ประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๐ ( ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ) ชนชาวกวย กูยได้อพยพมาจากเมืองอัตบือ แสนปางแห่งแคว้นจำปาศักดิ์ มาตั้งดินแดนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ ในสมัยก่อนดินแดนบริเวณนี้เป็นที่ปลอดจากการครอบครองของราชอาณาจักรใดๆ ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรสยาม อาณาจักรลาว หรืออาณาจักรกัมพูชา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชนกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งเป็นอิสระอู่อย่างมั่นคงโดยไม่ขึ้นตรงต่อเมืองใดๆ
รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ( พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ ) และในปี ๒๓๐๒ สมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกแตกโรงหนีมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตเมืองพิมายและเลยเข้ามาถึงถิ่นที่อยู่ของชาวกวย กูย เจ้าเมืองพิมายจึงพาคณะติดตามช้างเผือกมาพบกับหัวหน้ากลุ่มชาวกวย กูยที่บ้านกุดหวาย เชียงสี บ้านคูปะทาย เชียงปุม บ้านอัจจะปึง เชียงฆะ และบ้านลำดวนเชียงขัน
หัวหน้ากลุ่มชาวกวย กูยทั้ง ๔ คนเป็นญาติพี่น้องกัน แม้จะอยู่ห่างไกลกันแต่ก็ไปมาหาสู่กันเสมอ ( วัฒนธรรมอันนี้ ชาวกวย กูยถือปฏิบัติกันอย่างเหนียวแน่นมาก สมัยผู้รวบรวมเป็นเด็กยังเคยเห็นญาติผู้ใหญ่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อยามมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์หรือหน้าผลไม้ พวกญาติก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปเยี่ยมเยียนเป็นของฝาก และถามข่าวทุกข์สุขของกันและกัน เรารู้สึกดีเมื่อมีญาติจากที่อื่นมาเยี่ยมมาเยือน และได้มีโอกาสเลี้ยงข้าวปลาอาหาร แก่บรรดาญาติที่มาเยี่ยม แต่ปัจจุบันนี้ประเพณีวัฒนธรรมนี้ได้เลือนหายลงเหลือน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเป็นอยู่ก็ยากกว่าแต่ก่อนนี้ ต่างฝ่ายก็ต่างมีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อดำเนินชีวิตของตนเอง ถ้าหากเรามองในแง่นี้ก็จะเห็นได้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างเสื่อมหายไปชนชาวกูยที่เกิดมา ๑๕ ปีให้หลังคงไม่ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามและอบอุ่นแบบนี้เลย ) ชนชาวกวย กูยนอกจากจะมีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแล้ว ชาวกวย กูยยังมีความชำนาญในการเดินป่า ล่าสัตว์ เช่นการคล้องช้างป่า เมื่อหัวหน้าคณะกลุ่มชาวกวย กูยได้ช่วยคณะผู้ติดตามช้างจับพระยาช้างเผือกส่งคืนถวายสมเด็จพระสุริยามรินทร์ จึงมีความดีความชอบและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวง” คือให้ เชียงสี(บ้านกุดหวาย) เป็น “หลวงศรีนครเตา” เชียงปุม (บ้านคูปะทาย ) เป็น “หลวงสุริทรภักดี” เชียงฆะ ( บ้านอัจจะปึง ) เป็น “หลวงเพชร” เชียงขัน ( บ้านลำดวน ) เป็น “หลวงสุวรรณ” ผู้นำชาวกูยได้ทำราชการขึ้นอยู้กับเมืองพิมาย มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ นำช่าง , แก่นสน , ยางสน , ปีกนก , นอรมาด , งาช้าง , ขี้ผิ้ง สิ่งของดังกล่าวเรียกว่า “ส่วย” โดยำไปส่ง ณ กรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนจาก “หลวง” เป็น “พระ” พร้อมกับแรดให้ยกบ้านเป็นเมือง คือ
รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ( พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ ) และในปี ๒๓๐๒ สมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกแตกโรงหนีมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตเมืองพิมายและเลยเข้ามาถึงถิ่นที่อยู่ของชาวกวย กูย เจ้าเมืองพิมายจึงพาคณะติดตามช้างเผือกมาพบกับหัวหน้ากลุ่มชาวกวย กูยที่บ้านกุดหวาย เชียงสี บ้านคูปะทาย เชียงปุม บ้านอัจจะปึง เชียงฆะ และบ้านลำดวนเชียงขัน
หัวหน้ากลุ่มชาวกวย กูยทั้ง ๔ คนเป็นญาติพี่น้องกัน แม้จะอยู่ห่างไกลกันแต่ก็ไปมาหาสู่กันเสมอ ( วัฒนธรรมอันนี้ ชาวกวย กูยถือปฏิบัติกันอย่างเหนียวแน่นมาก สมัยผู้รวบรวมเป็นเด็กยังเคยเห็นญาติผู้ใหญ่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำทุกปี หรือเมื่อยามมีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์หรือหน้าผลไม้ พวกญาติก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปเยี่ยมเยียนเป็นของฝาก และถามข่าวทุกข์สุขของกันและกัน เรารู้สึกดีเมื่อมีญาติจากที่อื่นมาเยี่ยมมาเยือน และได้มีโอกาสเลี้ยงข้าวปลาอาหาร แก่บรรดาญาติที่มาเยี่ยม แต่ปัจจุบันนี้ประเพณีวัฒนธรรมนี้ได้เลือนหายลงเหลือน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเป็นอยู่ก็ยากกว่าแต่ก่อนนี้ ต่างฝ่ายก็ต่างมีหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อดำเนินชีวิตของตนเอง ถ้าหากเรามองในแง่นี้ก็จะเห็นได้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างเสื่อมหายไปชนชาวกูยที่เกิดมา ๑๕ ปีให้หลังคงไม่ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามและอบอุ่นแบบนี้เลย ) ชนชาวกวย กูยนอกจากจะมีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแล้ว ชาวกวย กูยยังมีความชำนาญในการเดินป่า ล่าสัตว์ เช่นการคล้องช้างป่า เมื่อหัวหน้าคณะกลุ่มชาวกวย กูยได้ช่วยคณะผู้ติดตามช้างจับพระยาช้างเผือกส่งคืนถวายสมเด็จพระสุริยามรินทร์ จึงมีความดีความชอบและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวง” คือให้ เชียงสี(บ้านกุดหวาย) เป็น “หลวงศรีนครเตา” เชียงปุม (บ้านคูปะทาย ) เป็น “หลวงสุริทรภักดี” เชียงฆะ ( บ้านอัจจะปึง ) เป็น “หลวงเพชร” เชียงขัน ( บ้านลำดวน ) เป็น “หลวงสุวรรณ” ผู้นำชาวกูยได้ทำราชการขึ้นอยู้กับเมืองพิมาย มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ นำช่าง , แก่นสน , ยางสน , ปีกนก , นอรมาด , งาช้าง , ขี้ผิ้ง สิ่งของดังกล่าวเรียกว่า “ส่วย” โดยำไปส่ง ณ กรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนจาก “หลวง” เป็น “พระ” พร้อมกับแรดให้ยกบ้านเป็นเมือง คือ
-บ้านคูปะทายเป็นเมืองสุรินทร์ ให้หลวงสุรินทรภักดี( เชียงปุม ) เป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
-บ้านกุดหวายเป็นเมืองรัตนบุรี ให้หลวงศรีนครเตา ( เชียงสี ) เป็น พระศรีนครเตา
-บ้านอัจจะปึงเป็นเมืองสังขะ ( หรือสังฆะ ) ให้หลวงเพชร ( เชียงฆะ ) เป็นพระสังฆะบุรีศรีนครวัด
-บ้านลำดวนป็นเมืองขุขันธ์ให้หลวงสุวรรณ ( เชียงขัน ) เป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน
เมืองทั้งสี่นี้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาเมืองพิมาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชนชาวกูยก็เป็นที่รู้จักกันดีในราชำนัก แต่ละเมืองได้มีการปกครองกันเองสืบมาตามลำดับ จนกระทั่งมีการปรับปรุงระบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเจ้าเมืองกูยได้มีโอกาสสนอง พระเดชพระคุรับใช้ชาติในราชการสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองทัพหลวงตลอดมา
แหล่งข้อมูล https://www.facebook.com/ChmrmChawKwykuyHruxSwyMiLumChatiphanthu/?hc_ref=ARShtJEROEiapLYo1BoqfMF20_ZKlJzErEWCqvf2l32SGwfUZigj2i5FGRuKmM8DOw8