วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้าวต้มมัด

ประเพณีของไทยหลาย ๆ อย่าง มักจะมีเรื่องราวของอาหารเข้าไป ข้องเกี่ยวอยู่ด้วยเสมอ เพราะคนไทยโบราณจะชอบทำอาหาร หรือขนมไทยชนิดต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระ แตกต่างกันไปตามความเชื่อ จนทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ขาดกันไปไม่ได้แล้ว และก็สืบทอดมาจนถึงัจจุบัน เช่นเดียวกับ ข้าวต้มมัดกับวันเข้าพรรษา ที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ด้วย

          เกิดเป็นคนไทยจะมีใครที่ไม่รู้จักข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด บ้างไหมเนี่ย ไม่ว่าจะไปอยู่มุมไหนของประเทศไทยก็มีขาย หาซื้อกินได้ง่ายเหลือเกิน โดยเฉพาะในช่วงวันเข้าพรรษา เราจะได้เห็นข้าวต้มมัดวางขายกันให้เกลื่อนเลยล่ะ เพราะคนไทยยกให้ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด เป็นขนมประจำวันเข้าพรรษานั่นเอง

 เพราะอะไร ข้าวต้มมัดถึงเป็นขนมประจำวันเข้าพรรษา

          ในสมัยก่อน คนโบราณยกให้ข้าวต้มมัดเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของคนมีคู่ เพราะมีลักษณะการจับขนม 2 ชิ้น มามัดเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง และมีความเชื่อว่า ถ้าหนุ่มสาวคู่ไหนทำบุญวันเข้าพรรษาด้วยข้าวต้มมัด ความรักมักจะดี ชีวิตคู่ครองจะคงอยู่นานตลอดกาล เหมือนกับข้าวต้มมัดที่ผูกกันติดหนึบนั่นเอง คนโบราณผู้มีคู่ก็เลยนิยมทำข้าวต้มมัดไปถวายพระในวันเข้าพรรษานั่นเอง โอ้โห ! 

 ตำนานข้าวต้มมัด ขนมแห่งความรักของพระอินทร์

          อีกหนึ่งตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ข้าวต้มมัด เป็นข้าวต้มที่พระอินทร์กับนางสนมกินด้วยกันเมื่อตอนมีความรักให้กัน แต่ต่อมาพระอินทร์เกิดจับได้ว่าานางสนมมีชู้ จึงโกรธและดลบันดาลให้ลูกของนางสนมที่เกิดกับชู้ คลอดออกมาเป็นข้าวต้มมัด เมื่อถึงเวลาที่นางสนมคลอดบุตรอกมา ก็กลายเป็นข้าวต้มมัดจริง ๆ นางสนมก็เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ลูกแท้ ๆ ของตัวเอง เลยนำลงมาทิ้งไว้ที่ป่าในโลกมนุษย์ ตา-ยายคู่หนึ่งเดินเข้ามาในป่าก็มาเจอข้าวต้มมัดที่นางสนมมาทิ้งไว้ ลองแกะกินดูแล้วว่าอร่อย ก็เลยลองทำตามดู แล้วก็นำมาขายจนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้นี่เอง 

          พอได้รู้ถึงเรื่องราวของข้าวต้มมัดกับวันเข้าพรรษไปแล้ว เราก็มาทำความรู้จักขนมชนิดนี้กันให้ลึกกว่าที่เคยรู้กันหน่อยดีกว่า

          ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มผัด เป็นการนำข้าวเหนียวไปผัด หรือกวนกับน้ำกะทิ จากนั้นก็ห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน สอดไส้กล้วยลงไปด้วย แล้วนำไปนึ่งให้สุก ข้าวต้มมัดมีชื่อเรียกหลากหลายมาก เช่น

           "ข้าวต้มมัดไต้" หรือ ขนมมัดไต้ ข้าวต้มมัดใต้ ฯลฯ เป็นชื่อเรียกข้าวต้มมัดของคนภาคใต้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นก็คือ การนำข้าวเหนียวไปห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ มัดเป็นปล้อง ๆ 4-5 ปล้อง ซึ่งมีขนาดยาวกว่าข้าวต้มมัดทั่วไป ไม่มีไส้ มีรสชาติเค็มที่ทำมาจากส่วน ผสมถั่วทองโขลกกับเครื่อง เช่น รากผักชี กระเทียม และพริกไทย แถมยังใส่หมูและมันหมูลงไปด้วย และยังแยกออกไปอีกด้วยว่า ถ้าห่อด้วยใบกะพ้อ เรียก "ห่อต้ม" แต่ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าวและมัดด้วยเชือกเรียกว่า "ห่อมัด"

           "ข้าวต้มกล้วย" เป็นชื่อเรียกข้าวต้มมัดของคนภาคอีสาน มี 2 แบบด้วยกันคือ ใช้ข้าวเหนียวดิบปรุงรสด้วยเกลือ ใส่ถั่วลิสงต้มสุก เคล้าให้เข้ากัน นำไปห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย แล้วเอาไปต้มให้สุก ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิ นำไปห่อใส่ไส้กล้วยแล้วต้มให้สุก จะไม่ใส่น้ำตาลลงไปในส่วนผสม แต่จะใช้วิธีนำมาจิ้มกินกับน้ำตาลแทน 

           "ข้าวต้มหัวหงอก" หรือข้าวต้มมัดของคนภาคเหนือ จะนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด แล้วโรยน้ำตาลทราย

           "ข้าวต้มญวน" มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ห่อให้ใหญ่กว่า นำไปต้ม เวลากินให้หั่นเป็นชิ้น ๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย

          นอกจากนั้นเราอาจจะพบเห็นขนมที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย ๆ ข้าวต้มมัดแบบนี้ได้ที่ต่างประเทศอีกด้วย อย่างในประเทศฟิลิปปินส์ เรียกขนมชนิดนี้ว่า "อีบอส" หรือ "ซูมัน" ซึ่งจะเรียกต่างกันไปตามส่วนผสมที่นำมาทำ ส่วนในประเทศลาว ก็มีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันกับเรา แต่เรียกว่า "เข้าต้ม" มีทั้งแบบไส้เค็มที่ใส่มันหมูกับถั่วเขียว และแบบไส้หวานที่ใส่ไส้กล้วยเหมือนข้าวต้มมัดทั่วไปนั่นเอง

 ข้าวต้มมัดทำไมต้องไส้กล้วยน้ำว้า

             กล้วยบนโลกนี้มีมากมายหลายชนิด แต่มีใครเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมข้าวต้มมัดถึงใช้เฉพาะกล้วยน้ำว้า นั่นก็เพราะว่า คนโบราณใช้ภูมิปัญญาอันหลักแหลม ในการทดลอง ใช้กล้วยอยู่หลายชนิด แต่ผลปรากฎออกมาว่า ต้องกล้วยน้ำว้าเท่านั้น เพราะเป็นกล้วยที่สุกยาก เมื่อนำมานึ่งกับข้าวเหนียวแล้วจะสุกพร้อมกันนั่นเอง แหม่ ไม่ธรรมดาจริง ๆ 

             แต่ไม่ใช่แค่วันเข้าพรรษาอย่างเดียวนะคะ ข้าวต้มมัดก็ยังสามารถนำมาทำบุญในวันออกพรรษาก็ได้เช่นเดียวกัน หรือที่เรียกว่า "ข้าวต้มลูกโยน" ที่เรามักจะได้ยินเมื่อถึงวันออกพรรษา มีชื่อเรียกหลายอย่างไม่แพ้ข้าวต้มมัดเลย ทั้งข้าวต้มโยน ข้าวต้มหาง ข้าวต้มลูกโยนซึ่งเป็นอีกหนึ่งผล ผลิตจากข้าวต้มมัด มาจากข้าวเหนียวที่เหลือ ๆ ตอนทำข้าวต้มมัด แต่ไม่มีไส้ มีแต่ข้าวเหนียวอย่างเดียว หรืออาจจะเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำ แล้วนำไปห่อให้เป็นทรงรีด้วยใบ กะพ้อ หรือใบมะพร้าวให้สวยงาม แต่ไฮไลท์อยู่ที่หางยาว ๆ ที่ใช้ตอกหรือไม้ไผ่เหลาบาง ๆ มัดให้เป็นหาง ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวง ๆ แล้วนำไปนึ่ง หรือต้มจนสุกนั่นเอง


https://cooking.kapook.com/view92386.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น