วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

สถูปคู่ ที่ ผามออีแดง


สถูปคู่ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
บนมออีแดงเรายังได้สำรวจพบแหล่งตัดหินที่มีขนาดของก้อนใหญ่เป็นพิเศษ มี”สถูปคู่” ที่ถือเป็นสิ่งก่อสร้างพิเศษ เนื่องด้วยไม่เคยพบในที่ใด หากไม่มีการลักเจาะผนังอาคารที่ไม่มีช่องเปิด ๒ แท่งนี้ ก็คงไม่ทราบว่ามีห้องที่ประดิษฐานรูปเคารพอยู่ภายใน (ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงฐานรูปเคารพที่ไม่ทราบว่าเป็นศิวลึงค์หรือ เทพองค์ใด) อย่างไรก็ตามด้วยฝีมือการก่อสร้างที่แสดงถึงความตั้งใจและศรัทธาของคนในอดีต จึงถือเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้







ภาพสลักนูนต่ำ
จากลักษณะของลวดลายและเครื่องแต่งกายของภาพบุคคลที่สลักอยู่ที่ผามออีแดง ทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในสมัยเกาะแกร์ มีความเก่าแก่กว่าสิ่งก่อสร้างในปัจจุบันของปราสาทพระวิหาร จึงถือเป็นหลักฐานที่สำคัญยิ่งในเชิงประวัติการใช้เขาพระวิหารเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ณ จุดที่เราต้องเดินลงตามบันไดไม้ที่เกาะหน้าผาเพื่อไปชมความงามของภาพสลักนั้น ความสมบูรณ์ของผืนป่าในหุบเขาเบื้องล่างที่เป็นบริเวณช่องตาเฒ่าและทิวทัศน์ของยอดเขาสัตตะโสมที่อยู่เบื้องหน้า






เขาพระวิหาร 
ข้อความในจารึกหลายหลักที่พบ ณ ปราสาทพระวิหาร และจารึกอื่นๆที่มีใจความเกี่ยวข้อง ยังได้บ่งชี้ถึงข้อมูลที่น่าสนใจของชุมชนพื้นเมือง ที่กษัตริย์สุริยวรมันที่ ๑ ผู้สร้างปราสาทพระวิหารได้มอบหมายให้เป็นผู้ทำนุบำรุง ดูแลปราสาท ในขณะเดียวกันเทวาลัยแห่งเขาพระวิหารก็ได้เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชุมชนโบราณเหล่านี้ น้ำกินน้ำใช้ก็มาจากภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น ทำให้คนและศาสนสถานผูกพันซึ่งกันและกันเป็นหนึ่งเดียว จากข้อมูลทางโบราณคดีพบว่าในบริเวณหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเชิงเขาตั้งแต่บ้านภูมิซรอล ไปจนถึงบ้านโดนเอาว์ มีการสำรวจพบเศษภาชนะดินเผาและเครื่องเคลือบเขมร ถือเป็นแหล่งโบราณคดีที่จะต้องมีการศึกษาอย่างเจาะลึกต่อไปอีกในอนาคต แต่ด้วยความสัมพันธ์ของสถานที่ตั้งของชุมชนที่เชื่อว่าน่าจะตั้งถิ่นฐานสืบต่อมาจากชุมชนโบราณดังกล่าวที่เมื่อมองจากหมู่บ้านไปยังเขาพระวิหารก็จะสามารถมองเห็นองค์ปราสาทได้ในทุกทุกจุด








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น