วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ไผ่


ไผ่ จักสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น






                ไผ่ เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศในเขตร้อนชื้น และมีอยู่มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ขนาดเล็กจิ๋วเท่าแท่งดินสอจนถึงใหญ่โตลำต้นสูงนับสิบเมตร
แต่เดิมในสังคมชนบท ผู้ชายต้องจักสานเป็นจึงจะเป็นคนที่สังคมยอมรับ ด้วยเหตุที่เครื่องมือเครื่องใช้ลักษณะนี้แสดงถึงความสามารถในการดูแลครอบครัวให้อยู่รอด ไม้ไผ่ประดิษฐ์เป็นสิ่งของได้หลายอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ในจดหมายเหตุลาบูแบร์ บันทึกไว้ว่า ภาชนะทำด้วยไม้อย่างเกลี้ยงๆหรือขัดมันทำจากกะลามะพร้าวหรือกระบอกไม้ไผ่...ครุของชาวสยามที่ใช้ตักน้ำก็ใช้ไม้ไผ่สานอย่างประณีต... ทั้งหมดนี้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ว่า วัฒนธรรมไผ่เคียงคู่สังคมไทยมาเนิ่นนาน
                ชิ้นงานอันหลากหลายที่ปรากฏล้วนบ่งบอกถึงภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ที่ดูคล้ายเป็นภูมิปัญญาอย่างง่ายๆ ทว่าแท้จริงมันมีพัฒนาการมาแล้วอย่างต่อเนื่องหลายชั่วโคตร กระทั่งได้รูปแบบที่ลงตัวสมบูรณ์ที่สุด แม้บางครั้งอาจลงตัวเฉพาะถิ่น เช่น คุ หรือ ครุ ภาชนะไม้ไผ่สานขนาดใหญ่ ที่คนทางภาคเหนือใช้ ตีข้าว แทนการนวดข้าวอย่างภาคกลาง เพราะภาคเหนือที่นาเป็นนาดอยปลูกข้าวตามไหล่เขา คุจึงสะท้อนถึงการใช้วัสดุที่หากได้ง่ายในท้องถิ่น และรูปแบบก็มีวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น

(ศิลปวัฒนธรรม กรกฎาคม ๒๕๔๐. กองบรรณาธิการ. วัฒนธรรมไผ่ในอุษาคเนย์ ฤาพรุ่งนี้เหลือเพียงตำนาน หน้า ๘๖-๘๗)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น