ขันหมากเบ็ง - เบญจ์
ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์
คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ
หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น
แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ)
ซึ่งนิยมในวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา
ขันหมากเบ็ง นิยมทำหลายรูปแบบ เช่น
ขันหมากเบ็งแบบเป็นกาบ โดยใช้สามเหลี่ยมคล้ายเจดีย์ เป็นขันหมากเบ็งแบบดั้งเดิม
หรือ แบบโบราณ ขันหมากเบ็งแบบนิ้ว โดยใช้นิ้วบายศรีทำเป็นแม่สี่มุม เป็นขันหมากเบ็งที่ผสมผสานและพัฒนามาจากรูปแบบของขันหมากเบ็งแบบดั้งเดิม
ขันหมากเบ็งประเภทนี้ส่วนใหญ่เรียกว่า ขันหมากเบ็งประยุกต์
จะมีการประดับตกแต่งด้วยลวดลายของศิลปะงานใบตองที่วิจิตรมากขึ้น
สำหรับเครื่องบูชา ๕ อย่าง ได้แก่ หมาก
พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ ๕ คู่
นิยมใช้เป็นเครื่องประกอบในการสักการบูชา หรือเครื่องพลีกรรม
ดอกไม้ ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น
ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่เหี่ยว(ดอกบายไม่รู้โรย)
เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) ดอกบัว (พระรัตนตรัย)
วิธีการใช้ขันหมากเบ็ง-เบญจ์
-ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
-ใช้เป็นเครื่องสักการะอยู่ในเครื่องพลีกรรม
ไหว้ครู
บอกผี (เซ่นสรวงดวงวิญญาณ)
-บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ โดยนำไปบูชาตาม
หลักเส (ธาตุ) ที่บรรจุอัฐิ (กระดูก)
-เป็นเครื่องให้พิจารณาเตือนคนได้ พิจารณา
เบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
นอกจากใช้ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยแล้ว ยังใช้ในการกราบไหว้
ผู้ ที่เคารพอย่างสูงอีกด้วย โดยมีเหตุผลว่า
-การกราบโดยทั่วไป เป็น “ นามธรรม ”
(เพราะเมื่อกราบเสร็จเหตุการณ์ก็ผ่านไป)
- การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง เป็น
“
รูปธรรม ” เพื่อให้การกราบคงอยู่ในรูปขันหมากเบ็ง
ดังนั้น การกราบบูชาด้วยขันหมากเบ็ง
จึงเสมือนการกราบด้วยเบ็ญจางคประดิษฐ์ เป็นเครื่องเบ็ญจขันธ์
ขันหมากเบ็งบูชาพระเจ้า ๕
พระองค์
ความหมายเชิงสัญลักษณ์ ของ ขันหมากเบ็งบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์
๑.
ดอกข่าพุดบาน หมายถึง ความเบิกบานสราญใจของผู้ทำ และ/หรือ
ผู้นำขันหมากเบ็งไปสักการบูชา
๒.
แม่บายศรี ๔ แม่ หมายถึง บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง ๔ ทิศ
๓.
นิ้วทั้ง ๕ หมายถึง พระเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ กกุสันโท โกนาคมโน
กัสสะโป พุทธโค ศรีอริยเมตไตรโย
๔.
ห่มนิ้ว ๓ ชั้น หมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๕.
ยอด ๙ แถว หมายถึง การนำไปสักการบูชาเพื่อความก้าวหน้าของตน
๖.
กรวย หมายถึง มัชฌิมาปฏิปทา
ทางสายกลางของการปฏิบัติของพระพุทธศาสนา
๗. มาลัย ๓ ชั้น หมายถึง
ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา
- ปริยัติ ปริ ( รอบ ) + ยตฺติ ( ศึกษา เล่าเรียน ระเบียบคำอันควรศึกษาโดยรอบ หมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระไตรปิฎก ( รวมทั้งอรรกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่างๆ เพื่อให้เข้าใจ
- ปริยัติ ปริ ( รอบ ) + ยตฺติ ( ศึกษา เล่าเรียน ระเบียบคำอันควรศึกษาโดยรอบ หมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระไตรปิฎก ( รวมทั้งอรรกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่างๆ เพื่อให้เข้าใจ
ในหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า )
เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
- ปฏิบัติ ปฏิ ( เฉพาะ ) + ปตฺติ ( การถึง )
- ปฏิบัติ ปฏิ ( เฉพาะ ) + ปตฺติ ( การถึง )
การถึงเฉพาะ
หมายถึง สัมมาปฏิบัติ คือการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติตน
ตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้
- ปฏิเวธ ปฏิ ( ตลอด ) + วิธ ( การแทง )
- ปฏิเวธ ปฏิ ( ตลอด ) + วิธ ( การแทง )
การแทงตลอด
หมายถึง การตรัสรู้ธรรม บรรลุมรรคผล นิพพาน ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาปริยัติและปฏิบัติที่ถูกต้อง
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล
ไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป
๘.
ดอกบัว หมายถึง
สัญลักษณ์แทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ความหมายเชิงนามธรรม ของ ขันหมากเบ็งบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์ หมายถึง การทำเครื่องสักการะ
(ขันหมากเบ็ง) เพื่อบูชา "พระพุทธเจ้า
๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้"
คำว่า "กัป"
หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักวาฬประลัย ครั้งหนึ่ง
คือกำหนดอายุของโลก ท่านให้เข้าใจด้วย
อุปามาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ (๔๐๐
เส้นหรือประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ทุก ๑๐๐ ปี
มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป
กัปหนึ่งยาวกว่านั้น
"กัป" ปัจจุบันนี้เรียกว่า
"ภัททกัป" หรือ "ภัทรกัป" แปลว่า กัปเจริญ
เพราะในภัททกัปจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นถึง ๕ พระองค์ คือ
๑. พระกกุสันธะ
๒. พระโกนาคมนะ
๓. พระกัสสปะ
๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
๕. พระศรีอริยเมตไตรย
๒. พระโกนาคมนะ
๓. พระกัสสปะ
๔. พระโคดม (คือพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)
๕. พระศรีอริยเมตไตรย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น