ปลาบึก
หลายครั้งหลายคราเมื่อมีการพูดถึงเรื่องราวของปลาบึกกับความห่วงใยต่ออนาคตของปลาบึก
หลายกลุ่ม หลายคน หลายความรู้สึกนึกคิดบอกว่า “ปลาบึกใกล้จะสูญพันธุ์”
ปลาบึก
เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบเฉพาะในลุ่มน้ำโขงเพียงแห่งเดียว
ลูกปลาวัยอ่อนมีฟันบนขากรรไกร
กินไรน้ำ ตัวอ่อนแมลง และกินปลาขนาดเล็ก เมื่อเจริญวัย ฟันจะหลุดหาย
กินพืชเป็นอาหาร ปลาบึกเจริญเติบโตเต็มที่มีน้ำหลัก 200 – 300 กิโลกรัม ปลาบึกชอบกินไก หรือสาหร่ายแม่น้ำโขง
เดือนกุมภาพันธ์ จะไปวางไข่เหนือน้ำในบริเวณที่เป็นร่องน้ำลึกมีเกาะแก่ง พอเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนหลาจะว่ายตามน้ำไปยังพื้นที่ตอนล่าง
โดยปกติปลาบึกจะอาศัยอยู่ในน้ำลึกบริเวณเกาะแก่งมากกว่า 10 เมตร
ภาพเขียนประวัติศาสตร์อายุกว่า
4,000 ปี ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม แสดงให้เห็นว่าปลาบึกมีประวัติยาวนาน
หมู่บ้านเวินบึก จ.อุบลฯ “เวิน” หรือ “วัง” แหล่งที่พบเห็นปลาบึก
บ้านอ่างปลาบึก จ.หนองคาย บ้านหาดไคร้ ที่เชียงของ
ถ้ำลึกใต้แม่น้ำโขงที่อยู่ระหว่างเมืองหลวงพระบาง-แขวงไชยบุรี
ประเทศลาว ทะเลสาบเขมร ประเทศเขมร ล้วนเป็นแหล่งที่เคยพบเห็นปลาบึก
สันนิษฐานว่า แหล่งกำเนิดของปลาบึกคือ “ทะเลสาบเขมร”
“แม่น้ำโขง”
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร
ในช่วงหน้าแล้ง แต่ในช่วงฤดูน้ำหลาก ปริมาณน้ำขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นถึง 10,000
ตารางกิโลเมตร
เชื่อว่า ปลาบึกเพศเมียจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์กับปลาบึกตัวผู้ในทะเลสาบต้าลี
แถบมลฑลยูนนาน ประเทศจีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น