...นอกจากเรียกว่า “สำเร็จ” ตำแหน่ง “สำเร็จ” หรือ “ญาสำเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “หดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สำเร็จ” ส่วนสำเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “หดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน...
...
ประวัติหลวงปู่สำเร็จลุน (ลุน) (ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ – ๒๔๖๓)
ชาติภูมิ
สำเร็จลุน นามเดิม ลุน เกิดวัน เดือน ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ถ้าเทียบเคียงกับประวัติหลวงปู่ โทนกนฺตสีโล พอเชื่อได้ว่าคงอยู่ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ ที่บ้านจิก ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้าง ภายหลังได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านทรายมูล ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาบิดา มารดาได้อพยพครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี นามบิดา มารดาและมีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏหลักฐานในประวัติเช่นกัน (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๒๙๑ -๒๙๒)
การศึกษา
บรรพชาและอุปสมบท สำเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สำเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน
ส่วนการบรรพชาอุปสมบทจากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นำหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย
การศึกษา
บรรพชาและอุปสมบท สำเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สำเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน
ส่วนการบรรพชาอุปสมบทจากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นำหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย
พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายาตำราเวทมนต์คาถาอาคมมีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสาคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกันโดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่ลุนกลับมาพร้อมชื่อเสียงหลายด้าน ทั้งการปฏิบัติธรรม คาถาอาคม เวทมนต์ ตำรายาและอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ มีคนเคารพนับถือจำนวนมากขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือกันมากในขณะนั้น ปฏิปทาบางอย่างที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงหลวงปู่ลุน ส่วนหนึ่งว่า
“มีฝรั่งมาทดสอบท่านโดยมาท้าบุญแล้วเอาสุราใส่กาน้้าถวายให้พระเณรฉัน พระเณรก็ฉันกันหมด ฝรั่งเห็นก็ว่า พระทำไมดื่มสุรา ศาสนาพุทธพระท้ำไมจึงดื่มสุรา ฝรั่งพูดหาเรื่อง หลวงปู่ลุนจึงกล่าวว่า นี่แหละความอยากของคน เขาเอาอะไรมาให้ ก็กิน ให้กินอะไรก็กิน ให้ฉันอะไรก็ฉัน ท้าให้เขามาดูถูกได้ แล้วหันไปพูดกับฝรั่งว่าเจ้าดูถูกศาสนาพุทธุเจ้าเป็นคนไม่ดีฝรั่งก็เลยหนีไปลงเรือกำปั่นติดเครื่องยนต์เครื่องติดปุด...ปุด...ปุดแต่เรือไม่เดินไปไหนเป็นเวลา๓วันฝรั่งเลยกลับมาหาหลวงปู่ลุนพร้อมกับเอาน้ามันก๊าดมาถวายใหู๒๐ปี๊ปและเทียนไขอีก๒๐ปี๊ปและขอขมาโทษหลวงปู่ลุนจึงพูดว่า
มึงไม่รู้จักกูแล้วเอาเท้าแตะน้้า ๒ ครั้ง เรือกำปั่นจึงออกเดินไปได้...”
เรื่องอาหารการกิน หลวงปู่ลุนก็ไม่ฉันอะไรมาก แต่ชอบฉันมะพร้าวขูดคลุกน้ำตาล เขาถวายมาเท่าไรก็ฉันหมดและชอบทานอะไรแปลก ๆ เป็นคนดื้อแต่ถือดี ชอบลองของ (ขลัง) บางครั้งไม่ฉันข้าวเป็นเดือนก็อยู่ได้ นั่งอาบน้าถังเดียวตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน ๒ ทุ่มก็ยังไม่เสร็จ ขณะอาบน้ำเอามือจุ่มน้ำพร้อมสาธยายมนต์ไปด้วย ผู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็น “พระบ้า” ก็มี
หลวงปู่โทนบอกว่ารไม่เคยไปร่วมปฏิบัติกับหลวงปู่ลุนเพราะเป็นพระผู้น้อยต้องยำเกรงพระผู้ใหญ่ ถ้าหลวงปู่ลุนสอนอะไรก็ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามเสมอ จนเป็นที่รักใคร่ชอบพอของหลวงปู่ลุนมาก อาจเป็นสาเหตุสาคัญถึงกับมองไม้เท้า (ศักดิ์สิทธิ์) ให้ก่อนที่หลวงปู่ลุนจะมรณภาพ ซึ่งได้เก็บรักษาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักการบูชาไว้ที่วัดบูรพา บ้านสะพือ ตลอดมา (หลวงปู่โทน กนฺตสีโล, ๒๕๓๑ : ๗๗ – ๘๑)
หน้าที่การงาน
ดร. ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงพระวิปัสสนาจารย์ที่สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพระเถระเมืองอุบลราชธานีในยุคแรกที่สาคัญมีหลายองค์ แต่ที่โดดเด่นมากองค์หนึ่งคือ “สำเร็จลุน” หรือหลวงปู่ลุน ซึ่งมีลูกศิษย์ที่สาคัญมากองค์หนึ่งคือพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) และเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายได้กล่าวถึงหลวงปู่ลุนว่า มีความในใจในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานฐานมาก ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา เมื่ออายุพรรษาสมควรที่จะรับภารธุระการคณะสงฆ์ เช่น เป็นเจ้าอาวาสก็ไม่รับ สนใจปฏิบัติธรรมอย่างเดียว เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีศิษยานุศิษย์ ญาติโยมเคารพนับถือมากจนมีคาเล่าลือว่า หลวงปู่ลุน มีฤทธาศักดาเดชจนเหาะเหินเดินอากาศได้ ไปบิณฑบาตที่กรุงเทพฯ กลับมาฉันที่อุบลฯ ก็เคยมี บางครั้งมีคนเห็นท่านเดินข้ามแม่น้าโขง ฯลฯ
ลูกศิษย์หลวงปู่ลุนอีกคนหนึ่งที่ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงคือ นายบุญศรี แก้วเนตร ชาวบ้านดอนไร่ ตาบลเหล่าเสือโก้ก อาเภอเมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันอาเภอเหล่าเสือโก้ก) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร ได้ติดตามรับใช้หลวงปู่ลุนไปหลายแห่งนาน ๒
– ๓ ปี ภายหลังหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค และสอบวิชาชุดครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ได้แล้วลาสิกขาบทเข้ารับราชการหลายตาแหน่ง จนเกษียณอายุและได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนิต นามสกุลตาแก้ว อายุ ๘๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๑) อยู่บ้านเลขที่ ๔ / ๒๑๔ ถนนรักศักดิ์ชะมูล อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ได้บอกกับดร. ปรีชา พิณทอง ว่า หลวงปู่ลุนเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ตามคำเล่าลือจริงทุกอย่าง แต่ที่ยึดถือมากที่สุดคือ “มนต์” หรือ “คาถา” สาหรับสวดภาวนาเป็นประจำจนทำให้ประสบผลสาเร็จในชีวิต โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนมนต์ที่หลวงปู่ลุนให้ไว้ ความว่า
“พระพุทธังยอดแก้ว พระธัมมังยอดแก้ว
พระสังฆังยอดแก้ว พระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว
ปฏิเสวามิ ปุริโส โลละ
อัคโคหมัสสมิ โลกัสสะ
เสฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ
เชฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ
ชโยหมัสสมิ โลกัสสะ
อนุตตะโรหมัสสมิ โลกัสสะ
อะยันติมา ชาติ
นัตถิทานิ ปุพภะโลติ
อมนุษย์ทั้งหลายอย่าสู้พ่อ...”
ดร.ปรีชา พิณทอง กล่าวว่า “มนต์” นี้บทที่เป็นภาษาบาลีคือ คำเปล่งวาจาของเจ้าชายสิทธัตถะขณะประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ประเทศอินเดียโบราณ (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๑๘๒ – ๑๘๔)
ผู้วิเศษสองฝั่งโขง
หลงวงปู่ลุนได้จาริกธุดงควัตรปฏิบัติสมณธรรมแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ตามป่าเขา แนวฝั่งแม่น้าโขงทั้งสองด้านจากจังหวัดอุบลราชธานีตลอดถึงนครจาปาศักดิ์ ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองของไทย จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงแถบนี้เป็นอย่างมากจนบางครั้งลือว่า หลวงปู่ลุนเป็น “ผู้วิเศษ” มีฤทธาศักดาเดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านเป็น “ผู้รู้” หลายด้าน โดยเฉพาเป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ฉันมื้อเดียวตลอดไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ ที่สาคัญคือเป็นผู้มี “มนต์” หรือ “คาถา” ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน รวมทั้งตำรายาและเวทมนต์คาถาอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น “ความเชื่อ” ของคนในยุคสมัยนั้นว่า สามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ ตลอดจนเสริมสร้างขวัญกาลังใจให้หายจากความทุกข์ต่าง ๆ ได้
กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “การรวมคณะสงฆ์อีสานเข้ากับคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๕๐” เกี่ยวกับสาเร็จลุนหรือหลวงปู่ลุน ตอนหนึ่งว่า “...ที่เมืองนครจำปาศักดิ์มีพระสงฆ์ท่านส้าคัญคือ ส้าเร็จลุนเป็นชาวบ้านเวินไซตาแสง เวินไซ เมืองโพนทอง จังหวัดนครจำปาศักดิ์ด้วยปฏิปทาของสำเร็จลุน ที่เป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ฉันอาหารมื้อเดียว และมีปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ จึงเป็นที่เคารพนับถือของเจ้าเมือง กรมการ ตลอดจนชาวบ้านราษฎรทั่วเขตแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ หรืออีกนัยหนึ่งที่มีผู้คนเคารพนับถือมากเพราะเชื่อกันว่าส้าเร็จลุนเป็นผู้วิเศษ...” (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๓)
ในคราวที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๓๗ ได้กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคในการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตนครจำปาศักดิ์ และได้กล่าวพาดพิงถึงสาเร็จลุนในลักษณะการเข้าใจผิดในวัตรปฏิบัติส่วนตนและคณะสงฆ์ความว่า “...การพระศาสนาในท้องที่แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ทุกวันนี้ดูหยาบคายมากควรจะนับว่าสิ้นได้แล้ว ด้วยให้แขวงหนึ่งบ้าน ด้วยจะหาพระทรงปาติโมกข์แต่รูปก็ไม่ได้ บวชแล้วก็ไปอยู่ตามไร่นา การศึกษเล่าเรียนไม่ธุระเป็นอย่างนี้โดยมาก ที่ปฏิบัติมีแต่น้อย มีหมายประกาศไป อ่านหนังสือไม่ออก...”
จากข้อความดังกล่าว กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะของพระสงฆ์แถบเมืองนครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นอาจจะนิยมออกไปอยู่ตามป่าเขา ไร่นา คล้ายคลึงกับพระธุดงค์ที่เน้นการศึกษา ฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สนใจศึกษาด้านคันถธุระ อันเป็นอุปสรรคในการปกครองสงฆ์ของพระครูวิจิตรธรรมภาณี ที่เน้นการพัฒนาการศึกษาสงฆ์ด้านคันถธุระเป็นสาคัญ ถ้าเป็นจริงตามข้อสังเกตจะเห็นว่า “สาเร็จลุน” เป็นพระเถระผู้นาด้านวิปัสสนาธุระที่มีลูกศิษย์ผู้เคารพเลื่อมใสจำนวนมาก (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๔)ปฏิปทาแห่งผู้รู้วันหนึ่งมีผู้รู้จากสำนักต่าง ๆ มาทดสอบความเป็นผู้รู้หรือปราชญ์ของคนนครจำปาศักดิ์ วิธีการคือแก้ผูกหนังสือใบลานหลายคัมภีร์ แล้วคละรวมกันในห้องขนาดใหญ่ มีความหนาของใบลานที่กองรวมกันประมาณหนึ่งคืบ แล้วให้ผู้เข้าทดสอบจัดใบลานเหล่านั้นรวมเป็นคัมภีร์ (เป็นผูก) เหมือนเดิมโดยให้เวลาครึ่งวัน ปรากฏว่าไม่มีใครทำได้นอกจากสำเร็จลุนองค์เดียว เป็นที่เลื่องลือในความเป็นปราชญ์ ไหวพริบมาก จึงมีผู้มาศึกษาเรียนรู้กับท่านมากขึ้น
ในคราวที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๓๗ ได้กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคในการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตนครจำปาศักดิ์ และได้กล่าวพาดพิงถึงสาเร็จลุนในลักษณะการเข้าใจผิดในวัตรปฏิบัติส่วนตนและคณะสงฆ์ความว่า “...การพระศาสนาในท้องที่แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ทุกวันนี้ดูหยาบคายมากควรจะนับว่าสิ้นได้แล้ว ด้วยให้แขวงหนึ่งบ้าน ด้วยจะหาพระทรงปาติโมกข์แต่รูปก็ไม่ได้ บวชแล้วก็ไปอยู่ตามไร่นา การศึกษเล่าเรียนไม่ธุระเป็นอย่างนี้โดยมาก ที่ปฏิบัติมีแต่น้อย มีหมายประกาศไป อ่านหนังสือไม่ออก...”
จากข้อความดังกล่าว กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะของพระสงฆ์แถบเมืองนครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นอาจจะนิยมออกไปอยู่ตามป่าเขา ไร่นา คล้ายคลึงกับพระธุดงค์ที่เน้นการศึกษา ฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สนใจศึกษาด้านคันถธุระ อันเป็นอุปสรรคในการปกครองสงฆ์ของพระครูวิจิตรธรรมภาณี ที่เน้นการพัฒนาการศึกษาสงฆ์ด้านคันถธุระเป็นสาคัญ ถ้าเป็นจริงตามข้อสังเกตจะเห็นว่า “สาเร็จลุน” เป็นพระเถระผู้นาด้านวิปัสสนาธุระที่มีลูกศิษย์ผู้เคารพเลื่อมใสจำนวนมาก (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๔)ปฏิปทาแห่งผู้รู้วันหนึ่งมีผู้รู้จากสำนักต่าง ๆ มาทดสอบความเป็นผู้รู้หรือปราชญ์ของคนนครจำปาศักดิ์ วิธีการคือแก้ผูกหนังสือใบลานหลายคัมภีร์ แล้วคละรวมกันในห้องขนาดใหญ่ มีความหนาของใบลานที่กองรวมกันประมาณหนึ่งคืบ แล้วให้ผู้เข้าทดสอบจัดใบลานเหล่านั้นรวมเป็นคัมภีร์ (เป็นผูก) เหมือนเดิมโดยให้เวลาครึ่งวัน ปรากฏว่าไม่มีใครทำได้นอกจากสำเร็จลุนองค์เดียว เป็นที่เลื่องลือในความเป็นปราชญ์ ไหวพริบมาก จึงมีผู้มาศึกษาเรียนรู้กับท่านมากขึ้น
พระมหาคาภา ชาวเมืองนครจำปาศักดิ์ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาแล้วกลับมาบ้านเกิด เห็นว่าเมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองอื่น ๆ มีพระพุทธรูปมากเกินไป จึงมีหนังสือถึงเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ให้หลอมรวมเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว แต่เจ้าเมือง คณะสงฆ์และชาวบ้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีใครกล้าคัดค้าน อาจจะเพราะเห็นว่าพระมหาคาภาเป็นผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนามาจากเมืองลังกา ที่ได้ชื่อว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนั้น จึงคิดว่ามีพระสงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและทางการมากองค์เดียวคือ สำเร็จลุนที่จะทัดทานพระมหาคาภาได้จึงไปนิมนต์ให้ช่วยเหลือ ครั้งแรกได้รับการปฏิเสธภายหลังทนการอ้อนวอนไม่ได้ท่านจึงรับปากช่วย แล้วจัดให้มีการถามปัญหาลักษณะ ปุจฉา – วิสัชนา ๒ ธรรมาสน์ โดยให้นิมนต์ พระมหาคาถามาเป็นคู่ถกปัญหาซึ่งสาเร็จลุนจะเป็นผู้ถาม (ปุจฉา) พระมหาคาภาเป็นผู้ตอบ (วิสัชชนา) ซึ่งมีการซักถามกัน ดังนี้
ถาม : ในภัทรกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้าทั้งหมดกี่พระองค์
ตอบ : มีทั้งหมด ๕ พระองค์
ถาม : มีทั้งหมด ๖ พระองค์ไม่ใช่หรือ
ตอบ : มี ๕ พระองค์แน่นอน กล่าวคือ กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโม และศรีอริยเมตไตยโย
ถาม : ขาดอีกองค์หนึ่งใช่หรือไม่
ตอบ : หมดแค่นั้นไม่มีอีกแล้ว
ถาม : อีกองค์หนึ่งคือ พระมหาคาภาใช่ไหม
ตอบ : เอ้า ทาไมพูดเช่นนั้น ไม่ใช่ข้าน้อย (ผม) แน่
ถาม : เจ้าเรียนมาจากไหน
ตอบ : ประเทศลังกา
ถาม : ที่ประเทศลังกา เขาสอนให้ทาลายแล้วหลอมรวมพระพุทธรูปอย่างนั้นหรือ ที่นี้ประเทศเราใครๆ ก็เคารพบูชาต่างก็กราบไหว้ ไม่กล้าแม้เข้าใกล้และแตะต้องถ้าไม่จำเป็นจะไม่ขนย้ายถึงจะปรักหักพังก็ไม่มีใครทุบทำลายทิ้ง มีแต่จะบูรณะซ่อมแซมไว้หรือไม่ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติให้เสื่อมสลายไปเองถ้าจะทำจริง ๆ ขอให้ไปทำที่ประเทศลังกาเถิด พระมหาคาถาไม่มีคำตอบได้แต่นิ่งเงียบ สำเร็จลุนหันไปถามพระสงฆ์และชาวบ้านที่มาชุมนุมฟังการถกปัญหากันอยู่ว่า จะเอาอย่างพระมหาคาถาหรือจะเอาแบบของท่าน ทุกคนต่างก็ยกมือคัดค้านพระมหาคาถาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่อยากเป็นเช่นพระเทวทัตต์เพราะกลัวบาปกรณีนี้ จึงยกเลิกไป (สวิง บุญเจิม, ๒๕๔๕)
คาคมคาสอน“หกสองหก ยกออกสองตัว แก้วอยู่หัวตัวเดียวอย่าละ นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น” หมายความว่า ใครอยากมีอิทธิฤทธิ์มีความสำเร็จอย่างไร ต้องให้ความสำคัญกับอายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ ถอดออกมาโดยสรุปคือ ๒ ได้แก่ นามและรูป (จิตกับกาย) แก้วอยู่หัว หมายถึง ความมีสติอย่าประมาท นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น คือของที่ควรเคารพบูชาอยู่ไหนให้ยำเกรงกราบไหว้บูชา นี่คือคำคมคำสอนของท่านส่วนหนึ่งควรนำไปศึกษาและปฏิบัติอย่างยิ่งสมณศักดิ์หลวงปู่ลุนไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ตำแหน่งใด นอกจากเรียกว่า “สำเร็จ” ตาแหน่ง “สาเร็จ” หรือ “ญาสาเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “หดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สาเร็จ” ส่วนสาเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “หดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน
คาคมคาสอน“หกสองหก ยกออกสองตัว แก้วอยู่หัวตัวเดียวอย่าละ นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น” หมายความว่า ใครอยากมีอิทธิฤทธิ์มีความสำเร็จอย่างไร ต้องให้ความสำคัญกับอายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ ถอดออกมาโดยสรุปคือ ๒ ได้แก่ นามและรูป (จิตกับกาย) แก้วอยู่หัว หมายถึง ความมีสติอย่าประมาท นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น คือของที่ควรเคารพบูชาอยู่ไหนให้ยำเกรงกราบไหว้บูชา นี่คือคำคมคำสอนของท่านส่วนหนึ่งควรนำไปศึกษาและปฏิบัติอย่างยิ่งสมณศักดิ์หลวงปู่ลุนไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ตำแหน่งใด นอกจากเรียกว่า “สำเร็จ” ตาแหน่ง “สาเร็จ” หรือ “ญาสาเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “หดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สาเร็จ” ส่วนสาเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “หดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน
หลวงปู่โทนได้กล่าวถึง “สำเร็จลุน” ตามที่ชาวบ้านเรียก “สาเร็จ” นั้น เพราะมีความเชื่อว่าท่าน ได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เช่นเดียวกับหลวงปู่สีดาซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่โทนก็เรียกว่า “สาเร็จสีดา” เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าสาเร็จลุน ซึ่งถือกันว่าเป็น ผู้เรืองสรรพเวทย์จนเลื่องลือกันว่า เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือที่เรียกว่า “วิชาย่อแผ่นดิน”มรณภาพหลวงปู่ลุนขณะจำพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ขณะอาพาธก่อนมรณภาพ หลวงปู่โทนกล่าวว่าหลวงปู่ลุนได้ส่งคนให้มาตามไปพบที่นครจำปาศักดิ์ แต่ไม่ได้ไปเพราะติดภาระสอนพระภิกษุสามเณร จึงมอบให้คนอื่นไปแทนและจะตามไปทีหลัง แต่ยังไม่ได้เดินทางก็ทราบจากญาติโยมที่ไปเยี่ยมหลวงปู่ลุนว่าท่านได้นิพพาน (มรณภาพ) แล้ว พร้อมทั้งสั่งว่าให้เอา “ไม้เท้า” ที่ฝากไว้กับหลวงปู่สีดามอบให้พระโทน (หลวงปู่โทน) เก็บรักษาไว้ อย่าให้คนอื่น ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้เก็บรักษาไว้ตลอดมาจนถึงมรณภาพ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ไม้เท้าสาเร็จลุนจึงเป็นหลักฐานชิ้นสาคัญในการศึกษาประวัติหลวงปู่ลุน หลวงปู่ลุนมรณภาพ หลังจากหลวงปู่โทนอุปสมบทได้ ๓ พรรษา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน รวมอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔
สำเร็จลุน หรือหลวงปู่ลุน นับเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ๆ ที่ชาวอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แม้ว่าวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาส่วนหนึ่งของท่านเป็นไปในแนวทาง พระเกจิอาจารย์คือ มีความรู้ความสามารถในเรื่องคาถาอาคม เวทมนต์ต่าง ๆ จนเชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคสมัยนั้น ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง “เทวนิยม” เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา ภูตผีต่าง ๆ เป็นต้น ผสมผสานกับความเชื่อในหลักศาสนา คือพราหมณ์และพุทธที่เคารพนับถืออีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นพระสงฆ์เถระซึ่งชื่อว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ก็ย่อมจะใช้หลักความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอบรมเล่าเรียนมาในแต่ละด้าน หรือผสมผสานกันหลาย ๆ ด้าน เพื่อเป็นกลวิธีหรือุบายในการอบรม สั่งสอน ฝึกฝนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติ ตามจริตความสามารถแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้ทุกคนมีสุขกาย สบายใจ ถือเป็นความสุขของชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ลุนจึงเป็นทั้ง พระวิปัสสนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลโดยแท้จริงอีกองค์หนึ่ง
สำเร็จลุน หรือหลวงปู่ลุน นับเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ๆ ที่ชาวอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แม้ว่าวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาส่วนหนึ่งของท่านเป็นไปในแนวทาง พระเกจิอาจารย์คือ มีความรู้ความสามารถในเรื่องคาถาอาคม เวทมนต์ต่าง ๆ จนเชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคสมัยนั้น ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง “เทวนิยม” เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา ภูตผีต่าง ๆ เป็นต้น ผสมผสานกับความเชื่อในหลักศาสนา คือพราหมณ์และพุทธที่เคารพนับถืออีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นพระสงฆ์เถระซึ่งชื่อว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ก็ย่อมจะใช้หลักความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอบรมเล่าเรียนมาในแต่ละด้าน หรือผสมผสานกันหลาย ๆ ด้าน เพื่อเป็นกลวิธีหรือุบายในการอบรม สั่งสอน ฝึกฝนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติ ตามจริตความสามารถแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้ทุกคนมีสุขกาย สบายใจ ถือเป็นความสุขของชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ลุนจึงเป็นทั้ง พระวิปัสสนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลโดยแท้จริงอีกองค์หนึ่ง
หนังสืออ้างอิง
กิ่งธรรม. โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผลเถร) ณ เมรุวัดมณีวนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๘.
กิ่งธรรม. โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผลเถร) ณ เมรุวัดมณีวนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๘.
คณะศิษยานุศิษย์. หลวงปู่โทน กนฺตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ) ประวัติธรรมะและคติธรรม. ตารายาสมุนไพร พระคาถาต่าง ๆ เนื่องในโอกาสครบอายุ ๙๑ ปี ๑๔ ธ.ค. ๓๑. อุบลราชธานี, ๒๕๓๑.
สวิง บุญเจิม. ประวัติและของดีสาเร็จลุน. อุบลราชธานี, สานักพิมพ์มรดกอีสาน, ๒๕๔๕.
ที่มา : http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO45.pdf[/size]