วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

รำบายศรีสู่ขวัญ

รำบายศรีสู่ขวัญเป็นการแสดงประกอบพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ ที่ชาวบ้านทางภาคอีสานนับถือเป็นประเพณีมานาน  ใช้แสดงต้อนรับหรือเลี้ยงส่ง ตลอดจนในพิธีแต่งงาน ซึ่งคำว่าบา หมายถึง ผู้ชาย และศรี หมายถึง ผู้หญิง มากระทำพิธีร่วมกันตามประเพณีกินดองผูกข้อต่อแขนกันก็ได้  มีการทำพานบายศรีเป็นพานชั้นเดียวธรรมดาเรียกว่าบายศรีปากชาม เช่น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น โดยเฉพาะ ๙ ชั้นเป็นบายศรีสำหรับสู่พระขวัญของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี โดยมีความเชื่อว่า คี่อยู่ คู่หนี เพื่อขวัญของคนที่ถูกกระทำพิธี จะมีขวัญที่อยู่กับเนื้อกับตัว บางที่ใช้บายศรีผูกเสี่ยวก็ได้ โดยมีฝ้ายผูกแขนมาผูกที่ข้อมือ  พร้อมด้วยเครื่องบริวารพานบายศรี จะมีข้าวตอกดอกไม้ข้าวสาร กล้วย ขนม ข้าวต้ม ถ้วยฟู ที่ขาดไม่ได้คือไข่ขวัญ โดยนำไข่ต้มมาเสียบไว้บนยอดของบายศรี  
 
        ทางอุบลราชธานีได้ดัดแปลงมาใส่ทำนองเต้ย  โดยกล่าวถึงการเชิญขวัญมาสู่กาย  ท่ารำมักจะตีบทไปตามคำร้องก็มี รำตามทำนองของเพลงก็มี ภาควิชานาฏศิลป วิทยาลัยครูอุบลราชธานี จะเรียกว่ารำบายศรีกลองตุ้ม วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดก็จะมีเนื้อร้องต่างกันไป วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธิ์ ก็มีเนื้อร้องอีกแบบหนึ่ง แต่ก็มีจุดมุ่งหมายและความหมายเดียวกัน คือเป็นพิธีกรรมเพื่อความเป็นศิริมงคลนั่นเอง
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/124716

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น