อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีทรัพยากรต้นไม้ที่สำคัญ
และมีอัตราร่อยหรอลงมาก
แม้จะมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ในการปกป้องป่าหลายหน่วยงาน เช่น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบ.๑๐
หน่วยป้องกันไฟป่า เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติภูจอง – นายอย
เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
แต่การปกป้องการบุกรุกป่าที่ดีที่ควรควรจะใช้กำลังคนที่ใกล้ชิดกับป่ามากที่สุด
พิธีบวชป่าจึงเป็นกุศโลบายห้ามมิให้คนตัดไม้ทำลายป่า
เพราะคนไทยเป็นชาวพุทธที่นับถือพระ ซึ่งต้นไม้ต้นใดที่ผ่านการบวชแล้ว
ชาวบ้านจะไม่ตัดเด็ดขาด ซึ่งถือเป็นการยับยั้งการทำลายธรรมชวาติและช่วย
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรักษาป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารให้อุดมสมบูรณ์
ผู้ริเริ่มการทำประเพณีการบวชป่าของอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี คือ นายชาติชาย แก้วศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจันลา
ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
โดยเริ่มเมื่อปี ๒๕๕๓ ที่วัดป่าอุทยานธรรมห้วยจันลา โดยนายชาติชาย แก้วศรี
เป็นหัวหน้าแนวความคิดร่วมกับชาวบ้านจันลา บ้านแข้ด่อน บ้านค้อ และ
หน่วยทหารในพื้นที่ จากนั้น ในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ชาวอำเภอน้ำยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนโรงเรียนบ้านจันลา
โรงเรียนบ้านแข้ด่อน โรงเรียนบ้านค้อ
โรงเรียนบ้านหนองขอน โรงเรียนโดมประดิษฐ์
หน่วยทหาร ร.๖ พัน ๒ ทุกภาคหน่วยราชการ องค์กรเอกชน
จึงร่วมปลูกป่าพะยูงและทำพิธีการบวชป่าพะยูงผืนสุดท้าย ไว้เพื่อให้เป็นมรดกไว้แก่ชาวอำเภอน้ำยืนจังหวัดอุบลราชธานี และ ประเทศไทย ต่อไป
พิธีกรรมการบวชป่า
เมื่อชาวบ้านช่วยกันเตรียมเครื่องเซ่นสังเวยเจ้าป่าเจ้าเขา
หมอเวทมนต์ / พระสงฆ์
ก็จะโยงด้ายสายสิญจน์ล้อมป่าเอาไว้แล้วกลับมายังสถานที่ประกอบพิธี อัญเชิญรุกเทวดา
เจ้าป่าเจ้าเขา ให้รับรู้ให้มาปกป้องรักษาต้นไม้
ดูแลต้นไม้ หากมีผู้ใดมาตัดไม้ ทำลายป่า ขอให้ผู้นั้นมีอันเป็นไปต่างๆ
จากนั้นก็บอกแม่ธรณีโดยหมากพลู เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็เป็นพิธีสงฆ์
เริ่มจากสมาทานศีลอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจิมต้นไม้
เสร็จแล้วพระสงฆ์จะห่มผ้าเหลืองให้ต้นไม้ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
จากนั้นประพรมน้ำพระพุทธมนต์ตามต้นไม้ที่บวชไว้ เป็นอันเสร็จพิธี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น