วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

"มหานทีสี่พันดอน"



    "มหานทีสี่พันดอน" 
เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงในประเทศลาวแตกตัวเป็นรูปพัด มีเกาะแก่งผุดขึ้นจำนวนมาก ด้านใต้สุดของสี่พันดอน เป็นชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา เป็นเวิ้งน้ำที่กว้างและลึก ความอบอุ่นของกระแสน้ำ ทำให้ฝูงปลามาชุกชุมกัน ณ จุดนี้ เป็นที่พักอาศัยของ โลมาน้ำจืด หรือ โลมาอิรวดี ที่ชาวลาวเรียกว่า "ปลาข่า" ซึ่งปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง


           ทำให้มีการตั้งข้อสงเกตุกันว่า โลมาสายพันธุ์นี้อาจสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดในทวีปเอเชียไปเสียแล้วหรือไร
            ครั้งหนึ่งแยงซีเกียงเคยมีโลมาดำผุดดำว่ายอยู่หลายร้อยตัว แต่อนิจจา... ความยาวของสายน้ำ 6,380 กิโลเมตร ไม่อาจปกปักรักษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสติปัญญาสูงชนิดนี้ไว้ให้พ้นจากเงื้อมมือมนุษย์ได้


            การลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าใจหายของจำนวนประชากรโลมาในลำน้ำแยงซีเกียง มีสาเหตุสำคัญจากกรณีที่โรงงานริมฝั่งแม่น้ำปล่อยสารพิษลงสู่แม่น้ำโดยไร้การควบคุม ประกอบกับมีการค้าเนื้อโลมากันมากทั้ง ๆ ที่โลมาเป็นสัตว์คุมครองประเภทที่ 1 ในจีน หวังว่าความพยายามของทีมนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้จะประสบผลสำเร็จค้นพบปลาโลมา white-flag dolphin เพื่อดำเนินการเพาะพันธุ์และอนุรักษ์ต่อไป
 โลมาอิระวดีอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม พบกระจายพันธุ์ทะเลสาบชิลิกา ประเทศอินเดีย ,ลุ่มน้ำอิรวดี ประเทศพม่า ,แม่น้ำโขง ประเทศลาว ,แม่น้ำมะหะขาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย ส่วนที่เรียกว่าโลมาอิรวดีนั้น ก็เพราะถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิระวดี ประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ แต่ในไทยเราเรียกทั้งโลมาอิรวดีและโลมาหัวบาตร ทางภาคใต้เรียกว่าโลมาหัวหมอน
           ก่อนหน้านี้ เคยมีโลมาอิรวดีจำนวนมากอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง โดยพบให้เห็นตั้งแต่ในเขตกัมพูชา น่านน้ำทางใต้ของลาว ไปจนถึงเวียดนาม แต่ปัจจุบันมีเพียง 80-100  ตัวที่ยังอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงใกล้พรมแดนลาว-กัมพูชา
           ภัยคุกคามที่น่าวิตกที่สุดคือการติดร่างแหจับปลาของชาวประมง การท่องเที่ยวอย่างไร้ระบบ และปัญหามลภาวะที่เลวร้ายลงทุกขณะ กำลังใกล้สูญพันธุ์
         กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) เตือนว่า ถ้าไม่เร่งหามาตรการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในช่วง 3-5 ปีนี้ โลมาอิรวดีก็อาจสูญพันธุ์ไปจากลำน้ำโขงภายในเวลาเพียง 15 ปีข้างหน้า
 สำหรับประเทศไทยนั้น โลมาอิรวดีเป็นหนึ่งในบรรดาโลมาราว 7-10  ชนิด มีรายงานการพบเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2446  ต่อมามีรายงานการพบเรื่อยๆ ทั้งบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย โดยพบแถวชายทะเลจังหวัดตราด จันทบุรี ทะเลสาบสงขลา และแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งพบในบริเวณฝั่งทะเลอันดามันด้วย รวมแล้วประมาณ 300  ตัว
            แม้โลมาอิรวดีจะถูกขึ้นเป็นสัตว์ในบัญชีหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์ ห้ามมีการซื้อขายระหว่างประเทศเด็ดขาดนั้น จาก คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการค้ารหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าหายาก (ไซเตส)  แต่โลมาอิรวดียังถูกล่าเพื่อแล่เนื้อขาย แล่ขายกลางตลาดเลยครับ
           ล่าสุดเมื่อปลายปี 2548 กรมทรัพยากรทางทะเลของไทยได้ส่งทีมลงพื้นที่เพื่อสำรวจ และประกาศจับทั้งผู้ขายและบริโภคเนื้อโลมาแล้ว

ชมภาพธรรมชาติ-มรดกโลกของแขวงจำปาสักได้ที่ http://www.oknation.net/blog/charlee/gallery/94
http://www.oknation.net/blog/charlee/2007/01/13/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น