วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

ทำไม?? อุบล จึงลงท้ายด้วย ราชธานี



1. ผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อีสานบอกว่า บังเอิญพบในหนังสือข่อยที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ในตำนานเมืองอุบลฯว่า เมืองอุบลฯนี้โปรดเกล้าฯให้เป็นเมืองอาสาข้าหลวงเดิม เพราะถ้ามีพระราชสงครามมาติดพันประเทศชาติ เมืองอุบลฯ(พระประทุมฯ)ก็โปรดเกล้าฯให้ติดสอยห้อยตามเสด็จไปปราบทุกครั้งฐานะเป็นประเทศราช จึงพระราชทานนามเมืองอุบลฯต่อท้ายว่า เมืองอุบลราชธานีดังกล่าวแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นกรุงเทพฯ ทำส่วยผึ้ง 2 เลกต่อเบี้ย น้ำรัก 2 ขวดต่อเบี้ย ป่าน 2 เลกต่อขอด
2. คุณทอง โรจนวิธาน เขียนว่า เจ้าปางคำเจ้าเมืองหนองบัวลุ่มภู มีโอรสองค์หนึ่งชื่อเจ้าพระตา เจ้าพระตามีโอรสคือเจ้าพระวอในประวัติศาสตร์อีสานกล่าวว่า เจ้าพระตา เจ้าพระวรราชภักดี(สามัญชนเรียกว่าเจ้าพระวอ)2 คนพี่น้องอันเป็นเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชที่ 2 (ชัยองค์เว้)อัยกาพระเจ้าศิริบุญสาร...”ทั้งสองเป็นบุตรเจ้าปางคำ เจ้าเมืองหนองบัวลุ่มภู
3. ที่ว่า ในปี พ..2322 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาสุภาวดีเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นมาตั้งเมืองอุบลฯ และพระราชทานให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองที่พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(คำผง)” นั้น ประวัติศาสตร์อีสานว่า จุลศักราช 1153 ปีกุน ตรีศก (..2334) เกิดกบฎอ้ายเชียงแก้ว อยู่บ้านเขาโอง แขวงเมืองสีทันดร...ยกมาล้อมเมืองนครจำปาศักดิ์นั้น เจ้าหน่อเมืองแสนท้าวพญาที่รักษาเมืองไม่ทันรู้ตัวเตรียมสู้ไม่ทัน เจ้าหน่อเมืองจึงพร้อมด้วยญาติวงศ์ไปอาศัยอยู่กับข่าพะนัง ความทราบถึง กรุงเทพมหานคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมายกกองทัพไปปราบอ้ายเชียงแก้ว ซึ่งยกกำลังมาต่อที่แก่งตะนะในลำแม่น้ำมูล(ท้องที่อำเภอบ้านด่านปัจจุบัน) แต่ยังมิทันที่จะยกไปเมืองพระประทุมฯ(คำผง)บ้านห้วยแจระแม เจ้าฝ่ายหน้าผู้พี่นายกองบ้านสิงห์ท่า จึงพากันยกกำลังไปตีอ้ายเชียงแก้วแตก เจ้าฝ่ายหน้าติดตามอ้ายเชียงแก้วจับได้แล้วฆ่าเสีย อดีกองทัพเจ้าพระยานครราชสีมาไปถึงก็พากันลงไปยังเมืองนครจำปาศักดิ์...
เพื่อเป็นบำเหน็จความดีความชอบครั้งนี้ รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านห้วยแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี ตามนามพระประทุมฯ และตั้งพระประทุมฯ ดังนี้

           





 เจ้าอุบลราชธานี

ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่านพิภพกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระประทุมฯ เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช เศกให้ ณ วันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ จุลศักราช 1154 ปีชวดจัตวาศก(ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2546 ความรู้เพิ่มเติมเมืองอุบลฯ หน้า 15)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น