอีกตามต้องการ ในขั้นนี้จะมีทำนองคล้ายกับคำว่าจ้าน จ้าน…..............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น