วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติหลวงปู่สำเร็จลุน ผู้วิเศษแห่งภูมิภาคแม่น้ำโขง


...นอกจากเรียกว่า “สำเร็จ” ตำแหน่ง “สำเร็จ” หรือ “ญาสำเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “หดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สำเร็จ” ส่วนสำเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “หดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน...

...



ประวัติหลวงปู่สำเร็จลุน (ลุน) (ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ – ๒๔๖๓)

ชาติภูมิ

สำเร็จลุน นามเดิม ลุน เกิดวัน เดือน ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ถ้าเทียบเคียงกับประวัติหลวงปู่ โทนกนฺตสีโล พอเชื่อได้ว่าคงอยู่ราว พ.ศ. ๒๓๗๙ ที่บ้านจิก ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้าง ภายหลังได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านทรายมูล ตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาบิดา มารดาได้อพยพครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี นามบิดา มารดาและมีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏหลักฐานในประวัติเช่นกัน (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๒๙๑ -๒๙๒)

การศึกษา
บรรพชาและอุปสมบท สำเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สำเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน

ส่วนการบรรพชาอุปสมบทจากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อาเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นำหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย

พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายาตำราเวทมนต์คาถาอาคมมีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสาคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกันโดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง

หลวงปู่ลุนกลับมาพร้อมชื่อเสียงหลายด้าน ทั้งการปฏิบัติธรรม คาถาอาคม เวทมนต์ ตำรายาและอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ มีคนเคารพนับถือจำนวนมากขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือกันมากในขณะนั้น ปฏิปทาบางอย่างที่หลวงปู่โทนกล่าวถึงหลวงปู่ลุน ส่วนหนึ่งว่า 
“มีฝรั่งมาทดสอบท่านโดยมาท้าบุญแล้วเอาสุราใส่กาน้้าถวายให้พระเณรฉัน พระเณรก็ฉันกันหมด ฝรั่งเห็นก็ว่า พระทำไมดื่มสุรา ศาสนาพุทธพระท้ำไมจึงดื่มสุรา ฝรั่งพูดหาเรื่อง หลวงปู่ลุนจึงกล่าวว่า นี่แหละความอยากของคน เขาเอาอะไรมาให้ ก็กิน ให้กินอะไรก็กิน ให้ฉันอะไรก็ฉัน ท้าให้เขามาดูถูกได้ แล้วหันไปพูดกับฝรั่งว่าเจ้าดูถูกศาสนาพุทธุเจ้าเป็นคนไม่ดีฝรั่งก็เลยหนีไปลงเรือกำปั่นติดเครื่องยนต์เครื่องติดปุด...ปุด...ปุดแต่เรือไม่เดินไปไหนเป็นเวลา๓วันฝรั่งเลยกลับมาหาหลวงปู่ลุนพร้อมกับเอาน้ามันก๊าดมาถวายใหู๒๐ปี๊ปและเทียนไขอีก๒๐ปี๊ปและขอขมาโทษหลวงปู่ลุนจึงพูดว่า 
มึงไม่รู้จักกูแล้วเอาเท้าแตะน้้า ๒ ครั้ง เรือกำปั่นจึงออกเดินไปได้...”
เรื่องอาหารการกิน หลวงปู่ลุนก็ไม่ฉันอะไรมาก แต่ชอบฉันมะพร้าวขูดคลุกน้ำตาล เขาถวายมาเท่าไรก็ฉันหมดและชอบทานอะไรแปลก ๆ เป็นคนดื้อแต่ถือดี ชอบลองของ (ขลัง) บางครั้งไม่ฉันข้าวเป็นเดือนก็อยู่ได้ นั่งอาบน้าถังเดียวตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน ๒ ทุ่มก็ยังไม่เสร็จ ขณะอาบน้ำเอามือจุ่มน้ำพร้อมสาธยายมนต์ไปด้วย ผู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็น “พระบ้า” ก็มี
หลวงปู่โทนบอกว่ารไม่เคยไปร่วมปฏิบัติกับหลวงปู่ลุนเพราะเป็นพระผู้น้อยต้องยำเกรงพระผู้ใหญ่ ถ้าหลวงปู่ลุนสอนอะไรก็ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามเสมอ จนเป็นที่รักใคร่ชอบพอของหลวงปู่ลุนมาก อาจเป็นสาเหตุสาคัญถึงกับมองไม้เท้า (ศักดิ์สิทธิ์) ให้ก่อนที่หลวงปู่ลุนจะมรณภาพ ซึ่งได้เก็บรักษาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สักการบูชาไว้ที่วัดบูรพา บ้านสะพือ ตลอดมา (หลวงปู่โทน กนฺตสีโล, ๒๕๓๑ : ๗๗ – ๘๑)
หน้าที่การงาน
ดร. ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงพระวิปัสสนาจารย์ที่สอนทางวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพระเถระเมืองอุบลราชธานีในยุคแรกที่สาคัญมีหลายองค์ แต่ที่โดดเด่นมากองค์หนึ่งคือ “สำเร็จลุน” หรือหลวงปู่ลุน ซึ่งมีลูกศิษย์ที่สาคัญมากองค์หนึ่งคือพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) และเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายได้กล่าวถึงหลวงปู่ลุนว่า มีความในใจในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานฐานมาก ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา เมื่ออายุพรรษาสมควรที่จะรับภารธุระการคณะสงฆ์ เช่น เป็นเจ้าอาวาสก็ไม่รับ สนใจปฏิบัติธรรมอย่างเดียว เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีศิษยานุศิษย์ ญาติโยมเคารพนับถือมากจนมีคาเล่าลือว่า หลวงปู่ลุน มีฤทธาศักดาเดชจนเหาะเหินเดินอากาศได้ ไปบิณฑบาตที่กรุงเทพฯ กลับมาฉันที่อุบลฯ ก็เคยมี บางครั้งมีคนเห็นท่านเดินข้ามแม่น้าโขง ฯลฯ
ลูกศิษย์หลวงปู่ลุนอีกคนหนึ่งที่ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้กล่าวถึงคือ นายบุญศรี แก้วเนตร ชาวบ้านดอนไร่ ตาบลเหล่าเสือโก้ก อาเภอเมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันอาเภอเหล่าเสือโก้ก) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร ได้ติดตามรับใช้หลวงปู่ลุนไปหลายแห่งนาน ๒ 
– ๓ ปี ภายหลังหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค และสอบวิชาชุดครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ได้แล้วลาสิกขาบทเข้ารับราชการหลายตาแหน่ง จนเกษียณอายุและได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนิต นามสกุลตาแก้ว อายุ ๘๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๑) อยู่บ้านเลขที่ ๔ / ๒๑๔ ถนนรักศักดิ์ชะมูล อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ได้บอกกับดร. ปรีชา พิณทอง ว่า หลวงปู่ลุนเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ตามคำเล่าลือจริงทุกอย่าง แต่ที่ยึดถือมากที่สุดคือ “มนต์” หรือ “คาถา” สาหรับสวดภาวนาเป็นประจำจนทำให้ประสบผลสาเร็จในชีวิต โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียนมนต์ที่หลวงปู่ลุนให้ไว้ ความว่า
“พระพุทธังยอดแก้ว พระธัมมังยอดแก้ว
พระสังฆังยอดแก้ว พระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว
ปฏิเสวามิ ปุริโส โลละ
อัคโคหมัสสมิ โลกัสสะ 
เสฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ
เชฏโฐหมัสสมิ โลกัสสะ
ชโยหมัสสมิ โลกัสสะ
อนุตตะโรหมัสสมิ โลกัสสะ
อะยันติมา ชาติ
นัตถิทานิ ปุพภะโลติ
อมนุษย์ทั้งหลายอย่าสู้พ่อ...”
ดร.ปรีชา พิณทอง กล่าวว่า “มนต์” นี้บทที่เป็นภาษาบาลีคือ คำเปล่งวาจาของเจ้าชายสิทธัตถะขณะประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ประเทศอินเดียโบราณ (ปรีชา พิณทอง, ๒๕๓๘ : ๑๘๒ – ๑๘๔)
ผู้วิเศษสองฝั่งโขง
หลงวงปู่ลุนได้จาริกธุดงควัตรปฏิบัติสมณธรรมแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ตามป่าเขา แนวฝั่งแม่น้าโขงทั้งสองด้านจากจังหวัดอุบลราชธานีตลอดถึงนครจาปาศักดิ์ ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองของไทย จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนสองฝั่งโขงแถบนี้เป็นอย่างมากจนบางครั้งลือว่า หลวงปู่ลุนเป็น “ผู้วิเศษ” มีฤทธาศักดาเดชเหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านเป็น “ผู้รู้” หลายด้าน โดยเฉพาเป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ฉันมื้อเดียวตลอดไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ ที่สาคัญคือเป็นผู้มี “มนต์” หรือ “คาถา” ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน รวมทั้งตำรายาและเวทมนต์คาถาอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น “ความเชื่อ” ของคนในยุคสมัยนั้นว่า สามารถช่วยขจัดปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ ตลอดจนเสริมสร้างขวัญกาลังใจให้หายจากความทุกข์ต่าง ๆ ได้
กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “การรวมคณะสงฆ์อีสานเข้ากับคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๕๐” เกี่ยวกับสาเร็จลุนหรือหลวงปู่ลุน ตอนหนึ่งว่า “...ที่เมืองนครจำปาศักดิ์มีพระสงฆ์ท่านส้าคัญคือ ส้าเร็จลุนเป็นชาวบ้านเวินไซตาแสง เวินไซ เมืองโพนทอง จังหวัดนครจำปาศักดิ์ด้วยปฏิปทาของสำเร็จลุน ที่เป็นผู้รักสันโดษ มักน้อย ไม่รับเงินรับทอง ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ฉันอาหารมื้อเดียว และมีปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณ จึงเป็นที่เคารพนับถือของเจ้าเมือง กรมการ ตลอดจนชาวบ้านราษฎรทั่วเขตแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ หรืออีกนัยหนึ่งที่มีผู้คนเคารพนับถือมากเพราะเชื่อกันว่าส้าเร็จลุนเป็นผู้วิเศษ...” (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๓)

ในคราวที่พระครูวิจิตรธรรมภาณี (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๓๗ ได้กล่าวถึงปัญหาอุปสรรคในการปกครองคณะสงฆ์ ในเขตนครจำปาศักดิ์ และได้กล่าวพาดพิงถึงสาเร็จลุนในลักษณะการเข้าใจผิดในวัตรปฏิบัติส่วนตนและคณะสงฆ์ความว่า
“...การพระศาสนาในท้องที่แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ทุกวันนี้ดูหยาบคายมากควรจะนับว่าสิ้นได้แล้ว ด้วยให้แขวงหนึ่งบ้าน ด้วยจะหาพระทรงปาติโมกข์แต่รูปก็ไม่ได้ บวชแล้วก็ไปอยู่ตามไร่นา การศึกษเล่าเรียนไม่ธุระเป็นอย่างนี้โดยมาก ที่ปฏิบัติมีแต่น้อย มีหมายประกาศไป อ่านหนังสือไม่ออก...”

จากข้อความดังกล่าว กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะของพระสงฆ์แถบเมืองนครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นอาจจะนิยมออกไปอยู่ตามป่าเขา ไร่นา คล้ายคลึงกับพระธุดงค์ที่เน้นการศึกษา ฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่สนใจศึกษาด้านคันถธุระ อันเป็นอุปสรรคในการปกครองสงฆ์ของพระครูวิจิตรธรรมภาณี ที่เน้นการพัฒนาการศึกษาสงฆ์ด้านคันถธุระเป็นสาคัญ ถ้าเป็นจริงตามข้อสังเกตจะเห็นว่า “สาเร็จลุน” เป็นพระเถระผู้นาด้านวิปัสสนาธุระที่มีลูกศิษย์ผู้เคารพเลื่อมใสจำนวนมาก (กิติรัตน์ สีหบัณฑ์, ๒๕๓๘ : ๑๓๔)ปฏิปทาแห่งผู้รู้วันหนึ่งมีผู้รู้จากสำนักต่าง ๆ มาทดสอบความเป็นผู้รู้หรือปราชญ์ของคนนครจำปาศักดิ์ วิธีการคือแก้ผูกหนังสือใบลานหลายคัมภีร์ แล้วคละรวมกันในห้องขนาดใหญ่ มีความหนาของใบลานที่กองรวมกันประมาณหนึ่งคืบ แล้วให้ผู้เข้าทดสอบจัดใบลานเหล่านั้นรวมเป็นคัมภีร์ (เป็นผูก) เหมือนเดิมโดยให้เวลาครึ่งวัน ปรากฏว่าไม่มีใครทำได้นอกจากสำเร็จลุนองค์เดียว เป็นที่เลื่องลือในความเป็นปราชญ์ ไหวพริบมาก จึงมีผู้มาศึกษาเรียนรู้กับท่านมากขึ้น
พระมหาคาภา ชาวเมืองนครจำปาศักดิ์ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาแล้วกลับมาบ้านเกิด เห็นว่าเมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองอื่น ๆ มีพระพุทธรูปมากเกินไป จึงมีหนังสือถึงเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ให้หลอมรวมเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว แต่เจ้าเมือง คณะสงฆ์และชาวบ้านไม่เห็นด้วย แต่ไม่มีใครกล้าคัดค้าน อาจจะเพราะเห็นว่าพระมหาคาภาเป็นผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนามาจากเมืองลังกา ที่ได้ชื่อว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนั้น จึงคิดว่ามีพระสงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านและทางการมากองค์เดียวคือ สำเร็จลุนที่จะทัดทานพระมหาคาภาได้จึงไปนิมนต์ให้ช่วยเหลือ ครั้งแรกได้รับการปฏิเสธภายหลังทนการอ้อนวอนไม่ได้ท่านจึงรับปากช่วย แล้วจัดให้มีการถามปัญหาลักษณะ ปุจฉา – วิสัชนา ๒ ธรรมาสน์ โดยให้นิมนต์ พระมหาคาถามาเป็นคู่ถกปัญหาซึ่งสาเร็จลุนจะเป็นผู้ถาม (ปุจฉา) พระมหาคาภาเป็นผู้ตอบ (วิสัชชนา) ซึ่งมีการซักถามกัน ดังนี้
ถาม : ในภัทรกัปป์นี้มีพระพุทธเจ้าทั้งหมดกี่พระองค์
ตอบ : มีทั้งหมด ๕ พระองค์
ถาม : มีทั้งหมด ๖ พระองค์ไม่ใช่หรือ
ตอบ : มี ๕ พระองค์แน่นอน กล่าวคือ กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโม และศรีอริยเมตไตยโย
ถาม : ขาดอีกองค์หนึ่งใช่หรือไม่
ตอบ : หมดแค่นั้นไม่มีอีกแล้ว
ถาม : อีกองค์หนึ่งคือ พระมหาคาภาใช่ไหม
ตอบ : เอ้า ทาไมพูดเช่นนั้น ไม่ใช่ข้าน้อย (ผม) แน่
ถาม : เจ้าเรียนมาจากไหน
ตอบ : ประเทศลังกา 
ถาม : ที่ประเทศลังกา เขาสอนให้ทาลายแล้วหลอมรวมพระพุทธรูปอย่างนั้นหรือ ที่นี้ประเทศเราใครๆ ก็เคารพบูชาต่างก็กราบไหว้ ไม่กล้าแม้เข้าใกล้และแตะต้องถ้าไม่จำเป็นจะไม่ขนย้ายถึงจะปรักหักพังก็ไม่มีใครทุบทำลายทิ้ง มีแต่จะบูรณะซ่อมแซมไว้หรือไม่ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติให้เสื่อมสลายไปเองถ้าจะทำจริง ๆ ขอให้ไปทำที่ประเทศลังกาเถิด พระมหาคาถาไม่มีคำตอบได้แต่นิ่งเงียบ สำเร็จลุนหันไปถามพระสงฆ์และชาวบ้านที่มาชุมนุมฟังการถกปัญหากันอยู่ว่า จะเอาอย่างพระมหาคาถาหรือจะเอาแบบของท่าน ทุกคนต่างก็ยกมือคัดค้านพระมหาคาถาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่อยากเป็นเช่นพระเทวทัตต์เพราะกลัวบาปกรณีนี้ จึงยกเลิกไป (สวิง บุญเจิม, ๒๕๔๕)

คาคมคาสอน“หกสองหก ยกออกสองตัว แก้วอยู่หัวตัวเดียวอย่าละ นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น” หมายความว่า ใครอยากมีอิทธิฤทธิ์มีความสำเร็จอย่างไร ต้องให้ความสำคัญกับอายตนะภายใน ๖ อายตนะ ภายนอก ๖ ถอดออกมาโดยสรุปคือ ๒ ได้แก่ นามและรูป (จิตกับกาย) แก้วอยู่หัว หมายถึง ความมีสติอย่าประมาท นะอยู่ไส ใส่ใจบ่อนฮั่น คือของที่ควรเคารพบูชาอยู่ไหนให้ยำเกรงกราบไหว้บูชา นี่คือคำคมคำสอนของท่านส่วนหนึ่งควรนำไปศึกษาและปฏิบัติอย่างยิ่งสมณศักดิ์หลวงปู่ลุนไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งทางคณะสงฆ์ตำแหน่งใด
นอกจากเรียกว่า “สำเร็จ” ตาแหน่ง “สาเร็จ” หรือ “ญาสาเร็จ” เป็นสมณศักดิ์ที่ชาวบ้านหรือชาวเมืองมอบถวายพระสงฆ์ หลังจากผ่านการบวชเรียนมานานพอสมควรได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามฮีตคองสงฆ์ รวมทั้งที่เล่าเรียนจบหลักสูตรมนต์น้อย มนต์กลางแล้ว ชาวบ้านพร้อมใจกันประกอบพิธี “หดสรง” ให้พระสงฆ์องค์นั้นแล้ว จึงเรียก “สาเร็จ” ส่วนสาเร็จลุนก็คงจะผ่านพิธี “หดสรง” จากญาติโยมมาแล้วเช่นกัน
หลวงปู่โทนได้กล่าวถึง “สำเร็จลุน” ตามที่ชาวบ้านเรียก “สาเร็จ” นั้น เพราะมีความเชื่อว่าท่าน ได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เช่นเดียวกับหลวงปู่สีดาซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่โทนก็เรียกว่า “สาเร็จสีดา” เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่รู้จักมากเท่าสาเร็จลุน ซึ่งถือกันว่าเป็น ผู้เรืองสรรพเวทย์จนเลื่องลือกันว่า เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือที่เรียกว่า “วิชาย่อแผ่นดิน”มรณภาพหลวงปู่ลุนขณะจำพรรษาที่วัดเวินไซ บ้านเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ขณะอาพาธก่อนมรณภาพ หลวงปู่โทนกล่าวว่าหลวงปู่ลุนได้ส่งคนให้มาตามไปพบที่นครจำปาศักดิ์ แต่ไม่ได้ไปเพราะติดภาระสอนพระภิกษุสามเณร จึงมอบให้คนอื่นไปแทนและจะตามไปทีหลัง แต่ยังไม่ได้เดินทางก็ทราบจากญาติโยมที่ไปเยี่ยมหลวงปู่ลุนว่าท่านได้นิพพาน (มรณภาพ) แล้ว พร้อมทั้งสั่งว่าให้เอา “ไม้เท้า” ที่ฝากไว้กับหลวงปู่สีดามอบให้พระโทน (หลวงปู่โทน) เก็บรักษาไว้ อย่าให้คนอื่น ซึ่งหลวงปู่โทนก็ได้เก็บรักษาไว้ตลอดมาจนถึงมรณภาพ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ไม้เท้าสาเร็จลุนจึงเป็นหลักฐานชิ้นสาคัญในการศึกษาประวัติหลวงปู่ลุน หลวงปู่ลุนมรณภาพ หลังจากหลวงปู่โทนอุปสมบทได้ ๓ พรรษา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน รวมอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔

สำเร็จลุน หรือหลวงปู่ลุน นับเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ๆ ที่ชาวอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แม้ว่าวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาส่วนหนึ่งของท่านเป็นไปในแนวทาง พระเกจิอาจารย์คือ มีความรู้ความสามารถในเรื่องคาถาอาคม เวทมนต์ต่าง ๆ จนเชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคสมัยนั้น ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง “เทวนิยม” เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา ภูตผีต่าง ๆ เป็นต้น ผสมผสานกับความเชื่อในหลักศาสนา คือพราหมณ์และพุทธที่เคารพนับถืออีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นพระสงฆ์เถระซึ่งชื่อว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ก็ย่อมจะใช้หลักความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอบรมเล่าเรียนมาในแต่ละด้าน หรือผสมผสานกันหลาย ๆ ด้าน เพื่อเป็นกลวิธีหรือุบายในการอบรม สั่งสอน ฝึกฝนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติ ตามจริตความสามารถแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้ทุกคนมีสุขกาย สบายใจ ถือเป็นความสุขของชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ลุนจึงเป็นทั้ง พระวิปัสสนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลโดยแท้จริงอีกองค์หนึ่ง
หนังสืออ้างอิง
กิ่งธรรม. โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผลเถร) ณ เมรุวัดมณีวนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๘.
คณะศิษยานุศิษย์. หลวงปู่โทน กนฺตสีโล (พระครูพิศาลสังฆกิจ) ประวัติธรรมะและคติธรรม. ตารายาสมุนไพร พระคาถาต่าง ๆ เนื่องในโอกาสครบอายุ ๙๑ ปี ๑๔ ธ.ค. ๓๑. อุบลราชธานี, ๒๕๓๑.
สวิง บุญเจิม. ประวัติและของดีสาเร็จลุน. อุบลราชธานี, สานักพิมพ์มรดกอีสาน, ๒๕๔๕.
ที่มา : http://www.lib.ubu.ac.th/monkubon/file/MO45.pdf[/size]

เมืองโคตรภู เมืองโบราณ (บ้านแข้ด่อน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี)


  ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสด็จมาที่แผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยเสด็จมา ที่
ภูเขาหัวช้างเมืองโคตรภู (ปัจจุบันนี้คือยอดลำโดมใหญ่ บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี) พร้อมทั้งพระอรหันตสาวกอัน ประกอบไปด้วย พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระสิวลี พระมหากัจจายนะ และพระมหาเทวจักรเป็นประธานสงฆ์ ในเขตสุวรรณ   ภูมิ ได้มาถวายการต้อนรับ
   ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตัดพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๑๐ นิ้ว และได้ พระราชทานพระนขาข้างขวาให้แก่พระมหากัสสปะ ส่วนพระนขาข้างซ้ายเทวดาได้อัญเชิญขึ้นไปเก็บไว้ที่ เทวโลก พระมหากัสสปะได้ทราบพุทธประสงค์แล้ว จึงได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้กับพระสิวลี พระมหาเทวจักร ได้ดำเนิน การสร้างพระพุทธรูปเพื่อบรรจุพระพุทธนขา พระสิวลีและพระมหาเทวจักรจึงได้จัดสร้างพระพุทธรูป ซึ่งทำจากทอง คำทั้งองค์ มีขนาดหน้าตัก กว้าง ๒.๙ เมตร เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จกลับไป พระมหากัสสปะ ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่เมือง โคตรภู เพื่อให้ประชาชนชาวเมืองโคตภูได้กราบไหว้บูชา สักการะ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
" โคตะมะ " เนื่องจากเป็นพระพุทธรูป ที่ภายในบรรจุพระ พุทธนขา จึงเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนแห่งพระบรมศาสดา จากนั้นท่านก็ได้ไปแกะสลักรูปนารายณ์บรรทมศิลป์ แล้วจารึกเป็นภาษา ฮินดีว่า ศรีสุริยะ ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับประเทศอินเดีย

ภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ชาวเมืองโคตรภู ได้เกิดทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพระพุทธรูป เพราะต่างก็อยาก จะครอบครอง จนทำให้บ้านเมืองเสียหายเพราะภัยสงคราม พระพุทธรูปเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้เสด็จลงสู่แม่น้ำ ลำโดม บริเวณวังมน วังฮี ลอยมาตามกระแสแม่น้ำมา มาหยุดอยู่ที่วัดแสนชะนี และจมอยู่ภายใต้พื้นดิน

จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีผู้ใดได้ล่วงรู้ถึงพระพุทธรูปโคตมะองค์นี้อีกเลย

คัมภีร์โบราณ (วัดภูพลานสูง อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี)

เทวดานำพระคัมภีร์โบราณมาถวาย
พระคัมภีร์โบราณ ๔ แผ่นแรก
   ในวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ (ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา) เทวดาได้นำ พระคัมภีร์โบราณ ส่วนแรก จำนวน ๔ แผ่นมาถวายหลวงพ่อภรังสีในเวลา ๐๔.๐๐ น.จากการสอบถามเทวดาที่นำพระคัมภีร์มาถวายได้ทราบว่า เป็นพระคัมภีร์ที่ได้บันทึกเรื่องราวของ พระบรมสารีริกธาตุและคำทำนายเกี่ยวกับวัดภูพลานสูง ถูกบรรจุไว้ใน เจดีย์พระธาตุพนม ในปี ๒๔๔๔ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ได้ ไปบูรณะพระธาตุพนม ได้พบพระคัมภีร์นี้ จึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎก วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราช ธานี หลังจากท่านมรณภาพแล้ว ไม่มีผู้ใดได้พบเห็นพระคัมภีร์นี้อีกเลย จนกระทั่งเทวดาทั้ง ๘ องค์ ผู้รักษาพระ คัมภีร์ ได้นำมาถวายหลวงพ่อ เพื่อให้เก็บไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ
หอพระไตรปิฎกกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมือง
   วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ( ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ) เทวดาได้นำพระคัมภีร์ ส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๑ แผ่น มาถวาย จากการสอบถามจึงได้ทราบว่าพระคัมภีร์โบราณนี้เก็บรักษาไว้ ที่เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ( ภายหลังได้ทราบว่า เป็นนครจำปาศรี ) เทวดาได้นำมาถวายไว้เพื่อเป็นหลักฐานและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ หลวงพ่อได้รับพระคัมภีร์นี้ไว้ และได้ให้พรแก่เทวดา จากนั้นก็ได้ทำการศึกษาค้นคว้าถอดใจความพระคัมภีร์ออกมา จึงได้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตามมาภายหลัง ได้มีการค้นพบพระพุทธโลหิตธาตุ พระพุทธทันตธาตุ และรอยพระพุทธบาทที่ภูพลานสูง ในเวลาต่อมา จากร่องรอยหลักฐานบันทึกที่มีปรากฏในพระคัมภีร์โบราณ พระคัมภีร์นี้จึงถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่เรื่องราว ประวัติของพระบรมสารีริกธาตุการเดินทางจากอินเดีย สู่สุวรรณภูมิของพระบรมสารีริกธาตุโดยละเอียด
ลักษณะของพระคัมภีร์
   พระคัมภีร์นี้ถูกจารึกลงในกระดาษ ที่ทำจากเปลือกไม้แล้วย้อมด้วยสีดำ มีขนาดความกว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๑๕ นิ้ว วัสดุที่ใช้เขียนนั้น เป็นแร่กำมะไนท์ มีสีคล้ายตะกั่วเมื่อกระทบกับแสงสว่างจะปรากฏเป็นตัวอักษรชัดเจน โดยได้ จารึกเป็นอักษร และภาพลายเส้น ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ ส่วนที่ ๑ มี๔ แผ่น จารึกด้วยตัวอักษรธรรมอิสานโบราณ ตัวอักษรขอม ว่าด้วยคำทำนายเกี่ยวกับวัดภูพลานสูง และอักษรภาพลายเส้นแสดงแผนผังการจัดสร้างพระมหา เจดีย์ จำนวน ๔ หน้า ส่วนด้านหลังเขียนด้วยอักษรไทย แต่น่าเสียดายที่ตัวอักษรนั้นเลือนลางมากไม่ สามารถถอดใจความได้ สันนิษฐานว่า เป็นบทบันทึกของพระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้ค้นพบ ส่วนที่ ๒ มี ๑๑ แผ่น ๑๙ หน้า จารึกเป็นตัวอักษรขอมราม เป็นภาษาฮินดี ว่าด้วยเรื่องการเสด็จมาสู่สุวรรณภูมิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประวัติของพระเทวจักรผู้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองอินเดียสู่สุวรรณภูมิ สงครามแย่งพระชิงพระบรมสารีริกธาตุ บุคคลผู้ที่จะมาทำหน้าที่รองรับพระบรมสารีริกธาตุ คำทำนายเกี่ยวกับ สมบัติ (ดูรายละเอียดได้ในคำแปล) และเป็นภาพลายเส้น ๘ หน้า ในภาพนั้นได้วาดภาพ พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ภาพพระเจดีย์โบราณ ที่พระบรมสารีริกธาตุเคยถูกบรรจุไว้ ภาพเส้นทางการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ภาพที่ แสดงถึงพุทธเกศาธาตุ พระจีวรธาตุ(ใยพระแก้ว) พุทธโลหิต พุทธทันตธาตุ ภาพยันตร์โบราณ ภาพไหที่เคย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และที่สำคัญคือภาพรอยพระพุทธบาท ซึ่งได้เขียนไว้ถึง ๒หน้า อันนำมา ซึ่งการค้นพบ รอยพระพุทธบาทในภายหลัง พระคัมภีร์นี้จึงมี ทั้งหมด๑๕ แผ่น บันทึกอักษรและภาพ ๒๓ หน้า
คำแปลพระคัมภีร์โบราณ
   ต่อจากนี้จะได้นำเสนอบทแปล ซึ่งหลวงพ่อภรังสี ได้แปลออกมาโดยอาศัยหลวงปู่ใหญ่ เป็นผู้แปลออกมา ผ่านทางนิมิต เนื่องจากอักษรดังกล่าวเก่าแก่มาก นักวิชาการที่ขึ้นมาดูอักษรนี้ต่างก็จนปัญญาไม่สามารถที่จะแปล ออกมาได้ คำแปลส่วนใหญ่เป็นภาษาอิสาน หลวงพ่อได้เล่าว่า ที่เป็นภาษาอิสานเพราะพระเทวจักร ได้เล็งเห็น ด้วยญาณว่า คนที่มาเกิดในสุวรรณภูมิในอนาคตจะพูดภาษา อิสาน ท่านจึงเขียนเป็นภาษาอิสาน
คำแปลในส่วนที่ ๑ จำนวน ๔ หน้า
คำทำนายเกี่ยวกับวัดภูพลานสูง
   จักมีพระธาตุเสด็จมาวัดภูพลานสูง ล้วนแล้วแต่เสด็จก้ำเกิ่งสมบัติไหลหลั่งเทมาบ่ได้ขาด ล้วนก้ำแต่งเอา (ด่างดีสี) ข้าวแลน้ำปลาปั้นแบ่งกัน เดือน ๑๑ ผู้ใดได้ล้วนแต่ดี กะสิฮู้ประตูเงิน ประตูคำสำริดลุล่วงศิวิไล แต่งพญาธรรมไปแล้ว สมควรเป็นเอก นะตันทะรุ อุพะวะ ลึงนะมะวันไสแส่ง พะลิวะโรวะสะลี อาถรรพ์ถ้ำ อุกินะพะวะนะตะ นำดิละมุ ริวะรัง หังหารวะติโย อุนะงอน สอนธัมวะผ่งๆ เมืองมอญ ฤทธิ์นำจำเหลื่อม ไผอยู่ได้ให้ฮุ่งเฮือง ทศวรรษ ๒๕๕๐ เพิ่มพระอังคาร หยิ่งก้ำลำแสงแหล่งปฐพีทุกแห่ง อันนี้ยิ่งกว่าลำแสง ข้อพระหัตถ์ เทียมราชาเจ้า เขาคนนั้น กำมะจรพญานาค หมายหมั้นต่อพระองค์ กรรมมหาฤทธิ์ เยิ้นชื่อกุมาร บุตรีทรกันแสง มิ่งเมืองพายฟื้น เมืองใต้จม เมืองเหนือสิขึ้น ย้ายเมืองเกยฝั่ง คนหลั่งขึ้นเหนือก้ำฝ่ายบุญ (ด่างดาดีสี )

พระมหาเจดีย์

รอยพระพุทธบาท

จิตรกรรมฝาผนัง ในพระมหาเจดีย์




อักขรโบราณ ณ บ่อน้ำบุ้น
ตำนานรอยพระพุทธบาท


คำแปลในส่วนที่ ๒ จำนวน ๑๑แผ่น ๑๙ หน้า
ว่าด้วยเรื่องราวพระพุทธองค์ทรงเสด็จสุวรรณภูมิโปรดพระเทวจักร
   จะกล่าวถึงพระมหาเทวจักร ผู้มีฤทธากล้ากำหนดเมฆหมอก สวรรค์อยู่ในโลกันต์ครบสามพันโกฏิพระวรรษา พอดี จักได้มาจุติเกิดร่วมพิภพ แต่ครั้งนั้นในสมัยมืดแจ้งเรียกตั้งชื่อเอาเอง พุทธองค์ทรงบำเพ็ญตบะหาผู้รองรับ พุทธองค์ต่อไป หลังจากพุทธองค์ดับขันธปรินิพพานจวบครบ ๑๒ ปี พระอรหันต์จึงได้มีมาถึงเมืองสุวรรณภูมิ เป็นเขต อภิญญาญาณ มรณา เมตตา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค วิโภหะ วิราหะ เมื่อจักเกิดเมื่อจักดับ ลมเป็นบ่อเกิด ลมเป็นบ่อตาย ดูราเจ้าอนุสินธุ์เป็นเลิศ รู้จักเกิดรู้จักดับ รับคำอาราธนายังได้มาจุติไว้ในสมัยครั้งพุทธองค์ลงบาดาลซึ่ง มีพระมหาโมคคัลลานะ ลงติดตามไปเมืองนาคา พระยานาคราช ในที่นั้นทรงจารึกไว้ด้วยแผ่นทองคำ สิบพัน หนึ่งจนว่าจวบ พ.ศ. ๒๕๕๐ ผูกนี้พระมหาโมคคัลลานะรับเอา
ว่าด้วยบทบันทึกในเมืองบาดาล
   เมื่อนั้นเห็นว่าจึ่งได้ทวงหาเกิดเดือดร้อนเมืองบาดาล จึงเสด็จไปโปรดเมืองบาดาล กรรมมหาฤทธิ์ทะยาน นบนอบ กราบพระองค์ปลงสังเวช ดูก่อนกรรมมหาฤทธิ์ท่านประสงค์สิ่งใด๋ ท่านมีวาสนาเหลือล้น จักแผงตน ในคราบสัตว์เดรัจฉาน ๓๒ ซาติ เจ้าบำเพ็ญได้ดั่งปรารถนา เจ้าประสงค์สิ่งใด๋แท้ เราพึงให้ดั่งหมาย จักมรณัง เมี้ยนแผงเอาคราบใหม่ จึงได้จุติเกิดขึ้น เมืองนั้นชื่นชม บั้นหนึ่งนั้นมีเชื้อชิงเสนา เฮาจักไขปัญหา มิ่งเมืองภายซ้อย หลังจากนั้น ทรงกลับดับขันธปรินิพพาน เมื่อครั้งต่อมาเห็นดีแล้ว พระอาสาไปก่อนล่วงหน้า คิดว่าเห็นสมควร จักถือคำพุทธองค์เอาไว้
ว่าด้วยบุคคลผู้ที่จะมารองรับพระบรมสารีริกธาตุ
   คำปรารภ มีอยู่ ๗๒ พระองค์ที่มาเกิดในพระพุทธศาสนาตามคำบัญชากล่าวไว้ว่า มี เสา ดีโลด ยืน มั่น มั่น ด่าง จวน อานนท์ ชา สาย หล้า ภูลังกา ตอนภรังสี ประกาศบำเพ็ญกุศล เผ่ยย่ำห่วง ฮองย็อกฉ่าย ยำว็อกไห่ กิดีมี ลัดฝ่อ ต่างมุเย่า เวว็อดห่ากีดิ พุทธาวดิ
ว่าด้วยคำทำนายเกี่ยวกับบ้านเมือง
   เมื่อศตวรรษโลกจักได้เสื่อม พระศาสนามีราชาองค์น้อยหายใจบ่ทั่วท้อง เข้ามาเชิดชู คนจักมรณาม้วน สูญพันธ์เมิดเผ่า พระเจ้าอุบัติเกิดขึ้นแล้ว เมืองนั้นเปลี่ยนแปลง เมืองเหนือหากสิขึ้น เมืองกลางหากปั่นป่วน ทาง ในเกิดเดือดร้อนหวังฆ่าแต่กัน ต่อจากพระวรรษา ๒๕๕๐ นี้ พระยาสิเริ่มใหญ่ เมืองนั้นกะสิ ได้เปลี่ยนแปลง มีขาวมีดำ สมกันเกิดโลกใหม่ ยุคศิวิไล พระสีส้มโยมสีเหลืองเมิดหมู่ โห่โห่ก้องขึ้นสู่สุวรรณภูมิ คงความเห็น ดั่งเดียวคำย้อง พุทธองค์ลงมาโปรด ดูราโลกใหม่ คนโฮมไหลหลั่งเต้า มาเผ้า (เฝ้า) ต่อพระองค์ จักกล่าวเรื่องไว้ให้พอเป็นสังเขป มีเสนาทั้งเจ็ดอยู่วังมาตุ้ม พระยามู แลมะตู วือว็อด อองค็อย องกา เสนา อ็องกุด
ว่าด้วยผูกสมบัติ
   มีเมืองล่มจม บาดาลหลายแห่ง ของสิฟูโผล่ขึ้น มาตุ้มราชวงศ์ เลาะเลียบเขตอยู่เหล่าอาณาจักร สิมีเงินคำ ฮุ่งมาเหลืองเหลื่อม ข้าจักแปงสารไว้ มีคำอยู่หลายบ่อ บ่อหนึ่งนั้นอยู่ก้ำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเงินคำอยู่แสนโกฏิ ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ฝั่งโดม มีคำอยู่กือหนึ่ง ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ฝั่งริมโขง ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ฮ่องปากเซ มีคำอยู่สิบโกฏิ ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ทางขึ้นพะลานสูง มีคำอยู่เจ็ดเกวียน ก้ำหนึ่งนั้นอยู่บ้านนาแคน ติดกับลำโดมน้อย ก้ำหนึ่งนั้นอยู่พะลานฮัง มีคำอยู่ฮั่น ๑๗ เกวียน ก้ำหนึ่งนั้นอยู่บ้านหนองแสง ก้ำหนึ่งนั้นอยู่บ้านคำม่วง มีคำอยู่ ๗ ไห ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ห้วยทับทัน มีคำอยู่ ๑๖ ก้อน แต่ละก้อนท่อกระบุง ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ภูผาขาด มีคำอยู่ ๕ หมื่นเกวียน ก้ำหนึ่งนั้นอยู่ซ่องผาอีด่าง มีแพรวพรรณมณีอยู่ ๖ ลำเกวียน เพิ่นได้คำนวณ ทรัพย์สินอันที่มา สร้างคันผู่ได๋มีบุญนั้นให้ไปแปงเอาเบิ่งคันแม่นแปงได้แล้วหมายสร้างดังประสงค์ เทวจักรเล็งไว้แล้วอิทธิญาณ เผื่อ ให้ผู้มีบุญได้ทราบเบิ่ง ดูราเจ้าองค์เอกสัพพัญญู ปูทางไว้ให้บุคลากรสานต่อ คันสังสิพ้อหมายหมั้นเพิ่งบุญ มูลพระเจ้า แบ่งให้ ผสมกันหลายอย่าง ต่างคนต่างฟั่นหันเข้าฮ่วมแกว ปองดองไว้แกวเดียว มิดหมู่เชื้อพระองค์แบ่งให้ ฮักษาไว้ฮีต คอง นิสุธัง อังคะอุ อะทุรัง วะยัง ปริสุทธัง ขอให้หมั้นเผิ่งพากัน คือฮากไผ่และกำแพง คำนี้ฮากแม่นว่าเมตตาหลวง วัดโกสัมพีอยู่สาวัตถีพุ้น นี่อีก วรรคหนึ่ง พระองค์ทรงบันทึกไว้ ณ สาวัตถี
ว่าด้วยเรื่องการอัญเชิญและสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ
   เมืองพม่า จักได้กล่าวถึงพระอิศเรศหงสา ในคั้งพระวรรษาที่ ๑๓ อยู่ที่นั้นอีก ๑ ปี มีศึกมาต้าน จักปล้น เอาพระธาตุอีก เทวจักรฟ้าว(รีบ)รวมอิทธิฤทธิ์เหาะเหินข้ามนทีคงคา ดังเสมือนไปถงสิบสองปันนา งอยฝั่งเลย หยุดยั้งอยู่ก้ำฝั่งไทยครั้งเนาอยู่ฮั่น ๖ เดือน เตือนประชากรทั้งหลาย มาสร้างโพนเนาเจดีย์ไว้ แมงเงาเฝ้า เจดีย์ได้หลายโต ๙ หมู่ข้าปูทางไว้ ทางก้ำฝั่งไทย จักย้ายเข้าสู่มอญขาวชาวนครชื่นชมมาต้อน ขอมดำดิน จักถวายปราสาทให้ เป็นที่รองรับ เทวจักรนำพระองค์ตั้ง ถวายให้แก่ขอมจักได้ว่าขึ้นอยู่ ๑๖ ปี มีราชา หลายเมือง โห่กันมาแย่ง เทวจักรได้เหาะเหินขึ้นส่ง ลงกลางดงปราสาทกว้าง หวังซ่อนพุทธองค์ เทวยักษา ตนหนึ่งยังกะเลวต่อต้านหวังสู้บ่ถอย เทวจักรจึงได้อ่อยๆแถลงความเฮาบุญมา เถิงบ่ตอบขาบ สองตาบข้าง องค์เอกสัพพัญญู ข้างว้ายองค์อังคาร ข้างขวาพระสารีริกธาตุ อสูรเจ้าหลงมัวทำบาปใหญ่ หัวเข่าตั้งลง กราบไหว้พนม โอนอท่านมีชื่อนามใด๋ โปดอภัยขอถามเรื่องราวพายซ้อย นามกรข้ายักษาโตหนึ่ง เขาทอบ กระดูก ไว้ เขาให้ฮักษา เฮานี้ได้ชื่อว่าเทวจักร มือกำคอยักษ์ ฮูบทะยานขึ้นบนฟ้า เลยอัดเข้า ปายเจดีย์ ยอดแก้ว แล้วจึงเหาะดุ่งผ้าย ไปก้ำฝ่ายขอม สงครามได้ ตีเมือง ตกพ่าย แหวกประตูผ่าม้าง เขานั้นข่มขอม ขอมกะยอมเมิดแล้ว พระยาเมืองต้านใส่ ถามว่าไสพระบรมสารีริกธาตุ ของค้ำคูณเมืองที่อยู่เนานำเจ้า เฮาสิมาขอสู้ ตีเอาส่วนแบ่ง พระยาแนมพระเนตรขึ้น องค์เจ้าพระประธาน ราชาแย่งขึ้นแบก องค์พระธาตุอยู่นี้ ชิงได้กะสิถอย นี่คือสงครามแย่งพระธาตุ
ว่าด้วยเรื่องพระเทวจักรนิพพาน
   เทวจักรนั่นหายใจลำบาก เล็งญาณสังสิยากต่อไป สงครามแย่งบ่อแม่นดินแดนหากแต่เป็นศรัทธาหลายเล็ง ดูแล้ว ใจหมายมั่นทุกข์คน จึงได้ขอบันดลให้สงครามแตกผ่าย แสนดีใจทุกก้ำ จากหั่นได้สงครามเงียบหนตนก็ได้ บำเพ็ญพระวัสสาจากลาสังขารสู่นิพพานหมดสิ้น
ว่าด้วยผูกพระโมคคัลานะ
   โมคคัลลานะด้นนำตนสืบต่อพระวัสสาสู่มื้อสังสิส่วยแต่กะยัง พุทธองค์ทรงสานต่อได้ถึงเกือบ หกร้อย พระวัสสา เกือบซาวพันปีต่อไปภายหน้า ไผผู้เล็งเห็นแล้วให้จุบเอาให้มันทั่วอิติ เกิดขึ้นแล้วจุบให้ฮุ่งเจริญ ในศตวรรษสองพัน
จบคำแปลพระคัมภีร์
******************
พญานาคถวายเครื่องบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
   ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๘ (ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา) พญานาคนามว่า ท้าวศรีสุทโธ ได้นำลูกแก้วมาถวายหลวงพ่อภรังสี เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน ๕ ลูก และ ท้าวศรีสุริยะเทพอินทร อดีตเจ้าเมืองพนมรุ้ง ได้นำลูกแก้วมาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ อีก ๒ ลูก เป็นเหตุให้ได้ทราบว่าแม้แต่ พญานาค และภพภูมิอื่น ๆ ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ค้นคว้าเพิ่มเติมที่ http://www.watphupalansung.com/index.php/about-us/http://www.watphupalansung.com/index.php/about-us/คัมภีร์โบราณ

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

สามเหลี่ยมมรกต (๑ ใน ๒แห่งของประเทศไทย ที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ๓ ประเทศ)

สามเหลี่ยมมรกต
เดิมเรียกชื่อว่า ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ในพื้นที่บ้านโนนสูง ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบริเวณเทือกเขาที่มีแนวเขตระหว่าง 3 ประเทศติดต่อกัน ได้แก่ ไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ของประเทศไทย นอกจาก สามเหลี่ยมทองคำ ปัจจุบันกำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญในอนาคตมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในทางทิศใต้ คือ ราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้รับการตั้งชื่อว่า สามเหลี่ยมมรกต

 (สามเหลี่ยมมรกตพื้นที่ล้ำค่าของสามประเทศ)ตั้งอยู่บริเวณช่องบกซึ่งเดิมเรียกว่า ช่องบก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนประวัติความเป็นมา เดิมชื่อ ช่องบก ซึ่งเป็นสมรภูมิสู้รบ ระหว่างทหารไทยกับกองกำลังต่างชาติ เมื่อประมาณปี 2528 กองกำลังต่างชาติได้รุกล้ำอธิปไตยเราเข้ามาทางประเทศกัมพูชายึดภูมิประเทศที่สำคัญ ๆ คือเนิน 382 เนิน 408 และเนิน 500 ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักในเขตประเทศไทย คำว่า สามเหลี่ยมมรกต นี้หลังจากสงครามสงบการสู้รบสงบลงทางรัฐบาลไทยโดยทางฝ่ายทหารมีความคิด จะเปลี่ยนสมรภูมิรบเป็นการส่งเสริมสัมพันธภาพ มิตรภาพหรือการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ จึงได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นมา


ส่วนคำว่า มรกต คือ พื้นที่ตรงนั้นมีความเขียวขจีของป่าไม้ซึ่งเป็นป่าดิบแล้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยาน จึงเป็นที่มาของคำว่า มรกต

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

"มหานทีสี่พันดอน"



    "มหานทีสี่พันดอน" 
เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงในประเทศลาวแตกตัวเป็นรูปพัด มีเกาะแก่งผุดขึ้นจำนวนมาก ด้านใต้สุดของสี่พันดอน เป็นชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา เป็นเวิ้งน้ำที่กว้างและลึก ความอบอุ่นของกระแสน้ำ ทำให้ฝูงปลามาชุกชุมกัน ณ จุดนี้ เป็นที่พักอาศัยของ โลมาน้ำจืด หรือ โลมาอิรวดี ที่ชาวลาวเรียกว่า "ปลาข่า" ซึ่งปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง


           ทำให้มีการตั้งข้อสงเกตุกันว่า โลมาสายพันธุ์นี้อาจสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดในทวีปเอเชียไปเสียแล้วหรือไร
            ครั้งหนึ่งแยงซีเกียงเคยมีโลมาดำผุดดำว่ายอยู่หลายร้อยตัว แต่อนิจจา... ความยาวของสายน้ำ 6,380 กิโลเมตร ไม่อาจปกปักรักษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสติปัญญาสูงชนิดนี้ไว้ให้พ้นจากเงื้อมมือมนุษย์ได้


            การลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าใจหายของจำนวนประชากรโลมาในลำน้ำแยงซีเกียง มีสาเหตุสำคัญจากกรณีที่โรงงานริมฝั่งแม่น้ำปล่อยสารพิษลงสู่แม่น้ำโดยไร้การควบคุม ประกอบกับมีการค้าเนื้อโลมากันมากทั้ง ๆ ที่โลมาเป็นสัตว์คุมครองประเภทที่ 1 ในจีน หวังว่าความพยายามของทีมนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้จะประสบผลสำเร็จค้นพบปลาโลมา white-flag dolphin เพื่อดำเนินการเพาะพันธุ์และอนุรักษ์ต่อไป
 โลมาอิระวดีอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม พบกระจายพันธุ์ทะเลสาบชิลิกา ประเทศอินเดีย ,ลุ่มน้ำอิรวดี ประเทศพม่า ,แม่น้ำโขง ประเทศลาว ,แม่น้ำมะหะขาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย ส่วนที่เรียกว่าโลมาอิรวดีนั้น ก็เพราะถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิระวดี ประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ แต่ในไทยเราเรียกทั้งโลมาอิรวดีและโลมาหัวบาตร ทางภาคใต้เรียกว่าโลมาหัวหมอน
           ก่อนหน้านี้ เคยมีโลมาอิรวดีจำนวนมากอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง โดยพบให้เห็นตั้งแต่ในเขตกัมพูชา น่านน้ำทางใต้ของลาว ไปจนถึงเวียดนาม แต่ปัจจุบันมีเพียง 80-100  ตัวที่ยังอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงใกล้พรมแดนลาว-กัมพูชา
           ภัยคุกคามที่น่าวิตกที่สุดคือการติดร่างแหจับปลาของชาวประมง การท่องเที่ยวอย่างไร้ระบบ และปัญหามลภาวะที่เลวร้ายลงทุกขณะ กำลังใกล้สูญพันธุ์
         กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) เตือนว่า ถ้าไม่เร่งหามาตรการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในช่วง 3-5 ปีนี้ โลมาอิรวดีก็อาจสูญพันธุ์ไปจากลำน้ำโขงภายในเวลาเพียง 15 ปีข้างหน้า
 สำหรับประเทศไทยนั้น โลมาอิรวดีเป็นหนึ่งในบรรดาโลมาราว 7-10  ชนิด มีรายงานการพบเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2446  ต่อมามีรายงานการพบเรื่อยๆ ทั้งบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย โดยพบแถวชายทะเลจังหวัดตราด จันทบุรี ทะเลสาบสงขลา และแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งพบในบริเวณฝั่งทะเลอันดามันด้วย รวมแล้วประมาณ 300  ตัว
            แม้โลมาอิรวดีจะถูกขึ้นเป็นสัตว์ในบัญชีหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์ ห้ามมีการซื้อขายระหว่างประเทศเด็ดขาดนั้น จาก คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการค้ารหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าหายาก (ไซเตส)  แต่โลมาอิรวดียังถูกล่าเพื่อแล่เนื้อขาย แล่ขายกลางตลาดเลยครับ
           ล่าสุดเมื่อปลายปี 2548 กรมทรัพยากรทางทะเลของไทยได้ส่งทีมลงพื้นที่เพื่อสำรวจ และประกาศจับทั้งผู้ขายและบริโภคเนื้อโลมาแล้ว

ชมภาพธรรมชาติ-มรดกโลกของแขวงจำปาสักได้ที่ http://www.oknation.net/blog/charlee/gallery/94
http://www.oknation.net/blog/charlee/2007/01/13/entry-1

ภาพยนต์ไทย


ภาพยนตร์ไทย 
มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย[1] พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย [2] ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์ ล่าสุด ภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดยอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ครั้งที่ 63 นับเป็นภาพยนตร์จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลนี้ [3] ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ และการมอบรางวัลทางภาพยนตร์อยู่หลายโครงการ 




ยุคเริ่มต้น
ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร 



ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคบุคเบิก
(2470 - 2489)

บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ ให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น หลวงภรตกรรมโกศล ตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ แสดงเป็นผู้ร้าย ภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย อีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้น ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อ ๆ มา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2470 เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายในกรุงเทพ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ได้รับความชื่นชม ต่อมา พี่น้องวสุวัต ซึ่งขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า 'บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง' ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งพิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปรกติ ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของวงการหนังไทย เพราะบริษัทเสียงศรีกรุงสร้างหนังตามที่เห็นว่าเหมาะสม และยังได้พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา หนังของบริษัทนี้ได้รับการต้อนรับในทุกแห่ง ยังเป็นที่กำเนิดของดาราคู่แรกของ วงการภาพยนตร์ไทย คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ และยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง 'บริษัทไทยฟิล์ม' ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและถูกแทนที่โดยภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์นำเข้าหลายเรื่องไม่มีบรรยายไทยจึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยาย นักพากย์ที่มีชื่อเสียง คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) ต่อมา ทิดเขียวก็ได้ผันตัวเองไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทิดเขียวทดลองพากย์เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซัน ด้วยความคึกคักของกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศพากย์ไทย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยบางรายซึ่งไม่มีทุนรอนมากนักเริ่มมองเห็นทางที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมากมายวิธีดังกล่าวคือ ลงมือถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์เงียบ หลังจากนั้น จึงเชิญนักพากย์ฝีมือดีมาบรรเลงเพลงพากย์ในภายหลัง ผู้ที่เริ่มบุกเบิกวิธีดังกล่าว คือ บริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 ราย ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ ซึ่งได้ทดลองสร้างหนังเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดียิ่ง จึงทำให้เกิดผู้สร้างรายเล็กรายใหญ่ตามมาหลายราย ในช่วงปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ได้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ผู้สร้างหนังในประเทศไทยจึงหันมาใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. แทนฟิล์มขนาด 35 มม. กิจการหนังพากย์สามารถยืนหยัดจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยการหันมาใช้ฟิล์ม 16 มม. ซึ่งยังพอหาได้จากท้องตลาด ดังนั้น ตลอดเวลาที่เกิดสงครามจึงมีหนังพากย์ 16 มม. ออกฉายโดยตลอดแม้จะไม่ต่อเนื่องก็ตาม ในช่วงสงคราม ผู้สร้างหนังหลายรายสามารถสร้างหนังออกมาได้เรื่อย ๆ การสร้างหนังไปหยุดชะงักลงอย่างถาวรก็ในช่วงปลาย ๆ สงคราม ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลานั้น กรุงเทพถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ไฟฟ้าดับอยู่เสมอ โรงหนังหลายโรงจึงต้องปิดกิจการชั่วคราว


ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 - 2515)
ภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง นำแสดงโดย พระนางคู่ขวัญ 'มิตร-เพชรา' ผู้สร้างหนังไทยหันมานิยมสร้างด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย การสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่การถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. และสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงเป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515 ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. นี้ แต่ก็เป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จ ที่เน้นความเพลิดเพลินเพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความจริงเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา บู๊ล้างผลาญรวมไปถึงโป๊บ้างในบางฉาก เรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรมและจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอ ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ยุคนี้ คือ ดาราในยุคนั้น มิตร ชัยบัญชาได้เล่นหนังเป็นพระเอกมาแล้วถึง 300 เรื่อง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะมีดาราหญิงอยู่กลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอันดับดารายอดนิยม นับตั้งแต่วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อมรา อัศวนนท์ และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทั้งนี้ ก่อนปี พ.ศ. 2502 คู่พระ-คู่นางที่ผูกขาดวงการภาพยนตร์ไทยก็ยังไม่ปรากฏ มีเพียงกลุ่มนักแสดงชั้นนำที่คนดูให้การยอมรับหรือชื่นชมเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2505-2513 พระเอก-นางเอก ของวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้ถูกผูกขาดโดย 'มิตร-เพชรา' ระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ยุคนั้น ตัวแสดงพูดไปตามบทโดยไม่มีการบันทึกเสียง นักพากย์จึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกับคนดูได้ ก็เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์ ในช่วงเวลานั้นนักพากย์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่ รุจิรา-มารศรี พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรื่อง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา สมพงษ์ วงศ์รักไทย ฯลฯ 

ภาพยนตร์ไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)
ในภาวะที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529 มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2521-2525 นั้น เป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคม ภาพยนตร์เรื่องเขาชื่อกานต์ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์ และภิญโญ ทองเจือ เมื่อ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 และส่งผลให้หนัง 16 มม. ถึงจุดจบตามไปด้วย เป็นช่วงเวลาที่กิจการสร้างหนังไทยกำลังเปลี่ยนทั้งระบบ จากการสร้างภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร พากย์สด ไปเป็นการสร้างภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม อันเป็นผลจากการตั้งเงื่อนไขในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยของรัฐบาล ในช่วงนั้นได้มีผู้กำกับหัวก้าวหน้าอย่างเปี๊ยก โปสเตอร์ ที่สร้าง โทน ด้วยระบบ 35 มม. แม้ว่าเนื้อหาจะเน้นความบันเทิงเป็นหลัก ทว่าแฝงแรงบันดาลใจให้คนหลายคน โดยเฉพาะ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย และสักกะ จารุจินดา ทำหนังเชิงวิพากษ์สังคมก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ มีปัญหากับเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่สร้างขึ้นมาพูดถึงระบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าแตะต้อง ในระยะไล่เลี่ยกัน สักกะ จารุจินดา ได้นำ ตลาดพรหมจารี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งนักวิจารณ์และคนดู ในภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม ได้มีภาพส่วนหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์จริงในการเดินขบวน เมื่อเข้าฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 เทพธิดาโรงแรม ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หลังจากนั้น ท่านมุ้ยได้สร้างหนังออกมาอีกหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหนังรักและหนังวิพากษ์สังคม อย่างเช่น เทวดาเดินดิน เป็นหนังอีกเรื่องที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาด้วยเจตจำนงที่จะวิพากษ์วิจารณ์สังคมเมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานจนเฟ้อ หลังจากโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผ่านไป บ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง เมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี บ้านเมืองไม่ผิดแผกจากยุคเผด็จการทหาร คนทำหนังส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผู้สร้างหนังจำต้องยุติบทบาททางการเมืองของตนเองลงโดยปริยาย หนังที่ผลิตออกมาในช่วงนี้กลับสู่ความบันเทิงเต็มรูปแบบอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นหนังตลกที่ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น รักอุตลุด หรือ เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง ของสมพงษ์ ตรีบุปผา ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ จากเมตรละ 2.20 บาท เป็นเมตรละ 30 บาท ส่งผลทำให้ผู้สั่งหนังเทศต้องชะลอการสั่งหนังลงชั่วคราว ในทางตรงกันข้ามกลุ่มผู้สร้างหนังไทยได้รับความคึกคักขึ้น ในช่วงเวลานี้เองมีการผลิตหนังไทยเพิ่มถึงปีละ 160 เรื่อง ปี พ.ศ. 2521-2523 หนังสะท้อนสังคมโดยกลุ่มผู้สร้างที่เป็นคลื่นลูกใหม่ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างมากมาย อาทิ ครูบ้านนอก เทพธิดาบาร์ 21 น้ำค้างหยดเดียว เมืองขอทาน ฯลฯ ในจำนวนนี้ ครูบ้านนอก ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด แม้กลุ่มนักแสดงจะเป็นคนหน้าใหม่แทบทั้งสิ้น


ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ (2530 - 2539)
ภาพยนตร์เรื่องบ้านผีปอบ ในช่วงต้นทศวรรษ วัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของคนทำหนังไทยตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2531-2532 หลังความสำเร็จของ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย, ปลื้ม ,ฉลุย และบุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531) เรื่องหลังเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับรุ่นเดียวกับยุทธนา มุกดาสนิท ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 บัณฑิตทำหนังชุดบุญชูถึง 6 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2534 ไทเอนเตอร์เทนเมนท์ ประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ นอกจากหนังประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ (เป็นแนวพิเศษที่แยกออกมาจากหนังชีวิต นิยมสร้างกันในช่วงปี พ.ศ. 2532-2535 โดยมีตลาดวิดีโอเป็นเป้าหมายหลัก) ส่วนใหญ่เป็นหนังเกรดบี หรือ หนังลงทุนต่ำของผู้สร้างรายเล็ก ๆ หนังที่โดดเด่นในบรรดาหนังเกรดบี คือ หนังผีในชุดบ้านผีปอบ ซึ่งสร้างติดต่อกันมากว่า 10 ภาคในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537 เหตุเพราะเป็นหนังลงทุนต่ำที่ทำกำไรดี โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด ในช่วงปลายทศวรรษ คนทำหนังไทยได้ปรับปรุงคุณภาพของงานสร้าง จนกระทั่งหนังไทยชั้นดีมีรูปลักษณ์ไม่ห่างจากหนังระดับมาตรฐานของฮ่องกง หรือ ฮอลลีวูดแต่จำนวนการสร้างหนังก็ลดลง จากที่เคยออกฉายมากกว่า 100 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2533 ลดลงเหลือเพียงราว 30 เรื่องในปี พ.ศ. 2539 ทางด้านรายได้ จากเพดานรายได้ จากระดับ 20-30 ล้านบาท (ต่อเรื่อง) ในระหว่างปี 2531-2534 สู่ระดับ 50- 70 ล้านบาท ในระหว่างปี 2537-2540 แต่ยังห่างจากความสำเร็จของหนังฮอลลีวูดที่พุ่งผ่าน 100 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 การเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ไทยนั้น มีผลจากการเติบโตของตลาดวิดีโอ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหนังฮอลลีวูดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบโรงหนังในกรุงเทพฯ สู่ระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 โรงหนังขนาดย่อยในห้างที่มีระบบเสียงและระบบการฉายทันสมัยเหล่านี้ นอกจากจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนเมืองแล้ว ยังมุ่งรองรับหนังฮอลลีวูดเป็นหลัก ทำให้หนังไทยถูกลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ 



ภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน
2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อเริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ก็มีปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการหนังไทยอีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้มากกว่า 70 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 – 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องสามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 700 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่ออกฉายต้นปี 2542 กวาดรายได้ไปถึง 150 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล กวาดรายได้ 150.4 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 120 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 99 ล้าน ในปี 2544 ถือเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทย อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่ ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภค แนวภาพยนตร์ มีทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์สยองขวัญ ภาพยนตร์ที่สร้างให้เกิดกระแสสังคม ภาพยนตร์ที่สะท้อนอุดมคติของความเป็นไทย ภายหลังการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ผู้คนเริ่มหันกลับมาค้นหาคุณค่าของความเป็นไทยด้วยความรู้สึกชาตินิยมจึงถูกปลุกขึ้นมาในช่วงนี้ นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิส ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้ตีตลาดต่างประเทศ อย่างภาพยนตร์เรื่อง Goal Club เกมล้มโต๊ะ, สุริโยไท, จัน ดารา, บางระจัน, ขวัญเรียม, นางนาก, สตรีเหล็ก, ฟ้าทะลายโจร, บางกอกแดนเจอรัส และ 14 ตุลา สงครามประชาชน และมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์อย่าง บางกอกแดนเจอรัส (2543) ไปเปิดตัวที่งานเทศกาลหนังที่โทรอนโต หรือ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2550 ภาพยนตร์ในรูปแบบชายรักชายเรื่อง เพื่อน...กูรักมึงว่ะ โดยผู้กำกับ พจน์ อานนท์ คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ประเทศเบลเยียมมาได้ 


  

http://pirun.ku.ac.th/~b5310803777/home-thai.html

หลักการร่างกฎกระทรวงให้เพิกถอน ป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่


มุมทิวทัศน์ ด้านทิศตะวันออก ของอำเภอน้ำยืน ซึ่งจะมองเห็นชุมชนเมือง
วิดีทัศน์ พิธีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ของอำเภอน้ำยืน ประจำปี ๒๕๕๙
สภาพถนน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลน้ำยืน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงให้เพิกถอน ป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ในท้องที่ตำบลตบหู อำเภอเดชอุดม ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย ตำบลยาง ตำบลยางใหญ่ ตำบลเก่าขาม ตำบลบุเปือย ตำบลสีวิเชียร ตำบลโซง ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน ตำบลขี้เหล็ก ตำบลไพบูลย์ ตำบลตาเกา และตำบลโคกสะอาด อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑,๐๖๓ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ บางส่วน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ ให้เพิกถอน ป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ในท้องที่ตำบลตบหู อำเภอเดชอุดม ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย ตำบลยาง ตำบลยางใหญ่ ตำบลเก่าขาม ตำบลบุเปือย ตำบลสีวิเชียร ตำบลโซง ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน ตำบลขี้เหล็ก ตำบลไพบูลย์ ตำบลตาเกา และตำบลโคกสะอาด อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑,๐๖๓ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ บางส่วน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

(ความคิดเห็นส่วนตัว)....(ภาพและวิดีโอ ที่นำเสนอ แม้จะไม่พัวพันกับเรื่องที่นำเสนอเท่าไหร่นัก แต่เพื่อชี้ชัดให้เห็นว่า ชาวอำเภอน้ำยืน เราอยู่ในเขตพื้นที่นี้ จนสามารถพัฒนา สร้างบ้านแปงเมือง เป็นชุมชนเมือง ภาพและวิดีโอ ที่นำเสนอเป็นภาพของชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลน้ำยืน ปัจจุบัน ยังเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และ ชาวอำเภอน้ำยืน (ส่วนใหญ่) ไม่มีเอกสารสิทธิในการครอบครองที่ดิน)

ในปี ๒๕๑๒ ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งน้ำยืน มีพื้นที่ ๑๑ ตำบล ๑๐๑ หมู่บ้าน
ในปี ๒๕๑๗ ได้ยกฐานะ เป็น อำเภอน้ำยืน (คงเหลือ ๗ตำบล) และ ได้แยกกิ่งน้ำขุ่น (๔ตำบล) จนปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นอำเภอน้ำขุ่น)
ในปี ๒๕๕๙ อำเภอน้ำยืน แบ่งการปกครองเป็น ๓ เทศบาล ๕ องค์การบริหารส่วนตำบล รวม ๑๐๑ หมู่บ้าน
http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99306240