บทที่4
การฝึกเป่าลายแคนพื้นบ้านอีสาน
ลายแคนพื้นบ้านอีสาน เป็นลายแคนที่มีทำนองยังคงเป็นแบบดั้งเดิมที่หมอแคนในอดีตได้จดจำและเป่าสืบทอดกันมา ได้แก่ลายแคนทางสั้นและลายแคนทางยาว ซึ่งแต่ละลายก็จะแบ่งออกเป็นลายย่อยๆ อีกมากมาย สำหรับการฝึกเป่าลายแคนในบทนี้ผู้ฝึกเป่าควรผ่านการฝึกในขั้นพื้นฐานมาก่อน เช่น เป่าไล่ระดับเสียง ฝึกการใช้ลมในการเป่าแคน และเป่าขึ้นส้อยแคน เมื่อม่พื้นฐานดีแล้วจึงเริ่มฝึกเป่าลายแคนที่ยากขึ้น โดยเฉพาะการเป่าลายแคนพื้นบ้านอีสานท่านผู้รู้ ผู้เป็นบูรพาจารย์ด้านการเป่าแคนทั้งหลายได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “การฝึกเป่าแคนถ้าจะฝึกเป่าให้ได้ดี มีเสียงและทำนองแคนที่ไพเราะนั้นจะต้องฝึกลายที่เป็นแม่บทก่อน เมื่อได้ลายแคนที่เป็นแม่บทแล้วจะไปฝึกลายอื่นๆก็จะง่าย” ผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้อคิดนี้แล้วเห็นว่าเป็นการนำไปสู่การฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง สังเกตจากการฝึกเป่าแคนของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ที่ได้รับการส่งเสริมในสถาบันการศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาส่วนมากไม่คำนึงถึงลายหลักหรือลายแม่บท ส่วนใหญ่จะฝึกเป่าลายที่บรรยายภาพพจน์โดยใช้ทำนองแคนลายใหญ่หรือบางทีก็ใช้ทำนองแคนลายน้อยอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงเป็นการฝึกใช้นิ้วมือที่ไม่ครบทุกเสียง ทำให้เกิดปัญหาคือถ้าผู้เป่าเคยชินกับการเป่าลายน้อยก็จะไม่ถนัดในการเป่าลายใหญ่หรือคนที่เคยชินกับการเป่าลายใหญ่ ก็จะไม่ถนัดในการเป่าลายน้อย ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้นเพื่อให้ผู้ฝึกเป่ามีทักษะที่ดีในการเป่าแคน ผู้เขียนจึงนำเสนอการฝึกเป่าแคนที่ถือว่าเป็นลายแม่บทก่อนเป็นอันดับแรก ตามแนวทางที่บรมครูทั้งหลายได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา นั่นคือ ลายสุดสะแนน ซึ่งเป็นการเป่าแคนที่มีความหลากหลายที่ในเรื่องจังหวะ ทำนอง การใช้ลม และการใช้นิ้วมือที่ครบทุกระดับเสียง (ทุกคู่เสียง)
การฝึกเป่าลายสุดสะแนน
ลายสุดสะแนน คำว่า “สะแนน” คงเพี้ยนมาจากคำว่า “สายแนน” เป็นภาษาพูดพื้นเมืองของคนอีสาน ซึ่งหมายถึง การมีเยื่อใยหรือความผูกพันที่มีต่อกันมาแล้วในอดีตชาติ เป็นลายทางสั้น และถือว่าเป็นลายแม่บทหรือลายครู เป็นลายแคนที่มีความไพเราะเป็นพิเศษ มีจังหวะกระชับ ลีลาและท่วงทำนองตื่นต้นเร้าใจตลอดเวลา หมอแคนที่มีฝีมือดีเยิ่ยมทั้งหลายในอดีตจะต้องฝึกเป่าลายสุดสะแนนให้ได้ก่อน ก่อนที่จะก้าวไปสู่การเป่าลายอื่นๆ ดังนั้นคำว่า “สุดสะแนน” ในเรื่องของลายแคนนี้น่าจะหมายถึงความไพเราะที่คนในอดีตได้ฟังแล้วมักจะคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน คิดถึงบิดามารดา ญาติพี่น้องและ เพื่อนฝูง ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน จนเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า “ออนซอน” ขึ้นมาอย่างที่สุด นั่นก็คือทำให้เขาหวนคิดกลับไปนึกถึงคำว่า “สายแนน” นั่นเอง ดังลายแคนที่ชื่อ“ลายสุดสะแนน” ที่จะนำเสนอสู่การฝึกดังต่อไปนี้
การติดสูดลายสุดสะแนน การติดสูด หมายถึงการทำให้เสียงเสิร์ฟประสานหลักของแต่ละลายดังอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดหายในช่วงขณะที่เป่ทำให้ เสียงแคนไพเราะกลมกลืนกันสำหรับลายสุดสะแนนจะติดสูดที่ลูกที่ 6 และลูกที่ 8 แพซ้าย โดยมีหลักเกณฑ์ว่าเสียงซอล(ลูกที่ 6 แพซ้าย)ซึ่งเป็นเสียงทุ้มต่ำสุดของทำนองและเป็นเสียงหลัก ส่วนลูกที่ 8 แพซ้ายซึ่งเป็นเสียงซอลสูงจะใช้เป็นเสียงติดสูดร่วมเพื่อให้เสียงประสานยืนมีความกลมกลืนกัน ดังแผนภูมิ
การติดสูดลายสุดสะแนน การติดสูด หมายถึงการทำให้เสียงเสิร์ฟประสานหลักของแต่ละลายดังอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดหายในช่วงขณะที่เป่ทำให้ เสียงแคนไพเราะกลมกลืนกันสำหรับลายสุดสะแนนจะติดสูดที่ลูกที่ 6 และลูกที่ 8 แพซ้าย โดยมีหลักเกณฑ์ว่าเสียงซอล(ลูกที่ 6 แพซ้าย)ซึ่งเป็นเสียงทุ้มต่ำสุดของทำนองและเป็นเสียงหลัก ส่วนลูกที่ 8 แพซ้ายซึ่งเป็นเสียงซอลสูงจะใช้เป็นเสียงติดสูดร่วมเพื่อให้เสียงประสานยืนมีความกลมกลืนกัน ดังแผนภูมิ
แผนภูมิการติดสูดลายสุดสะแนน
ตัวอย่างโน้ตแคน “ลายสุดสะแนน”
สำหรับการเขียนโน้ตแคนในบทนี้อาจไม่สมบูรณ์ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนโน้ตไทย เนื่องจากในการเป่าจริงบางห้องเพลงจะมีการเอื้อนเสียงทำให้เกิดเสียงหนักเสียงเบา คล้ายๆกับคำควบกล้ำในภาษาไทย บางเสียงต้องสะบัดนิ้วให้เร็ว ดังนี้เป็นต้น จึงทำให้ต้องเขียนวงกลมไว้เพื่อเป็นข้อสังเกต ฝู้ฝึกเป่าต้องสังเกตฟังเสียงให้ดี ลายสุดสะแนนทำนองนี้ผู้เขียนได้บันทึกโน้ต(แบบไม่เป็นทางการ) ตามทำนองที่ได้เรียนมาจากครูแคนที่ชื่อ ครูทองคำ ไทยกล้า เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ซึ่งหมอแคนแต่ละคนจะมีการแตกลายให้มีทำนองแตกต่างกันไปบ้างเพื่อความเป็นเอกลักษ์ของตนเอง ลายสุดสะแนน ที่นำมาเสนอครั้งนี้จึงเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น