วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การทำข้าวเกรียบมันเทศ

การทำข้าวเกรียบมันเทศ
        อำเภอน้ำยืน เป็นอำเภอที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์การเกษตร เช่น ยางพารา ข้าวโพด มะละกอ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ การทำข้าวเกรียบ เป็นการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น


ส่วนผสม

1. เนื้อมันเทศ หรือผลไม้อื่น      
2. แป้งมันสำปะหลัง     
3. 
เกลือป่น     
4. กระเทียมตำ 
5. 
พริกไทย



กรรมวิธี/ขั้นตอนการทำ

 1. ต้มหรือนึ่งมันเทศให้สุก ปอกเปลือก บด หรือยีเนื้อมันเทศให้ละเอียด

2. ผสมส่วนผสมลงในเนื้อมันเทศที่บดละเอียดแล้ว นวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน 
3. ปั้นเป็นท่อน กลมยาว นำไปนึ่งให้สุก             
4. นำก้อนแป้งที่นึ่งสุกแล้วมาผึ่งลงให้เย็น 
5. หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ ตากแดดให้แห้ง               
6. เก็บในภาชนะที่สะอาด แห้งและปิดสนิท


(หากต้องการให้ข้าวเกรียบมีสีสันสวยงาม อาจนำฟักทอง มะละกอสุก มาผสมผสานเพื่อให้เกิดสีสันสวยงาม)
กิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์กีบการเพิ่มรายได้

     สนับสนุนให้ทุกครัวเรือนมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้
  1. กลุ่มแปรรูปผลผลิตข้าวเกรียบมันเทศ     สมาชิก 120 คน มีรายได้เฉลี่ยคนละ 3,000 บาท/เดือน
  2.  กลุ่มปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภค  127 ครัวเรือน มีรายได้จากการลดรายจ่ายครัวเรือนละ 10 บาท/เดือน
  3.  ปลูกผักสวนครัวเพื่อจำหน่าย  61  ครัวเรือน  มีรายได้วันละ  100  บาท
  4.  เลี้ยงปลาดุกบ่อซีเมนต์  ตามศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงประจำคุ้มต่างๆ
คณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการคุ้มแต่ละคุ้มเป็นกรรมการตรวจสอบภายนอก ดังนี้
            1.  นางวิไลวรรณ   ธานี           ฝ่ายกิจการปกครอง
           2.  นายประสิทธิ์   ดวงโสมา      ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ      (รองนายก อบต.บุเปือย)
           3. นายบุญชู    มนตรี              ฝ่ายกิจการป้องกันและรักษา ความสงบ
           4. นายดำ   ราชรินทร์              ฝ่ายกิจการคลัง
           5. นายเปลี่ยน   แก้วจัน            ฝ่ายกิจการสาธารณสุข   (รองนายก อบต. บุเปือย)
6. นายสุรศักดิ์   บุญฑริก         ฝ่ายการศึกษาและ วัฒนธรรม   (ครู ร.. บัานบุเปือย)
           7. นายเชาวลิต  ประโพทิง        ฝ่ายกิจการสวัสดิการและสังคม
            8. นางเทวี        แว่นศิลา        ฝ่ายกิจการสตรี
            9. นายสมไสว     พิมราช         ฝ่ายกิจการเยาวชน
               
และนอกจากนี้ชุมชนบุกลางยังขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการเป็นคณะกรรมการตรวจสอบภายนอก ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับอำเภอตรวจสอบภายนอกอีกครั้ง ซึ่งทั้งระบบนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่ายุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาคอรัปชั่นของชุมชนบุกลาง ได้ดำเนินงานอย่างถูกต้อง โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยมีรายนามดังนี้
1. นายอำเภอน้ำยืน
2. นางวิไลวรรณ ธานี
3. นายเปลี่ยน แก้วจันทร์
4. นายวันชัย กันยามิตร
5. ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอน้ำยืน
6. นายปัญญา  วงศ์สาลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น