วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

จากวาดเขียน สู่ ตำนานต้นเทียนอุบลฯ




นายอำนวย    สุทธัง
เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499
บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 3 ตำบลยาง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี 34260 โทรศัพท์ 08-19558960

การศึกษา
-ระดับประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านปลาขาว ปี พ.ศ.2501
-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนอุบลวิทยาคม
-ระดับประกาศนียบัตรอาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากโรงเรียนพาณิชยการอุบล (แผนกวิจิตรศิลป์)
-ระดับประกาศนียบัตรอาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากวิทยาลัยเพาะช่าง กรุงเทพฯ (คณะจิตรกรรมไทย เพาะช่าง)
-มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนชุมชนบ้านปลาขาว

ประวัติการรับราชการ
          -ครูสอนที่โรงเรียนน้ำยืนวิทยา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
          -ครูสอนที่โรงเรียนพาณิชยการอุบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
          -ครูสอนที่ศูนย์ศิลปาชีพเขาอีด่าง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผลงานดีเด่น
-ปี 2543 ได้รับรางวัล     ผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่น ระดับจังหวัดอุบลราชธานี
-ปี2545  ได้รับรางวัล     ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานีสาขาทัศนศิลป์ ด้านการเขียนภาพจิตรกรรมไทย
-ปี 2547 ได้รับรางวัล     สุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 3 ดาว
- ปี 2549 ได้รับรางวัล    ศิลปิน OTOP
-คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2549 4 ดาว
-       ผู้นำองค์กรเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2549





 --       ได้รับคัดเลือกจาก จังหวัดอุบลราชธานี เป็น “มูนมังคนดีศรีอุบล” ในงาน งานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 4 ประจำปี 2555

กลุ่มอนุรักษ์ศิลปกรรมไทย
บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 3 ตำบลยาง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี 34260 โทรศัพท์ 08-19558960
 

ความเป็นมาของการวาดเขียนภาพไทย
ลายไทยและภาพไทย เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ และบรมครูในอดีตของพื้นแผ่นดินไทย ที่ เจริญรุ่งเรืองมาจากจากอดีต อาจจะกล่าวได้ว่าชาติไทยเป็นชาติที่มีความเจริญทางด้านศิลปะมานานที่สุดในโลกชาติหนึ่ง
ศูนย์อนุรักษ์ศิลปกรรมไทย เมื่อปี พ.ศ.2538 วันที่ 20 พฤษภาคม 2538 โดยนายอำนวย สุทธัง ได้แรงบันดาลใจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ได้อยู่ดีมีสุข ดำรงวิถีชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในขณะนั้น  ชุมชนบ้านปลาขาว กำลังเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย กลุ่มผู้ปกครองเมื่อว่างจากการทำไร่ ทำนา ก็จะใช้เวลาว่างโดยไร้ประโยชน์ กลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดและอบายมุขต่างๆ  เนื่องจากว่างงานและเป็นบุคคลที่พลาด ขาด และ ด้อยโอกาสทางการศึกษา
คุณอำนวย สุทธัง ได้สร้างสรรค์งานวาดภาพเขียนไทย ด้วยฝีมือเชี่ยวชาญด้านการเขียน จึงมีลูกค้าทั้งในและต่างประเทศสั่งภาพวาดเขียนไทย เป็นจำนวนมา  จึงมีความคิดที่อยากจะช่วยเหลือกลุ่มผู้ปกครองและเยาวชนเหล่านั้น โดยเริ่มถ่ายทอดการวาดภาพ ถ่ายทอดองค์ความรู้ของภูมิปัญญาให้แก่เยาวชนลูกหลานในตำบลยาง โดยไม่เรียกค่าเล่าเรียนแต่ประการใด ปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นับแต่นั้นก็ฝึกสอนมาเรื่อยๆ จนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นชุมชนวาดภาพเขียนศิลปะไทย
ศูนย์อนุรักษ์ภาพเขียนไทย จัดตั้งโดย คุณอำนวย สุทธังถือเป็นกลุ่มสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการตกแต่ง ผ่านภาพเขียนที่สื่อถึงวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิต พุทธประวัติ ภาพในวรรณคดีที่เน้นเอกลักษณ์ของชาติไทย รังสรรค์ผ่านปลายพู่กันที่แต่งแต้มด้วยสีน้ำและสีน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีภาพวาดไทย การทำกรอบรูป ประติมากรรมรูปปั้น รายได้จากการจำหน่ายเฉลี่ยเดือนละประมาณ 400,000 บาท
ศูนย์อนุรักษ์ศิลปกรรมไทย โดยมีนายอำนวย สุทธัง เป็นประธาน ปัจจุบันมีสมาชิก50 คน ซึ่งเป็นประชาชนในชุมชน มีการจัดสรรผลกำไรบางส่วนให้ประโยชน์แก่ชุมชน เช่นวัด คนพิการ และชุมชน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการวาดภาพไทย เมื่อสมาชิกที่วาดภาพเป็น 1 คนสอนอีก 1 คนให้วาดภาพเป็น พอเก่งก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สอนกันไปเรื่อยๆ ลักษณะการทำงานแบ่งตามความถนัด ส่งต่องานตามที่กำหนดจะเขียนภาพลงในแผ่นเดียวกันจนเกิดความสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชน เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง ให้เป็นคนที่มีวิชาความรู้สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยและสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ รู้จักคิดรู้จักวางแผนได้ปฏิบัติจริงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

จากประสบการณ์ สืบสานวัฒนธรรมไทย
          จากประสบการณ์ที่ คุณอำนวย สุทธัง เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านจิตรกรรมไทย ประกอบกับได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนต่างๆ อีกทั้งคุณอำนวย สุทธัง ยังเป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่สถานศึกษาในเขตอำเภอน้ำยืน อีกหลายแห่ง จึงส่งให้คุณอำนวย สุทธัง ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลการประกวดต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งในระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ไม่น้อยกว่ากว่า 10 ปี
          ในปี 2551 อำเภอน้ำยืน ได้แต่งตั้งให้คุณอำนวย สุทธัง ร่วมเป็นกรรมการประกวดต้นเทียนของอำเภอน้ำยืน เพื่อเข้าประกวดเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี 
          เพื่อเป็นการปลูกฝังและฟื้นฟูประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ดังคำว่า “ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา”ห้สถิตอยู่กับชาวอุบลราชธานีตลอดไป
ในปี 2552 หัวหน้าส่วนราชการ เอกชน และประชาชนชาวอำเภอน้ำยืน จึงมอบหมายให้ คุณอำนวย สุทธัง เป็นผู้นำและผู้รับผิดชอบการประดิษฐ์ต้นเทียนพรรษาของอำเภอน้ำยืน เพื่อเข้าร่วมงาน “ฮุ่งเฮือง เมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา” ของจังหวัดอุบลราชธานี  ผลการประกวดได้รับรางวัลประเภทเทียนขนาดเล็ก รองชนะเลิศ อันดับ 2
ในปี 2559 นายอำเภอน้ำยืน (จ.ส.อ.เกริกชัย ผ่องแผ้เว) พร้อม หัวหน้าส่วนราชการ เอกชน และประชาชนชาวอำเภอน้ำยืน จึงมอบหมายให้ คุณอำนวย สุทธัง เป็นผู้นำและ นายสังคม สุทธัง (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง) ผู้รับผิดชอบการประดิษฐ์ต้นเทียนพรรษาของอำเภอน้ำยืน (พระมาลัยโปรดนรก)  และมอบให้ กศน.อำภอน้ำยืน (นางกัณฑพร กากแก้ว ผอ.กศน.อำเภอน้ำยืน) ได้มอบให้ นายกณวรรธน์ สุทธัง นายบุญธรรม พุดตาล นายประไพร ปกครอง นายฉัตรชัย ปกครอง นายณัฐพล จุฑาสัตย์ นายธรรมรักษ์ ไชยติ๊บ และ ทีมงาน “ยอดชาย” ทำการประดับ ตกแต่ง ขบวนเทียนของอำเภอน้ำยืนเพื่อเข้าร่วมงาน “ประเพณีแห่เทียนพรรษา ปี 2559 ของจังหวัดอุบลราชธานี  ผลการประกวดได้รับรางวัลประเภทเทียนขนาดเล็ก รองชนะเลิศ อันดับ 1
 คุณอำนวย  สุทธัง 

เทียนขนาดเล็ก ของอำเภอน้ำยืน ประจำปี 2559
เทียนอำเภอน้ำยืน ประจำปี 2558

เทียนอำเภอน้ำยืน ประจำปี 2558 ได้รับรางวัลเทียนขนาดเล็ก รองชนะเลิศอันดับ 2

เทียนอำเภอน้ำยืน ประจำปี 2558

ทีมงาน "ยอดชาย" โดย กศน.อำเภอน้ำยืน

 
จากวาดเขียน สู่ ตำนานต้นเทียนอุบลฯ
          กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการวาดเขียนภาพไทย โดยเริ่มจากผู้สนใจศึกษาเล่าเรียนเพียง 1 คน ให้มีทักษะพื้นฐาน จนเป็นผู้มีความชำนาญ เชี่ยวชาญ จากนั้นจึงรับลูกศิษย์เพิ่ม อีก 1คน รวมเป็น 2 คน และ จาก 2 คน ก็เพิ่มเป็น 4 คน ตามลำดับ เป็นการถ่ายทอดจากพี่สู่น้อง จากรุ่นสู่รุ่น เมื่อมีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ ก็เริ่มทำงานเป็นระบบ โดยแบ่งหน้าที่ให้ทำตามความถนัดของแต่ละบุคล โดยภาพ 1 ภาพ ช่วยกันสรรสร้างตามความชำนาญของแต่ละบุคคล จนกว่าภาพวาดหรือชิ้นงานจะสมบูรณ์ที่สุด
          จากกระบวนการถ่ายทอดการวาดเขียนไทย ดังกล่าว เมื่อคุณอำนวย สุทธัง ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับผิดชอบการทำต้นเทียน ของอำเภอน้ำยืน จึงได้ประยุกต์กระบวนการถ่ายทอด จากการวาดเขียน สู่ตำนานต้นเทียนอุบลฯ โดยเปลี่ยนวัสดุจากพู่กัน ยางลบ กระดาษ ผ้าใบ สี พู่กัน แปลงทาสี และไม้บรรทัด มาเป็น การขึ้นโครงร่าง การปั้นแบบ จนถึงการหล่อเทียน

ยิ่งให้ ก็ยิ่งได้รับเพิ่มมากขึ้น
          ในการถ่ายทอดองค์ความรู้การหล่อเทียนของคุณอำนวย สุทธัง เป็นการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ลูกศิษย์โดยไม่มีสิ่งปิดบัง โดยยึดแนวคิดที่ว่า “ยิ่งให้ ก็ยิ่งได้รับเพิ่มมากขึ้น” สอนโดยการซึมซับจากความรู้สึกสู่ความรู้สึก จากความรัก สู่ ความรัก จากพี่ สู่ น้อง จากรุ่น สู่ รุ่น

จากวิถีธรรม สู่วิถีธรรม สู่สังคมโลก
                    คุณอำนวย สุทธัง มีเทคนิคกระบวนการสอนการหล่อเทียน ดังนี้
1.       สร้างเรื่องราว ในมโนทัศน์
2.       ออกแบบความคิด ในกระดาษ
3.       ร่างแปลนในกระดาษ
4.       ระดมความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม
5.       ปรับกระบวนทัศน์
6.       ปรับเรื่องราว
7.       สร้างแบบ
8.       ขึ้นโครงสร้าง
9.       กลั่นกรองเทียน เพื่อ
-           แยกประเภทของเทียน
-          ทำความสะอาดเทียน
-          หลอมเทียน
-          แยกความต่างของสีของเทียน
10.   หล่อต้นเทียน
11.   ลงลวดลาย
12.   ตรวจสอบความถูกต้องของลวดลาย ความลึก ความคมชัด
13.   เคลือบเทียน

จุดเด่นของการถ่ายทอดองค์ความรู้
1.       อนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติไทย
2.       อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งแสดงออกทางการออกแบบความคิด จัดระบบความคิด (Mind map) เพื่อยุวชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป
3.       สร้างทางเลือกการประกอบอาชีพ สร้างรายได้
4.       สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง
5.       ส่งเสริมองค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เยาวชน เพื่อสืบสานความรู้
6.       ไม่หวงวิชาความรู้ ยิ่งให้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
7.       สอนโดยการซึมซับจากความรู้สึกสู่ความรู้สึก จากความรัก สู่ ความรัก จากพี่ สู่ น้อง จากรุ่น สู่ รุ่น

  



นายสังคม สุทธัง (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง) ผู้คิดสร้างสรรค์ เทียนขนาดเล็ก ประจำปี 2559


ผู้ให้ข้อมูล
          นายอำนวย สุทธัง                   ประธานศูนย์อนุรักษ์ศิลปกรรมไทย บ้านปลาขาว ตำบลยาง อำเภอน้ำยืน
          นางอำพร  สุทธัง                    ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านปลาขาว ตำบลยาง อำเภอน้ำยืน
          นายสังคม  สุทธัง                    นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยาง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้สัมภาษณ์      
นายกณวรรธน์  สุทธัง              ครูชำนาญการ กศน.อำเภอน้ำยืน สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

http://www.komchadluek.net/news/ent/137812
http://www.guideubon.com/2.0/ubon-news/ubon-book-fair-2015-2558/
https://www.youtube.com/watch?v=WDdpg3NUkWE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น