ท่อโสมสูตร
คือท่อที่ได้มีการต่อให้ออกมาจากบริเวณที่เป็นส่วนกลางของปรางค์
ประธาน โดยประดิษฐานศิวลึงค์หรืออาจรูปเทพเจ้า จากนั้นก็มีน้ำไหลออกมาจากท่อบรรดาราษฎรก็สามารถนำน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปใช้ได้ (ท่อโสมสูตร สมบัติของอำเภอน้ำยืน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถาน อุบลราชธานี)
ขอคัดลอกข้อความเกี่ยวกับท่อโสมสูตร มาเพื่อให้ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม ดังนี้
จากสำรวจปราสาทขอมตั้งแต่รุ่นแรกๆที่ Rolous เช่น ปราสาทพระโค ปราสาทโลเล่ย ปราสาทบากอง และปราสาทชื่อดังใน Siem Reap เช่น ปราสาทต่างๆที่อยู่ในเมืองนครธม ปราสาทนครวัด ปราสาทพนมบาเค็ง ปราสาทโกรโค ปราสาทไพร ปราสาทพระพิธู ผลของการสำรวจไม่พบว่ามีท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แม้แต่แท่งเดียว พบแต่ศิวะลึงค์เก่าๆและโยนีหักๆวางอยู่ในปราสาท หรือไม่ก็ทิ้งอยู่ตามข้างสนามหญ้าข้างๆปราสาท แต่เมื่อค้นคว้าทางเอกสารพบว่า "แปลนปราสาทขอมดั่งเดิม" มีการกำหนดแนวของท่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ไว้ชัดเจน และยังมีเอกสารอธิบายว่าอยู่ที่ผนังด้านทิศเหนือของปราสาท เช่น เอกสารนำเที่ยวของปราสาท Ta Phrom Kel เป็นอะโรคยาศาล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของปราสาทนครวัด ขณะเดียวกันเอกสารจำนวนมากก็อธิบายว่าท่อโสมสูตรเป็นอุปกรณ์ส่วนควบของศิวะลึงค์และโยนี ใช้ในการประกอบพิธีของบุคคลชั้นสูงโดยให้พราหมณ์เทน้ำลงไปบนแท่งศิวะลึงค์ให้ไหลลงไปที่โยนี "กลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์" และไหลออกไปสู่ข้างนอกตัวปราสาทผ่านท่อโสมสูตร เพื่อให้ราษฏรตาดำๆอย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในตัวปราสาท สามารถรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปบูชาที่บ้าน
นักโบราณคดีทราบดีว่าอาณาจักรขอมมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน
คศ. 68
- 550 โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย
และส่งไม้ต่อให้อาณาจักรเจนละ ค.ศ. 550 - 802 ในที่สุดก็มาลงตัวที่อาณาจักรอังกอร์
อย่างไรก็ตามการก่อสร้างปราสาทรุ่นแรกๆที่เห็นเป็นรูปร่างและยังคงปรากฏอยู่ทุกวันนี้ก็ได้แก่
"ปราสาทที่สัมบอร์ ไพรคุก" (Sambor Prei Kok) ห่างจากตัวเมืองกัมปงธมราว
30 กม. ส่วนที่ประเทศไทยคือปราสาท "ภูมิโปน"
ที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทเก่าที่สุด
ปราสาทต้นแบบ Sambor Prei
Kok เมืองกัมปงธม ประเทศกัมพูชา
จึงไม่ปรากฏร่องรอยของท่อโสมสูตร" ทั้งๆที่มีอุปกรณ์ส่วนควบครบครันได้แก่
"ศิวะลึงค์และโยนี" ขณะที่ปราสาทร่วมสมัยอย่าง
"ปราสาทภูมิโปน" ที่จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
มีท่อโสมสูตรอยู่ที่ผนังด้านทิศเหนือเห็นได้ชัดเจน แต่ที่ปราสาทสัมบอร์
ไพรคุก ใกล้ๆกับเมืองกังปงธม ประเทศกัมพูชา มีแต่ฐานโยนี
แต่ไม่มีร่องรอยของท่อโสมสูตร สังเกตได้ว่าผนังด้านทิศเหนือที่ตรงกับทางน้ำไหลของฐานโยนีไม่มีร่องรอยของท่อโสมสูตร
พิจารณาจากปราสาทขอมในประเทศไทยที่
"มี และไม่มี" ท่อโสมสูตร
เชื่อว่าปราสาทที่มีท่อโสมสูตรเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีของชนชั้นสูงที่ปกครองในเมืองนั้นๆ
เช่น ปราสาทพิมาย ปราสาทสด๊อกก๊อกธม ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทภูเพ็ก
ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทภูมิโปน เป็นต้น
ส่วนปราสาทที่ไม่มีท่อโสมสูตรเป็นปราสาทธรรมดาทั่วไปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบุคคลชั้นสูงท่านนั้นๆ
ข้อสมมุติฐานนี้กินความถึงปราสาทขอมที่อยู่ในประเทศกัมพูชาก็น่าจะมีวัตถุประสงค์เดียวกัน
เพราะในยุคขอมเรืองอำนาจปราสาททั้งหมดนี้อยู่ในพระราชอาณาจักรเดียวกัน
และบรรพชนในยุคนั้นก็ไม่ทราบว่าอีกพันปีข้างหน้าลูกหลานของท่านจะ
"แบ่งแผ่นดิน" ออกเป็นประเทศไทย กัมพูชา และลาว
ดังนั้น
ปราสาทขอมหลายแห่งที่นครหลวง "อังกอร์" ปัจจุบัน "Siem
Reap" ก็ต้องเคยมี "ท่อโสมสูตร"
เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีสำคัญของบุคคลชั้นสูง แต่ต่อมาเมื่อศาสนาพุทธนิกาย
"เถรวาท" (Therevada Buddhisim) เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่
7 และมีอำนาจสูงสุดร้อยปีต่อมาในระยะสุดท้ายของอาณาจักรอังกอร์
ทำให้ความเชื่อของผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นปกครองเปลี่ยนไปจาก
"เทวราชา" ไปเป็นการนับถือ "ศาสนพุทธเถรวาทแบบลังกา" ท่อโสมสูตรจึงหมดความหมาย
และถูกรื้อทิ้งออกไปจากปราสาท เหลือไว้เพียงศิวะลึงค์และโยนีเท่านั้น
เรื่องทำนองนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 พระองค์นับถือพุทธเถรวาสอย่างเคร่งครัดจึงโปรดให้ยกเลิกพิธีพราหมณ์
เช่น การโล้ชิงช้า การทำพิธีจรดพระนังคัลแลกนาขวัญ
และหันมาประกอบพิธีพุทธแบบเถรวาท ต่อมาเมื่อถึงสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ปี 2503
ก็มีนโยบายให้นำพิธีจรดพระนังคัลแลกนาขวัญกลับมาอีก
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้รวบรวมอาณาจักรเจนละและสถาปนาอาณาจักรอังกอร์ขึ้นมาใน ค.ศ.802 จากนั้นได้มีการก่อสร้างปราสาทขึ้นครั้งแรกที่ภูเขาพนมกูเลน
ต่อมาก็ย้ายมาสร้างที่โลเล่ย และเสียมเรียบ ตามลำดับ ปราสาทรุ่นแรกๆก็ได้แก่
ปราสาทพระโค ปราสาทโลเล่ย และปราสาทบากอง
หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยปราสาทจำนวนมากดังที่เห็นในปัจจุบัน จากการค้นเอกสารต่างๆของกัมพูชาเพื่อหาเรื่องราวของ
"ท่อโสมสูตร" ก็พบว่ามีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรที่
"ปราสาทตาพรมเกล" เป็นอโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของปราสาทนครวัด
เหตุผลการรื้อทิ้งท่อโสมสูตร
ดังนี้
1.พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ทรงมีนโยบายเปลี่ยนแนวคิดจาก "เทวะราชา" ให้เป็น
"พุทธราชา"
ดังจะเห็นได้ว่าปราสาทและสิ่งก่อสร้างต่างๆของท่านเอื้อต่อการเข้าถึงของประชาชนตาดำๆทั่วไป
ดังตัวอย่าง "ปราสาทบายน" ไม่มีกำแพงกั้นรอบตัวปราสาท
และมีการจารึกเรื่องราวชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เช่น การทำมาค้าขาย
การหาอยู่หากิน การตีไก่ การล่าสัตว์
ผิดกับปราสาทสมัยก่อนๆที่เข้าถึงได้เฉพาะพราหมณ์และบุคคลชั้นสูงและก็จารึกเฉพาะเรื่องราวของกษัตริย์
พระองค์สร้างโรงพยาบาลและที่พักคนเดินทางให้ประชาชนได้ใช้อย่างเสรี
และที่เห็นจะมีน้ำหนักมากก็ตรงที่พระองค์ส่งราชบุตรชื่อ "ธรรมรินทร์" (Tamalinda)
ไปบวชพระที่ศรีลังกาเป็นเวลา 10 ปี
เพื่อให้ซาบซึ้งในศาสนาพุทธนิกาย "เถรวาท" เมื่อพระธรรมรินทร์กลับมาที่นครหลวงอังกอร์ในปี
1190 ก็ได้เริ่มตั้งสำนักสงฆ์เถรวาสในพระราชวัง
ดังนั้นแม้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
แต่พระองค์ก็สนับสนุนให้ราชบุตรเป็นผู้นำศานาพุทธนิกายเถรวาท
2.บันทึกของราชฑูตจีนที่ชื่อ
จูต้ากวน ซึ่งมาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง ค.ศ.1296 - 1297 ระบุว่าเห็นพระสงฆ์ห่มจีวรสีเหลืองจำนวนมากในนครหลวงอังกอร์
ขณะเดียวกันก็ยังมีพราหมณ์ฮินดูอยู่ในสำนักของเขาเหล่านั้น
ขณะเดียวกันเอกสารประวัติศาสตร์ของกัมพูชาก็ระบุว่าตั้งแต่ศริตศวรรษ ที่ 13
เป็นต้นมาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทก็กลายเป็นศาสนาประจำชาติ
3.ปราสาทปาปวนซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตย์อุทัยวรมันที่ 2 เป็นศาสนาสถานฮินดู ต่อมาในปลายยุคของอาณาจักรอังกอร์
ได้ถูกดัดแปลงเป็นศาสนสถาน "พุทธเถรวาท"
โดยรื้อก้อนหินจากยอดปราสาทมาสร้างเป็น "พระพุทธรูปปางไสยาสน์"
ที่ด้านทิศตะวันตกของตัวปราสาท แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธเถรวาท
และเป็นวัตถุพยานยืนยันว่าการดัดแปลงสิ่งก่อสร้างใหญ่ขนาดนี้เขาทำได้
ทำไมการรื้อทิ้ง "ท่อโสมสูตร" แท่งนิดเดียวจะทำไม่ได้
4.ปราสาท Phra Pitu หมายเลข X มีภาพจารึกของพระพุทธรูปนิกายเถรวาทอย่างชัดเจน
ซึ่งต่างจากปราสาทขอมหลังอื่นๆ ในเมืองนครธม
"ท่อโสมสูตร"
ที่ประเทศกัมพูชาถูกรื้อทิ้งก็เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อจากศาสนาเดิมคือฮินดู
และพุทธมหายาน มาเป็นพุทธเถรวาท
และถ้าท่านจะถามว่าแล้วท่อโสมสูตรที่ปราสาทขอมในประเทศไทยทำไมยังคงปรากฏอยู่เต็มตาละ
คำตอบก็น่าจะ "เราอยู่ไกลจากเมืองหลวง" อิทธิพลในความเชื่อการต่อต้านอาจไม่รุนแรงนัก
ขณะเดียวกันตอนที่ศาสนาพุทธเถรวาทเริ่มมีอิทธิพลในนครหลวงอังกอร์อำนาจการปกครองจากส่วนกลางก็เริ่มอ่อนล้า
และเมื่อกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีอำนาจขึ้นมาครอบครองดินแดนในแถบประเทศไทยปัจจุบัน
กษัตริย์ของอยุธยายังคงนิยมความเชื่อ "เทวะราชา"
และมีพราหมณ์เป็นที่ปรึกษาอยู่ในราชสำนักเรียกว่า "ท่านปุโรหิต"
ท่อโสมสูตรจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อ (ตัดตอนจาก http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539369649)http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539369649)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น