วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความเชื่อเรื่องหินตั้ง (Megalith) กับ ประเพณีฝังศพ ครั้งที่ ๒


จากการวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องหินตั้ง (Megalith) ในลักษณะความเชื่อทางศาสนาและพิธีศพและความเชื่อในอมตภาพของวิญญาณ กรรม และ การเกิดใหม่  เขียนโดย ดร.จรัส พยัคฆราชศักดิ์  สามารถสรุปเป็นที่มาของประเพณีการฝังศพครั้งที่ ๒ ได้ว่า มนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์มีความเชื่องเรื่องวิญญาณ ภูตผี ปีศาจต่างๆ เชื่อกันว่าพลังชีวิต หรือวิญญาณมีอยู่ในหลักศิลา หรือก้อนหิน เทวดา แม่โพสพสิงอยู่ตามพื้นดิน ต้นไม้ และอยู่ในพืชผลที่เขาปลูก  และความเชื่อในอมตภาพหรือความไม่แตกดับของวิญญาณ หรืออาตมันหรือชีวาตมัน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดของสิ่งที่มีชีวิต ชีวาตมันจะสิงสถิตอยู่ในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ทุกชนิด เป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่แตกดับ อยู่คงกระพัน ไม่มีสิ่งใดสามารถทำอันตรายแก่ชีวาตมันได้ เมื่อคนหรือสัตว์ตาย ร่างกายเท่านั้นที่แตกดับเสื่อมสลายไป ส่วนชีวาตมันจะไม่แตกดับไปด้วย มันจะออกจากร่างกายเก่าไปอาศัยอยู่ในร่างใหม่ ...ใกล้ๆกับร่างมนุษย์ที่ได้พบนั้น ไม่เคยพบร่างเปล่า ยังพบเครื่องใช้ เช่น อาวุธ หรือเครื่องมือ เครื่องภาชนะหลายอย่าง...เป็นเครื่องบอกให้รู้อย่างดีว่า ร่างกระดูกที่พบนั้น เป็นสมัยหินหยาบ หรือสมัยหินขัด...ทำให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์ดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์ ก็มีความคิดในเรื่องเวียนว่ายตายเกิด มีความเชื่อในเรื่องตายแล้ว เกิดใหม่ เหมือนดวงอาทิตย์ที่ดับลงไปในเวลาค่ำ แล้วก็ขึ้นใหม่ในเวลาเช้า ...
...ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ฝังหรือเก็บศพให้นอนตะแคงข้าง หันหน้าไปทางตะวันตกโดยถือว่าคนตายก็เหมือนอาทิตย์ตก ให้เขามองตามดวงอาทิตย์ที่ตกนั้น แล้วก็ไปเกิดใหม่อย่างเดียวกับพระอาทิตย์ขึ้น(ดร.จรัส  พยัคฆราชศักดิ์,๒๕๓๔,๑๕๓)...และเพื่อป้องกันมิให้ศพนั้นลุกขึ้นมาทำอะไรใครได้ จึงต้องเอาหินมากองทับ แล้วยังมัดแข้งมัดขาเพื่อไม่ให้กลับลุกขึ้นได้ ซึ่งแนวคิดอย่างนี้ ก็ตรงกับลัทธิในทางอื่นๆ ซึ่งได้แผ่เข้ามาจนกระทั่งถึงไทยเราจนทุกวันนี้ เช่น เรื่องตราสังมัดศพ...

นอกจากนั้นเพื่อไม่ให้ศพต้องกังวลออกไปหาเที่ยวอาหาร จึงได้ทำหินให้เป็นรูปเหมือนภาชนะที่ใส่อาหารเอาไปเซ่นศพ การเซ่นสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ได้เกิดขึ้นด้วยวิธีนี้ ...ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในประเทศไทย ก็คือ หินตั้งเป็นวงกลมที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ทุ่งไหหิน และทั่วไปในดินแดนประเทศลาว ยอดผาที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่เป็นเค้าว่าเป็นหินตั้งหรือคอกหินในสมัยก่อนประวัติศาสตร์...

 หินตั้ง ณ วัดป่าคีรีบรรพต (ภูน้อย ) อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

เนินหิน/หน้าผา แหล่งวัฒนธรรมหินตั้ง ของ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 

 หินตั้ง ณ วัดป่าคีรีบรรพต (ภูน้อย ) อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ๒๓๐๐ - ๑๘๐๐ ปี ประเพณีฝังศพครั้งที่ ๒
บ้านสวายน้อย ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://ourmaekong.blogspot.com/2016/10/blog-post_13.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น