วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ (อาเซียน)

คนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ (อาเซียน) มีบรรพชนเป็นเครือญาติชาติพันธุ์ร่วมกับคนอุษาคเนย์จึงไม่ได้อพยพถอนรากถอนโคนมาจากไหน?
[อุษาคเนย์โบราณราว3,000ปีมาแล้ว ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกมีพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมถึงบริเวณลุ่มน้ำแยงซี ตอนใต้ของจีนปัจจุบัน เช่น ยูนนาน, กวางสี, กวางตุ้ง ฯลฯ]
แต่จะเหมารวมเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้ เพราะในดินแดนไทยเหนือจรดใต้มีภูมิประเทศต่างกัน คนหลายเผ่าพันธุ์ย่อมมีที่มาต่างกัน ดังนั้นที่มาของคนแต่ละกลุ่มต้องขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ด้วย
เช่น คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเป็นมาต่างจากคนสุโขทัย, อยุธยา และต่างจากคนอื่นๆ ที่อยู่ในภาคเหนือ, ภาคอีสาน
คนกรุงเทพฯ ก็มีความเป็นมาต่างจากคนนครราชสีมา, คนแม่ฮ่องสอน, คนนครศรีธรรมราช, คนภูเก็ต ฯลฯ เป็นต้น
คน
ไทย มี 2 อย่าง ได้แก่ คนไทย และ ภาษาไทย จะสรุปจากงานค้นคว้าวิจัยของครูบาอาจารย์หลายท่าน ดังนี้
แม่ [จากคนทุกเผ่าพันธุ์ในอุษาคเนย์ และอาจมีจากที่อื่นด้วย เช่น แขก (พราหมณ์ และมุสลิม), จีน, ฝรั่ง ฯลฯ]
แต่ลูกผสมทั้งหมดสื่อสารด้วยภาษาไทย
เชื้อชาติบริสุทธิ์ไม่มีจริงในโลก ดังนั้น คนไทยแท้ไม่เคยมี
ไทย เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เพิ่งสมมุติเรียกตัวเองพร้อมมีอักษรไทยในรัฐอโยธยา-ละโว้ ราวหลัง พ.ศ. 1700 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ภาคกลางตอนล่าง
ก่อน พ.ศ. 1700 ไม่พบหลักฐานว่ามีคนเรียกตัวเองว่า คนไทย แม้แต่ในศิลาจารึก ก็ไม่มี
คำ=ว่า ไทย มีรากจาก ไท, ไต แปลว่า ชาว, คน (เช่น ไทบ้าน แปลว่า ชาวบ้าน, คนบ้าน) มีใช้ในหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มมอญ-เขมร ก็มีคำว่า ไท, ไต แต่ความหมายทางสังคม ลดฐานะต่ำลง
สมัยแรก คนไทยและวัฒนธรรมไทย มีพื้นที่ (โดยประมาณ) จำกัดอยู่เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง ดังนี้
เหนือสุด จ. อุตรดิตถ์ เหนือขึ้นไปอีกเป็นลาวล้านนา, ใต้สุด จ. เพชรบุรี ใต้ลงไปอีกเป็นแขกมลายู, ตะวันตก จ. สุพรรณบุรี ถัดไปเป็นมอญ, ละว้า, กะเหรี่ยง, ตะวันออก จ. สระแก้ว ถัดไปเป็นเขมร, ตะวันออกเฉียงเหนือ จ. สระบุรี พ้นขึ้นไปที่ราบสูงเป็นลาว และโคราช
วัฒนธรรมไทย หรือความเป็นไทย จึงเป็นแบบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง เท่านั้น แบบอื่นเรียกพื้นเมือง คือไม่ไทย
สมัยหลัง ถูกบังคับให้เป็นคนไทยทั้งประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 เมื่อเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย
นับแต่นั้นวัฒนธรรมไทยก็ถูกควบคุมเคร่งครัดให้เป็นแบบภาคกลาง ของภาคอื่นไม่ไทย
ภาษาไทย
ภาษาไทยมีรากเหง้าเก่าสุด ราว 3,000 ปีมาแล้ว อยู่ที่มณฑลกวางสี ภาคใต้ของจีน (ติดเวียดนาม)
คนพูดภาษาไทยเหล่านี้ไม่เรียกตัวเองว่าคนไทย แต่เคลื่อนไหวไปตามเส้นทางการค้าดินแดนภายใน 2 สาย ได้แก่
(1) เส้นตะวันตก ถึงลุ่มน้ำสาละวิน ออกเสียง ท เป็น ต และ พ เป็น ป (2) เส้นตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านลุ่มน้ำเจ้าพระยา ถึงคาบสมุทรภาคใต้ของไทย ออกเสียงตรง ท เป็น ท และ พ เป็น พ
ภาษาไทยเป็นภาษากลางทางการค้าดินแดนภายใน [ขณะที่ภาษามลายู เป็นภาษากลางทางการค้าทางทะเล และกลุ่มหมู่เกาะของอุษาคเนย์] เคลื่อนไหวโยกย้ายเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางการค้า
โดยเจ้าของภาษา (คือคนพูดภาษาไทยเก่าสุด) ไม่จำเป็นต้องไปด้วย หรือจะไปก็ได้ ไม่ผูกมัด

ภาพ
ล้วนเป็นบรรพชนคนไทยสายหนึ่ง (ซ้าย) ม้อย ชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมบริเวณลุ่มน้ำโขง (ขวา) แม่หญิงพื้นเมืองเผ่าละเวนในลาว สะพายตะกร้าสานไม้ไผ่ไว้ข้างหลัง มีลูกปัดคล้องคอหลายเส้นเป็นเครื่องราง มีกำไลโลหะคล้องแขนซ้ายตั้งแต่ข้อมือถึงข้อศอก นุ่งผ้าทอมือ ชาวยุโรปถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น