วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

เมืองโคตรภู เมืองโบราณ (บ้านแข้ด่อน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี)


  ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสด็จมาที่แผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยเสด็จมา ที่
ภูเขาหัวช้างเมืองโคตรภู (ปัจจุบันนี้คือยอดลำโดมใหญ่ บ้านแข้ด่อน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี) พร้อมทั้งพระอรหันตสาวกอัน ประกอบไปด้วย พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระสิวลี พระมหากัจจายนะ และพระมหาเทวจักรเป็นประธานสงฆ์ ในเขตสุวรรณ   ภูมิ ได้มาถวายการต้อนรับ
   ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตัดพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๑๐ นิ้ว และได้ พระราชทานพระนขาข้างขวาให้แก่พระมหากัสสปะ ส่วนพระนขาข้างซ้ายเทวดาได้อัญเชิญขึ้นไปเก็บไว้ที่ เทวโลก พระมหากัสสปะได้ทราบพุทธประสงค์แล้ว จึงได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้กับพระสิวลี พระมหาเทวจักร ได้ดำเนิน การสร้างพระพุทธรูปเพื่อบรรจุพระพุทธนขา พระสิวลีและพระมหาเทวจักรจึงได้จัดสร้างพระพุทธรูป ซึ่งทำจากทอง คำทั้งองค์ มีขนาดหน้าตัก กว้าง ๒.๙ เมตร เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จกลับไป พระมหากัสสปะ ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่เมือง โคตรภู เพื่อให้ประชาชนชาวเมืองโคตภูได้กราบไหว้บูชา สักการะ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
" โคตะมะ " เนื่องจากเป็นพระพุทธรูป ที่ภายในบรรจุพระ พุทธนขา จึงเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนแห่งพระบรมศาสดา จากนั้นท่านก็ได้ไปแกะสลักรูปนารายณ์บรรทมศิลป์ แล้วจารึกเป็นภาษา ฮินดีว่า ศรีสุริยะ ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับประเทศอินเดีย

ภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ชาวเมืองโคตรภู ได้เกิดทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพระพุทธรูป เพราะต่างก็อยาก จะครอบครอง จนทำให้บ้านเมืองเสียหายเพราะภัยสงคราม พระพุทธรูปเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้เสด็จลงสู่แม่น้ำ ลำโดม บริเวณวังมน วังฮี ลอยมาตามกระแสแม่น้ำมา มาหยุดอยู่ที่วัดแสนชะนี และจมอยู่ภายใต้พื้นดิน

จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีผู้ใดได้ล่วงรู้ถึงพระพุทธรูปโคตมะองค์นี้อีกเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น