วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้าวต้มมัด

ประเพณีของไทยหลาย ๆ อย่าง มักจะมีเรื่องราวของอาหารเข้าไป ข้องเกี่ยวอยู่ด้วยเสมอ เพราะคนไทยโบราณจะชอบทำอาหาร หรือขนมไทยชนิดต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ จนทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ขาดกันไปไม่ได้แล้ว และก็สืบทอดมาจนถึงัจจุบัน เช่นเดียวกับ ข้าวต้มมัดกับวันเข้าพรรษา ที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ด้วย

          เกิดเป็นคนไทยจะมีใครที่ไม่รู้จักข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด บ้างไหมเนี่ย ไม่ว่าจะไปอยู่มุมไหนของประเทศไทยก็มีขาย หาซื้อกินได้ง่ายเหลือเกิน โดยเฉพาะในช่วงวันเข้าพรรษา เราจะได้เห็นข้าวต้มมัดวางขายกันให้เกลื่อนเลยล่ะ เพราะคนไทยยกให้ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด เป็นขนมประจำวันเข้าพรรษานั่นเอง

 เพราะอะไร ข้าวต้มมัดถึงเป็นขนมประจำวันเข้าพรรษา

          ในสมัยก่อน คนโบราณยกให้ข้าวต้มมัดเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของคนมีคู่ เพราะมีลักษณะการจับขนม 2 ชิ้น มามัดเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง และมีความเชื่อว่า ถ้าหนุ่มสาวคู่ไหนทำบุญวันเข้าพรรษาด้วยข้าวต้มมัด ความรักมักจะดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ผูกกันติดหนึบนั่นเอง คนโบราณผู้มีคู่ก็เลยนิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระในวันเข้าพรรษานั่นเอง โอ้โห ! 

 ตำนานข้าวต้มมัด ขนมแห่งความรักของพระอินทร์

          อีกหนึ่งตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์กับนางสนมกินด้วยกันเมื่อตอนมีความรักให้กัน แต่ต่อมาพระอินทร์เกิดจับได้ว่าานางสนมมีชู้ จึงโกรธและดลบันดาลให้ลูกของนางสนมที่เกิดกับชู้ คลอดออกมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อถึงเวลาที่นางสนมคลอดบุตรอกมา ก็กลายเป็นข้าวต้มมัดจริง ๆ นางสนมก็เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ลูกแท้ ๆ ของตัวเอง เลยนำลงมาทิ้งไว้ที่ป่าในโลกมนุษย์ ตา-ยายคู่หนึ่งเดินเข้ามาในป่าก็มาเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ ลองแกะกินดูแล้วว่าอร่อย ก็เลยลองทำตามดู แล้วก็นำมาขายจนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้นี่เอง 

          พอได้รู้ถึงเรื่องราวของข้าวต้มมัดกับวันเข้าพรรษไปแล้ว เราก็มาทำความรู้จักขนมชนิดนี้กันให้ลึกกว่าที่เคยรู้กันหน่อยดีกว่า

          ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด เป็นการนำข้าวเหนียวไปผัด หรือกวนกับน้ำกะทิ จากนั้นก็ห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน สอดไส้กล้วยลงไปด้วย แล้วนำไปนึ่งให้สุก ข้าวต้มมัดมีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น

           "ข้าวต้มมัดไต้" หรือ ขนมมัดไต้ ข้าวต้มมัดใต้ ฯลฯ เป็นชื่อเรียกข้าวต้มมัดของคนภาคใต้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นก็คือ การนำข้าวเหนียวไปห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ มัดเป็นปล้อง ๆ 4-5 ปล้อง ซึ่งมีขนาดยาวกว่าข้าวต้มมัดทั่วไป ไม่มีไส้ มีรสชาติเค็มที่ทำมาจากส่วน ผสมถั่วทองโขลกกับเครื่อง เช่น รากผักชี กระเทียม และพริกไทย แถมยังใส่หมูและมันหมูลงไปด้วย และยังแยกออกไปอีกด้วยว่า ถ้าห่อด้วยใบกะพ้อ เรียก "ห่อต้ม" แต่ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าวและมัดด้วยเชือกเรียกว่า "ห่อมัด"

           "ข้าวต้มกล้วย" เป็นชื่อเรียกข้าวต้มมัดของคนภาคอีสาน มี 2 แบบด้วยกันคือ ใช้ข้าวเหนียวดิบปรุงรสด้วยเกลือ ใส่ถั่วลิสงต้มสุก เคล้าให้เข้ากัน นำไปห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย แล้วเอาไปต้มให้สุก ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิ นำไปห่อใส่ไส้กล้วยแล้วต้มให้สุก จะไม่ใส่น้ำตาลลงไปในส่วนผสม แต่จะใช้วิธีนำมาจิ้มกินกับน้ำตาลแทน 

           "ข้าวต้มหัวหงอก" หรือข้าวต้มมัดของคนภาคเหนือ จะนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด แล้วโรยน้ำตาลทราย

           "ข้าวต้มญวน" มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ห่อให้ใหญ่กว่า นำไปต้ม เวลากินให้หั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย

          นอกจากนั้นเราอาจจะพบเห็นขนมที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย ๆ ข้าวต้มมัดแบบนี้ได้ที่ต่างประเทศอีกด้วย อย่างในประเทศฟิลิปปินส์ เรียกขนมชนิดนี้ว่า "อีบอส" หรือ "ซูมัน" ซึ่งจะเรียกต่างกันไปตามส่วนผสมที่นำมาทำ ส่วนในประเทศลาว ก็มีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันกับเรา แต่เรียกว่า "เข้าต้ม" มีทั้งแบบไส้เค็มที่ใส่มันหมูกับถั่วเขียว และแบบไส้หวานที่ใส่ไส้กล้วยเหมือนข้าวต้มมัดทั่วไปนั่นเอง

 ข้าวต้มมัดทำไมต้องไส้กล้วยน้ำว้า

             กล้วยบนโลกนี้มีมากมายหลายชนิด แต่มีใครเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมข้าวต้มมัดถึงใช้เฉพาะกล้วยน้ำว้า นั่นก็เพราะว่า คนโบราณใช้ภูมิปัญญาอันหลักแหลม ในการทดลอง ใช้กล้วยอยู่หลายชนิด แต่ผลปรากฎออกมาว่า ต้องกล้วยน้ำว้าเท่านั้น เพราะเป็นกล้วยที่สุกยาก เมื่อนำมานึ่งกับข้าวเหนียวแล้วจะสุกพร้อมกันนั่นเอง แหม่ ไม่ธรรมดาจริง ๆ 

             แต่ไม่ใช่แค่วันเข้าพรรษาอย่างเดียวนะคะ ข้าวต้มมัดก็ยังสามารถนำมาทำบุญในวันออกพรรษาก็ได้เช่นเดียวกัน หรือที่เรียกว่า "ข้าวต้มลูกโยน" ที่เรามักจะได้ยินเมื่อถึงวันออกพรรษา มีชื่อเรียกหลายอย่างไม่แพ้ข้าวต้มมัดเลย ทั้งข้าวต้มโยน ข้าวต้มหาง ข้าวต้มลูกโยนซึ่งเป็นอีกหนึ่งผล ผลิตจากข้าวต้มมัด มาจากข้าวเหนียวที่เหลือ ๆ ตอนทำข้าวต้มมัด แต่ไม่มีไส้ มีแต่ข้าวเหนียวอย่างเดียว หรืออาจจะเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำ แล้วนำไปห่อให้เป็นทรงรีด้วยใบ กะพ้อ หรือใบมะพร้าวให้สวยงาม แต่ไฮไลท์อยู่ที่หางยาว ๆ ที่ใช้ตอกหรือไม้ไผ่เหลาบาง ๆ มัดให้เป็นหาง ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวง ๆ แล้วนำไปนึ่ง หรือต้มจนสุกนั่นเอง


https://cooking.kapook.com/view92386.html

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจะบอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่า ข้าวต้มมัด” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย
    “ข้าวต้มมัด มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น ทางภาคเหนือจะเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มผัด ทางภาคกลางเรียกว่า ข้าวต้มมัด เรียกตามรูปลักษณ์ที่มีห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางภาคใต้โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า เหนียวห่อกล้วย เพราะลักษณะที่เห็น ประกอบกับวิธีการทำที่เป็นการนำข้าวเหนียวมาห่อกล้วยเอาไว้และห่อปิดด้วยใบตองอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ บางท้องถิ่นจะห่อข้าวต้มมัดเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกระพ้อแต่ไม่มัด หรือห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว ซึ่งจะเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน
    ในประเพณีไทยนั้น ข้าวต้มมัดจัดเป็นขนมยอดนิยมที่มักทำไว้กินเป็นของว่างหรือเอาไปร่วมงานบุญ บ้างก็ทำไส้ถั่วดำ บ้างก็ทำไส้กล้วย บ้างก็ไม่มีไส้ ซึ่งจะเรียกว่า ข้าวต้มน้ำวุ้น
    นอกจากนี้เรามักจัดข้าวต้มมัดไปถวายพระในงานบุญวันออกพรรษา หรืองานตักบาตร เทโว เหตุที่คนไทยนิยมนำข้าวต้มมัดไปถวายพระนั้น มีเรื่องเล่ากันว่า เกิดจากชาวเมืองในสมัยพระพุทธกาลที่ไปคอยรับเสด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านำไปทำบุญตักบาตรเพราะเห็นว่าเป็นของสะดวกและรับประทานง่าย บ้างก็ว่าการนำข้าวต้มมัดมาใส่บาตรทำบุญจนเกิดขึ้นเป็นธรรมเนียมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นเสบียงในการเดินทางไปเผยแผ่พระธรรมคำสอน ส่วนคนไทยที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยนไปใส่บาตรนั้น เล่ากันว่าเกิดจากชาวบ้านในสมัยพระพุทธกาลที่ไปเบียดเสียดต้องการจะตักบาตรองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เข้าไปไม่ถึงพระองค์จึงต้องใช้วิธีโยนข้าวต้มมัดนี้แทน 
    การทำข้าวต้มมัดนั้น ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด เพียงแต่รู้เคล็ดลับในการทำเท่านั้น เริ่มตั้งแต่การเลือกใบตอง ใบตองที่ห่อข้าวต้มมัด จะต้องเป็นใบอ่อนๆและช่วงใบสั้นๆ ใบตองที่ตัดมาจากต้นยังไม่สามารถนำมาห่อได้ ต้องทิ้งค้างคืนไว้ ๑ คืน เพื่อให้ใบตองนิ่ม เพื่อที่เมื่อนำมาห่อแล้วใบตองจะได้ไม่แตก ส่วนการวางใบตองสำหรับห่อนั้นให้วางตามขวาง โดยฉีกใบตองกว้าง ๗-๘ นิ้ว นำมาวางซ้อนกันโดยสลับหัวท้าย และที่สำคัญต้องทำความสะอาดใบตองให้สะอาด
    ส่วนกล้วยที่นำมาทำข้าวต้มมัดนั้น ควรเป็นกล้วยสวนที่งอมจัด เพื่อให้เวลานึ่งหรือต้มแล้วไส้ของข้าวต้มมัดจะได้สีแดงสวย นอกจากนี้ ยังสามารถใส่ไส้อื่นได้อีกด้วย เช่น ไส้เผือก หรือไส้ถั่ว เพียงเท่านี้เราก็จะได้ข้าวต้มมัดที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ไว้รับประทานแทนขนมกรุบกรอบที่ไร้ประโยชน์ ที่สำคัญยังเป็นการสร้างกิจกรรมในครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย

    ข้าวต้มมัด ไม่ใช่เพียงขนมที่ใช้รับประทานเท่านั้น หากแต่ข้าวต้มมัดยังแฝงไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้ด้วยอย่างเต็มเปี่ยม คงจะเป็นการดีไม่น้อย หากทุกคนในสังคมช่วยกันอนุรักษ์ และให้ความสำคัญกับขนมไทย สมกับที่บรรพบุรุษของเราได้คิดค้น และพยายามทำขึ้นมา เพื่อให้ขนมไทย อยู่คู่คนไทยและประเทศไทย ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา

https://sites.google.com/site/thonah086/subtopic1

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผ้าลายลำน้ำยืน เอกลักษณ์ผ้าประจำอำเภอน้ำยืน

ผ้าไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น บรรพบุรุษสร้างสรรค์เป็นลายเส้น ถักทอ ถ่ายทอด แสดงเอกลักษณ์ ความดีงาม คุณค่า และด้วยลายพระเนตรอันยาวไกล ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผ้าไทย ได้รับการยอมรับยกย่องสู่สายตาแก่สังคมประชาคมโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ สมควรอย่างยิ่งที่คนไทยต้องรักษาพัฒนาผ้าไทย ให้อยู่กับคนไทย ตลอดไป
อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะทำงานจัดทำหนังสือเรื่องประวัติอำเภอน้ำยืน และ หนังสือเรื่องรวมใจร้อยเรียงเรื่องเมืองน้ำยืน ได้ร่วมพิจารณา ศึกษาประวัติความเป็นมา ลายผ้าในอดีต ที่ทรงคุณค่ามาปรับปรุง ออกแบบ สร้างสรรค์ลายผ้าเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอน้ำยืน ซึ่งได้คัดเลือกให้ใช้ชื่อว่า “ผ้าลายลำน้ำยืน” เป็นลายผ้า ที่นำเอาเอกลักษณ์จากการทอผ้าของชาวอำเภอน้ำยืน มาประดิษฐ์เป็นลวดลายใหม่ ดังนี้ ขิด จากลักษณะเด่นของการทอผ้าของชนชาวไทอีสาน มับไม จากลักษณะเด่นของการทอผ้าของชาวกวย/กูย มัดหมี่ จากลักษณะเด่นของการทอผ้าของชนชาวกัมพูชา และ ลายลูกแก้วลำแพนกลุ่มใหญ่ ที่คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นโดยการพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมเครื่องจักสานลายลูกแก้ว หรือลายดอกแก้ว ทั้งนี้
ผ้าลายลำน้ำยืน มีความหมายดังต่อไปนี้

๑. ขิดลายสามเหลี่ยม หมายถึง ดินแดนสามเหลี่ยมมรกต
๒. มับไ.ม หมายถึง ความรู้รักสามัคคี กลมเกลียวเป็นหนึ่งอันเดียวกันของชาวอำเภอน้ำยืน
๓. หมี่คองเอี้ย (เอื้อ) หมายถึง สายน้ำที่เอื้ออำนวย อิ่มเอิบ ซึมซาบ ที่จะยังคงมีอยู่อย่างยั่งยืน
๔. หมี่โคมเก้า (ลายลูกแก้วลำแพนกลุ่มใหญ่) หมายถึง ความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง

กลอนโฉลกผ้าลายลำน้ำยืน (ประพันธ์โดย นายฉัตรชัย ปกครอง ผู้คิดค้นผ้าลายลำน้ำยืน)

หมี่โคมเก้าหรือลูกแก้วเรียงราย    
สายนทียาวไหลเปรียบใส่เป็นคองเอี้ย
มีขีดคั่นเป็นมับไมเข็นกล่อม         
ขิดใส่พร้อมปานกุ้งเดินขบวน 
เรียงลายแล้วเป็นดั่งองค์นารายณ์  
สถิตชลโดมไหลแม่นทีวังกว้าง
เป็นผืนผ้าสามเผ่าชนได้สร้างฮ่วม 
รวมแล้วเอิ้นลายผ้า ลำน้ำยืน

ประกาศ ผ้าลายลำน้ำยืน 
ผ้าเอกลักษณ์อำเภอน้ำยืน
  
 ความเป็นมาของผ้าลายลำน้ำยืน

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ น้อมถวาย
กระด้งลายลูกแก้วลำแพนกลุ่มใหญ่ 
เป็นปฐมบทของที่มาของผ้าลายลำน้ำยืน
                
 "ลายลำน้ำยืน"


 "ลายลำน้ำยืน"


 "ลายลำน้ำยืน"
 กระด้งลายลูกแก้วลำแพนกลุ่มใหญ่
นายลำแพน ภาโว (ผู้คิดค้นลาย) 
"ลายลำน้ำยืน"
อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า ผ้าลายลำน้ำยืน เป็นลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
จึงเชิญชวน ข้าราชการ องค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน และพี่น้องประชาชนชาวอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมกันภาคภูมิใจในผ้าพื้นเมือง ผ้าลายลำน้ำยืน เพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ แสดงความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

รำบายศรีสู่ขวัญ

รำบายศรีสู่ขวัญเป็นการแสดงประกอบพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ ที่ชาวบ้านทางภาคอีสานนับถือเป็นประเพณีมานาน  ใช้แสดงต้อนรับหรือเลี้ยงส่ง ตลอดจนในพิธีแต่งงาน ซึ่งคำว่าบา หมายถึง ผู้ชาย และศรี หมายถึง ผู้หญิง มากระทำพิธีร่วมกันตามประเพณีกินดองผูกข้อต่อแขนกันก็ได้  มีการทำพานบายศรีเป็นพานชั้นเดียวธรรมดาเรียกว่าบายศรีปากชาม เช่น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น โดยเฉพาะ ๙ ชั้นเป็นบายศรีสำหรับสู่พระขวัญของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี โดยมีความเชื่อว่า คี่อยู่ คู่หนี เพื่อขวัญของคนที่ถูกกระทำพิธี จะมีขวัญที่อยู่กับเนื้อกับตัว บางที่ใช้บายศรีผูกเสี่ยวก็ได้ โดยมีฝ้ายผูกแขนมาผูกที่ข้อมือ  พร้อมด้วยเครื่องบริวารพานบายศรี จะมีข้าวตอกดอกไม้ข้าวสาร กล้วย ขนม ข้าวต้ม ถ้วยฟู ที่ขาดไม่ได้คือไข่ขวัญ โดยนำไข่ต้มมาเสียบไว้บนยอดของบายศรี  
 
        ทางอุบลราชธานีได้ดัดแปลงมาใส่ทำนองเต้ย  โดยกล่าวถึงการเชิญขวัญมาสู่กาย  ท่ารำมักจะตีบทไปตามคำร้องก็มี รำตามทำนองของเพลงก็มี ภาควิชานาฏศิลป วิทยาลัยครูอุบลราชธานี จะเรียกว่ารำบายศรีกลองตุ้ม วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดก็จะมีเนื้อร้องต่างกันไป วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธิ์ ก็มีเนื้อร้องอีกแบบหนึ่ง แต่ก็มีจุดมุ่งหมายและความหมายเดียวกัน คือเป็นพิธีกรรมเพื่อความเป็นศิริมงคลนั่นเอง
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/124716

แกลมอ


พิธีกรรมแกลมอ

เป็นประเพณีของชาวบ้านตรึม เรียกตามภาษาถิ่นว่า แกลมอ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าพิธีกรรมเหล่านี้มีมานานแล้ว พวกชาวไทยกูยรับถ่ายทอดต่อเนื่องกันมาอีกทอดหนึ่ง และปฏิบัติมาโดยตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ 





ฟ้อนแคน



#
วิถีชีวิตชาวอีสาน
 เมื่อเสร็จจากภาระกิจประจำวันแต่ละวัน ชาวบ้านมักจะนำแคนมาเป่าเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ตัวเองก็ผ่อนคลาย คนอื่นบ้านใกล้เรือนเคียง ได้ฟังก็ผ่อนคลายอารมณ์เช่นกัน#
ได้ยินเสียงแคนอ้าย
 คืนเดือนหงายคึดฮอดพี่ เสียงลมพัดวี่วี่ ผัดแฮงคึดฮอดอ้าย โอยหลายมื้อ แต่คิดนำ จักแม่นกรรมหยังน้อ จั่งหมองใจได้ไห้จ่ม พี่เอ๋ย...พี่ บ่สมความมาดแม้นแลงเซ้าดูเปล่าดาย ซ่างบ่กลายมาบ้าน ให้นงคราญได้เหลียวเบิ่ง มาให้ใจอีน้อง ได้มองอ้ายให้ชื่นใจ…นั่นละหนา

https://www.facebook.com/profile.php?id=100009435060200

เรือมอัปสราสราญ

เรือมอัปสราสราญ เป็นชุดการแสดงที่แสดงให้เห็นถึง ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมเขมร บนแผ่นดินอีสานใต้ ซึ่งเป็นการร่ายรำตามลักษณะของนางอัปสรนางอัปสราที่ปรากฏอยู่ตามปราสาทขอมต่างๆในประเทศไทย


https://www.facebook.com/profile.php?id=100009435060200

เพลงอัปสรสราญ (บางท่านอาจเรียกว่า อัปสรา) เป็นเพลงประกอบการแสดง เปรียบกับนางฟ้าออกมาร่ายรำ นาฏลีลาอ่อนช้อยงดงาม ตามแบบฉบับของนาฏศิลป์แบบเขมร ท่ารำอาจจะคล้าย ๆ กับรำลพบุรี เพราะได้รับอิทธิพลเดียวกัน